Kledthai.com

ตะกร้า 0

ว่าด้วยการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์ (On Critical Discourse Analysis)

ISBN: 9786167196848

ผู้แต่ง : สามชาย ศรีสันต์

ผู้แปล : -

สำนักพิมพ์ : สมมติ

ปีที่พิมพ์ : 2561

จำนวนหน้า : 285

พร้อมส่ง
ISBN:
9786167196848
ราคาพิเศษ ฿225.00 ราคาปรกติ ฿250.00

[…] ความน่าสนใจของงานศึกษาชิ้นนี้ของอาจารย์สามชายอยู่ที่การพยายามขยายกรอบการวิเคราะห์วาทกรรมที่ริเริ่มโดย นักปรัชญา นักคิด และนักเขียน ชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงโด่งดังนั่นคือ มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) สู่การวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์ของ นอร์แมน แฟร์คลัฟ (Norman Fairclough) ธีโอ ฟาน ลูเวน (Theo van Leeuwen) และการเคลื่อนไหวของสนามวาทกรรม ผลทำให้การศึกษาการพัฒนาในแบบของการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์ มีลักษณะตัดข้ามสาขาวิชาการต่างๆ พร้อมเผยให้เห็นถึงมิติของอำนาจที่มากับการศึกษาการพัฒนา ผ่านการวิเคราะห์ภาคปฏิบัติการทางสังคม ตัวบท และการพูด […]

บางส่วนจากคำนิยม โดย ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร

[…] ความหมายของสิ่งต่างๆ ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นโดยไร้สิ่งเคลือบแฝงหรือตรงไปตรงมา หากแต่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการกำหนดช่วงชั้นทางสังคม บ่งบอกแบบแผนการปฏิบัติ (วิธีการพูด การผลิตทางเศรษฐกิจ วิถีชีวิตประจำวัน แนวทางการปฏิสังสรรค์) ระหว่างกลุ่มคนต่างๆ ในสังคมที่มีสถานะไม่เท่าเทียมกัน โดยเป็นไปเพื่อรักษาสถานะทางอำนาจของชนชั้นปกครองไว้ […]

[…] การทำความเข้าใจการพัฒนาในฐานะที่เป็นวาทกรรมไม่เพียงสนใจที่ระบบความสัมพันธ์ของการผลิตสร้างความรู้ว่าด้วยการพัฒนาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการใช้ยุทธศาสตร์ในการสถาปนาให้การพัฒนามีลักษณะเป็น ‘สถาบัน’ มีกระบวนการปฏิบัติที่ชัดเจนเป็นขั้นตอน...และแบบแผน การปฏิบัติต่อสิ่งที่เรียกว่าการพัฒนา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นจากความรู้ จากนั้นการพัฒนาได้ผลักสิ่งที่ด้อยพัฒนาให้กลายเป็นอื่น […]

บางส่วนจาก ว่าด้วยการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์

[…] ความน่าสนใจของงานศึกษาชิ้นนี้ของอาจารย์สามชายอยู่ที่การพยายามขยายกรอบการวิเคราะห์วาทกรรมที่ริเริ่มโดย นักปรัชญา นักคิด และนักเขียน ชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงโด่งดังนั่นคือ มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) สู่การวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์ของ นอร์แมน แฟร์คลัฟ (Norman Fairclough) ธีโอ ฟาน ลูเวน (Theo van Leeuwen) และการเคลื่อนไหวของสนามวาทกรรม ผลทำให้การศึกษาการพัฒนาในแบบของการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์ มีลักษณะตัดข้ามสาขาวิชาการต่างๆ พร้อมเผยให้เห็นถึงมิติของอำนาจที่มากับการศึกษาการพัฒนา ผ่านการวิเคราะห์ภาคปฏิบัติการทางสังคม ตัวบท และการพูด […]

 

บางส่วนจากคำนิยม โดย ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร

 

[…] ความหมายของสิ่งต่างๆ ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นโดยไร้สิ่งเคลือบแฝงหรือตรงไปตรงมา หากแต่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการกำหนดช่วงชั้นทางสังคม บ่งบอกแบบแผนการปฏิบัติ (วิธีการพูด การผลิตทางเศรษฐกิจ วิถีชีวิตประจำวัน แนวทางการปฏิสังสรรค์) ระหว่างกลุ่มคนต่างๆ ในสังคมที่มีสถานะไม่เท่าเทียมกัน โดยเป็นไปเพื่อรักษาสถานะทางอำนาจของชนชั้นปกครองไว้ […]

 

[…] การทำความเข้าใจการพัฒนาในฐานะที่เป็นวาทกรรมไม่เพียงสนใจที่ระบบความสัมพันธ์ของการผลิตสร้างความรู้ว่าด้วยการพัฒนาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการใช้ยุทธศาสตร์ในการสถาปนาให้การพัฒนามีลักษณะเป็น ‘สถาบัน’ มีกระบวนการปฏิบัติที่ชัดเจนเป็นขั้นตอน...และแบบแผน การปฏิบัติต่อสิ่งที่เรียกว่าการพัฒนา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นจากความรู้ จากนั้นการพัฒนาได้ผลักสิ่งที่ด้อยพัฒนาให้กลายเป็นอื่น […]

 

บางส่วนจาก ว่าด้วยการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์

เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง
คุณกำลังรีวิว:ว่าด้วยการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์ (On Critical Discourse Analysis)
คะแนนของคุณ