ทุนนิยมเจ้า : ฟ้าเดียวกัน (ปกอ่อน)
ISBN: 9786169399445
แปลจากหนังสือ : Royal Capitalism: Wealth, Class, and Monarchy in Thailand
ผู้แต่ง : ปวงชน อุนจะนำ
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : ฟ้าเดียวกัน
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี 2565
จำนวนหน้า : 392
ทุนนิยมเจ้า : ชนชั้น ความมั่งคั่ง และสถาบันกษัตริย์ในประเทศไทย
โดย “ปวงชน อุนจะนำ”
หนังสือแปลจาก Royal Capitalism: Wealth, Class, and Monarchy in Thailand
หนังสือชุดสยามพากษ์ลำดับที่ 7
.งานของปวงชนมีจุดเด่นคือการปรับใช้ผสมผสานทฤษฎีมาร์กซิสต์คลาสสิคว่าด้วยชนชั้นทางสังคม แนวคิดเรื่อง “ประเพณีประดิษฐ์” ของอีริค ฮอบส์บอว์ม และการต่อยอดแนวคิดว่าด้วย “การแบ่งร่างสถาบันกษัตริย์” ของเอิร์นสต์ คันโทโรวิคซ์ มาทำความเข้าใจสถาบันกษัตริย์ไทยได้อย่างกลมกล่อมลงตัว บทวิเคราะห์ของเขาฉายให้เห็นภาพความเป็นมาและเป็นไปของ “สถาบันกษัตริย์กระฎุมพี” ในประเทศไทยอย่างแหลมคม
-จาก คำนำสำนักพิมพ์
.หากไม่มีกระแสของการประท้วงครั้งใหญ่ให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ในช่วงที่ผ่านมา คงเป็นการยากที่หนังสือภาษาอังกฤษที่มีความยาวหลายร้อยหน้า เต็มไปด้วยการวิเคราะห์ผ่านทฤษฎีเศรษฐกิจการเมืองที่หนักอึ้ง ใช้ศัพท์แสงทางวิชาการที่จริงจัง และตีพิมพ์ด้วยสำนักพิมพ์ของมหาวิทยาลัยตะวันตก จะได้รับความสนใจถึงขนาดได้รับการแปลและเผยแพร่ให้ผู้อ่านโดยทั่วไปในราชอาณาจักรไทย หากมองในแง่นี้ แทนที่จะเป็นพลังในตัวของมันเอง Royal Capitalism ได้รับการนำเข้าสู่แวดวงวรรณกรรมไทยเพราะพลังของสังคมที่เรียกร้องให้มีการเผยแพร่งานจำพวกนี้ให้มากขึ้นต่างหาก ด้วยเหตุนี้คำขอบคุณแรกที่ผู้เขียนต้องการจะมอบให้ในวาระที่ Royal Capitalism ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยในครั้งนี้ จึงเป็นคำขอบคุณต่อผู้ประท้วงและนักกิจกรรมทุกคนที่ขับเคลื่อนให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ พวกเขาทำให้สังคมได้ตระหนักมากขึ้นถึงปัญหาเศรษฐกิจการเมืองไทยที่มีสถาบันกษัตริย์เป็นศูนย์กลางและทำให้การถกเถียงในเรื่องสถาบันกษัตริย์อย่างตรงไปตรงมามีความเป็นไปได้มากขึ้น คุณูปการที่ว่านี้ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยแต่อย่างใดในสังคมที่คุ้นชินกับการนำเสนอสถาบันกษัตริย์ในแบบตื้นเขิน มิติเดียว และเชิดชูบูชาจนเกินจริงมาเป็นเวลาเนิ่นนาน
จาก คำนำผู้เขียน
สารบัญ
คำนำสำนักพิมพ์
คำนำผู้เขียน
กิตติกรรมประกาศ
บทนำ กษัตริย์(ยังไม่)สิ้น ทุนนิยมจงเจริญ!
บทที่ 1 กําเนิดสถาบันกษัตริย์กระฎุมพี
บทที่ 2 การผงาดและชัยชนะของสถาบันกษัตริย์กระฎุมพี
บทที่ 3 กษัตริย์ในสายตากระฎุมพี
บทที่ 4 เจ้าผจญไพร่
บทที่ 5 ทรงพระเจริญ
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
บรรณานุกรม
ดรรชนี
.เกี่ยวกับผู้เขียน
“ปวงชน อุนจะนำ” สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านรัฐศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทด้านรัฐศาสตร์จาก University of Hawaii ปริญญาโทด้าน การเมืองจาก The New School for Social Research และปริญญาเอกด้านรัฐศาสตร์ จาก The City University of New York ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร สอนและทํางานวิชาการเกี่ยวกับทฤษฎีการเมือง เศรษฐกิจการเมืองและการเมืองไทยร่วมสมัย