การพัฒนาอุตสาหกรรมแบบไล่กวด: เส้นทางและอนาคตของเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก
ISBN: 9786169399414
แปลจากหนังสือ : Catch-up Industrialization The Trajectory and Prospects of East Asian Economies
ผู้แต่ง : ศาสตราจารย์ ดร. อะกิระ ซุเอะฮิโระ (Akira Suehiro)
ผู้แปล : เนตรนภา ไวทย์เลิศศักดิ์ (ยาบุชิตะ), นิภาพร รัชตพัฒนากุล, สุณีย์รัตน์ เนียรเจริญสุข, ปิยวรรณ อัศวราชันย์, สุภา ปัทมานันท์
สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤษภาคม 2565
จำนวนหน้า : 520
ผู้เขียนได้อธิบายอย่างชัดเจนเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของภูมิภาคเอเชียตะวันออก จากมุมมอง 3 ด้านคือ (1) อุดมการณ์เฉพาะในการเร่งผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรม (ลัทธิการพัฒนา) (2) ผู้นำของการพัฒนาอุตสาหกรรม (รัฐวิสาหกิจ/บริษัทของรัฐ บรรษัทข้ามชาติ และธุรกิจครอบครัว) (3) ระบบและสถาบันที่สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม (การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการสร้างเทคโนโลยี ตลาดแรงงาน ระบบการศึกษา) แนวคิดหลายอย่างที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้ ได้แก่ รูปแบบการไล่กวด ความสามารถทางสังคมของการพัฒนาอุตสาหกรรม ลัทธิการพัฒนา โครงสร้างสามขาของกลุ่มทุนหลัก การปฏิรูปการบริหารของธุรกิจครอบครัว
-จากคำนำผู้เขียน อะกิระ ซุเอะฮิโระ
.หนังสือเล่มนี้เป็นการศึกษาเศรษฐกิจไทยในบริบทของเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกและเศรษฐกิจโลก จึงสามารถเผยให้ผู้อ่านได้เห็นว่าความสำเร็จ (และความล้มเหลว) ของเศรษฐกิจไทยไม่ใช่เรื่องของตำนานเสื่อผืนหมอนใบของบรรดาเจ้าสัว ความสามารถของเทคโนแครตที่มักประกาศว่าปราศจากผลประโยชน์ส่วนตน หรือความมีเสถียรภาพของรัฐบาลเผด็จการแบบสฤษดิ์ ธนะรัชต์/ประชาธิปไตยครึ่งใบในยุคเปรม ติณสูลานนท์ อย่างที่เราคุ้นเคยเท่านั้น แต่มีปัจจัยภายนอกมากำหนดอีกไม่น้อย อุตสาหกรรมในเอเชียตะวันออกไม่ได้เติบโตจากการเปิดให้กลไกตลาดทำงานเต็มที่หรือการเข้าแทรกแซงตลาดโดยรัฐเท่านั้น หากแต่เกิดจากความสามารถทางสังคมในการสร้างเทคโนโลยีด้วย ยกตัวอย่างกรณีศึกษาเครือซีพีหรืออุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย เป็นต้น หนังสือเล่มนี้ชี้ให้เห็นว่าหัวใจสําคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบไล่กวดอยู่ที่อุตสาหกรรมการผลิต และกุญแจแห่งความสำเร็จก็คือความสามารถทางสังคมของแต่ละประเทศในการนำเข้าเทคโนโลยี ปรับใช้และพัฒนาให้ดีขึ้นได้อย่างไร
-จากคำนำสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน
.แม้จะซับซ้อนและอ่านยากสักเล็กน้อย แต่ก็ไม่เกินความสามารถของคนไทยรุ่นใหม่ ที่ต้องการค้นหาคำตอบว่า เป็นเพราะเหตุใดเราถึงมายืนอยู่ในจุดนี้ และกระตุ้นความคิดที่ว่าประเทศไทยและประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ ในเอเชีย ควรมองไปข้างหน้าและเดินต่อไปอย่างไร อย่าเอาแต่ก้มหน้าก้มตาวิ่ง “ไล่กวด” และ “ไล่แซง” ให้ทันประเทศพัฒนาเท่านั้น ต้องไม่ลืมกอดความปรารถนาที่จะกินดีอยู่ดีในสังคมที่แบ่งปันอย่างยั่งยืน ให้ได้ตามเจตนารมณ์ของผู้เขียนและผู้บุกเบิก “ทฤษฎีการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบไล่กวด…”
-จากคำนำคณะผู้แปล
หนังสือแปลเรื่อง “การพัฒนาอุตสาหกรรมแบบไล่กวด เส้นทางและอนาคตของเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก”
ของ “ศาสตราจารย์ ดร. อะกิระ ซุเอะฮิโระ” (Akira Suehiro)
แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์เอเชีย
ในปี 2000 ออกฉบับภาษาญี่ปุ่น ในชื่อ Kyachiappu-kata Kōgyōka Ron: Ajia Keizai no Kiseki to Tenbō
ในปี 2008 แปลเป็นหนังสือภาษาอังกฤษชื่อ Catch-up Industrialization The Trajectory and Prospects of East Asian Economies โดย Tom Gill เพื่อเป็นตำราเรียนในระดับบัณฑิตศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว และมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่สนใจด้านเอเชียศึกษา (Asian Studies)
.สารบัญ
คำนำสำนักพิมพ์
คำนำผู้เขียนฉบับแปลภาษาไทย
คำนำผู้แปล
บทนำ “การพัฒนาอุตสาหกรรมแบบไล่กวด” คืออะไร
ภาค 1 มุมมอง และแนวทางการศึกษา
บทที่ 1 มุมมอง รัฐบาล ตลาด ระบบและสถาบัน
บทที่ 2 ประเทศพัฒนาทีหลัง ทฤษฎีฝูงห่านป่าบินและความได้เปรียบในการแข่งขัน
บทที่ 3 ความสามารถทางสังคมในการพัฒนาอุตสาหกรรมและการผสมผสานทางนวัตกรรม
บทที่ 4 เศรษฐกิจเอเชีย จาก “มหัศจรรย์” สู่ “วิกฤต”
ภาค 2 อุดมการณ์ นโยบาย ผู้รับผิดชอบ และสถาบัน
บทที่ 5 ลัทธิการพัฒนากับเผด็จการการพัฒนา
บทที่ 6 การผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า การส่งเสริมการส่งออกนโยบายอุตสาหกรรม
บทที่ 7 โครงสร้างสามขาของกลุ่มทุน รัฐวิสาหกิจและบริษัทของรัฐ
บทที่ 8 บทบาทของบรรษัทข้ามชาติกับการครอบงำทางเศรษฐกิจ
บทที่ 9 ธุรกิจครอบครัวและบรรษัทภิบาล
บทที่ 10 การถ่ายทอดเทคโนโลยีและความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยี
บทที่ 11 การควบคุมและการแข่งขันในตลาดแรงงาน
บทที่ 12 ระบบการศึกษากับสังคมแข่งขันประวัติการศึกษา
บทที่ 13 อนาคตของทฤษฎีความได้เปรียบในการแข่งขันของประเทศ
ประวัติผู้เขียน
บรรณานุกรม
ดรรชนีบุคคล
ดรรชนี