มันนิ ซาไก : คนป่าแห่งเขาบรรทัด
ISBN: 9786167883687
ผู้แต่ง : บุหลัน รันตี
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : บ้านหนังสือ
ปีที่พิมพ์ : 2561
จำนวนหน้า : 368
มันนิ หรือ มานิ (Maniq) คือชื่อเรียกขานตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวป่าที่เราเรียกว่าซาไกหรือเงาะ “มันนิ” ซึ่งมีความหมายว่ามนุษย์ เป็นชาวป่าที่อาศัยอยู่ในเทือกเขาบรรทัดซึ่งมีเขตติดต่อ พัทลุง ตรัง สตูล รวมทั้งยะลาและนราธิวาส ชายแดนภาคใต้ติดกับประเทศมาเลเซีย คนมุสลิมเรียกเขาว่าซาแก คนไทยพุทธเรียกว่าซาไก ส่วนพวกเขาเรียกตัวเองว่าโอรัง อัสลี (Orang Asli) มีความหมายว่าคนดั้งเดิม คนพื้นเมือง
จากการศึกษาค้นกว้าบ่งบอกว่าเป็นชาวพื้นเมืองดั้งเดิมที่อยู่มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ คนมาเลเซียเชื่อว่าอาจเป็นบรรพบุรุษของพวกเขา มีภาษาพูดคล้ายๆกัน ไม่มีภาษาเขียน แต่ก็มีบางสมมติฐานบอกว่าเป็นผู้อพยพมาจากอัฟริกาโดยทางเรือ
คำว่าซาไก มีความหมายตรงๆ คือคนป่า ข้าทาส ป่าเถื่อน ไร้วัฒนธรรม เป็นความหมายที่ส่อไปในทางดูหมื่นหรือเหยียดหยาม พวกเขาจึงไม่ค่อยชอบให้เรียกว่าซาไก แต่ก็ยังเรียกกันติดปากด้วยความคุ้นเคย และก็มีอีกไม่น้อยที่เรียกพวกเขาว่าเงาะป่า เวลาเราเจอพวกเขาแล้วเรียกเขาว่าเงาะ เขาก็จะเถียงว่าเขาไม่ใช่เงาะ (ออกเสียง ง.งู ไม่ชัด) เขาว่าเขาไม่ใช่ผลไม้ กินไม่ได้ เขาเป็นคน
เขาคือมันนิ เขาเป็นมนุษย์ มันนิคือมนุษย์
สารบาญ
จากสำนักพิมพ์
จากผู้เขียน
การพบกันครั้งแรก
หมู่บ้านเงาะป่า
เริ่มผจญภัย
ครอบครัวซาไก
เรียนรู้ภาษาซาไกเบื้องต้น
ลำห้วยในหุบเขาและคืนฝนตก
วันอำลา
บันทึกบนเส้นทางภูบรรทัด
ไปเยือนทับเฒ่าไข่วังสายทอง
รากไม้แกะสลักและอาหารมื้อค่ำ
มันนิทับทุ่ง
กลับไปทุ่งนารี
ข่าวไม่สู้ดี
วิถีแห่งมันนิ
ไปขุดหัวมัน
เฒ่าปอย
ผู้มาเยือน ค่าง และบทเพลงมันนิ
ฯลฯ