รัฐราชาชาติ: ว่าด้วยรัฐไทย (ปกอ่อน)
ISBN: 978616767911
ผู้แต่ง : ธงชัย วินิจจะกุล
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : ฟ้าเดียวกัน
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 ธันวาคม 2563
จำนวนหน้า : 344
บทความในหนังสือเล่มนี้อธิบายคุณลักษณะของรัฐ ชาติ และชาตินิยมของไทยในปัจจุบัน (หมายถึงประมาณครึ่งศตวรรษก่อนหน้ามาจนถึงทุกวันนี้) ผู้เขียนเคยตีพิมพ์บทความหลายชิ้นเพื่ออธิบายในประเด็นเหล่านี้มาก่อน บทความในเล่มนี้ตอกย้ำและเพิ่มเติมประเด็นซึ่งไม่เคยกล่าวถึงมาก่อนในเล่มก่อนหน้า ได้แก่ รัฐและการใช้อำนาจรัฐในชีวิตประจำวัน ความเป็นมาและกระบวนการสร้างลัทธิคลั่งไคล้เจ้า ระบบการทำงานอย่างเป็นรูปธรรมของระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข นิติศาสตร์ของรัฐราชาชาติ และชาตินิยมที่ไม่มีประชาชนของไทย
- ธงชัย วินิจจะกูล
สำหรับเยาวชนที่ออกมาเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ การถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 116 อาจไม่ขมขื่นและเข้าใจยากเท่ากับการที่คนรุ่นพ่อแม่ชี้หน้าว่าพวกเขา "ชังชาติ" "ล้มสถาบัน" "เนรคุณแผ่นดิน" บทความในหนังสือเล่มนี้อาจช่วยปลอบประโลมพวกเขาและทำให้เข้าใจคนรุ่นผู้ใหญ่เล่านี้มากขึ้น โดยธงชัยคลี่ให้เห็นว่าประชาธิปไตยแบบกษัตริย์นิยมที่ต่อมาเข้มข้นล้นเกินจนกลายเป็นลัทธิคลั่งไคล้เจ้านั้นถือกำเนินขึ้นอย่างไร สืบทอดต่อมาอย่างไร เพื่ออหะไร และกำลังประสบกับภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกอย่างไร ผู้ใหญ่เหล่านั้นถูกกล่อมเกลาฝังชิปในสมองมาอย่างไรเป็นเวลาหลายทศวรรษระหว่าง 2500 ถึง 2550 จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของประชาสังคมที่ผลิตซ้ำอุดมการณ์ชาติศาสน์กษัตริย์ จับจ้องลงโทษผู้ที่ไม่เชื่อฟัง และเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ไม่น้อยไปกว่ากลไกอย่างเป็นทางการของรัฐ
- สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน
คำนำสำนักพิมพ์
คำนำผู้เขียน
บทนำ สาแหรก (genealogy) ทางความคิดว่าด้วยรัฐราชาชาติของไทยในปัจจุบัน
ภาค 1 รัฐ + สังคม
บทที่ 1 อนาคตการศึกษาเรื่องรัฐในสังคมไทย
บทที่ 2 อำนาจกับการขบถ
ภาค 2 ราชา + รัฐ (+ สังคม)
บทที่ 3 ลัทธิคลั่งไคล้เจ้าของประเทศไทย : ความสำเร็จในอดีต กับภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกในปัจจุบัน
บทที่ 4 ประชาธิปไตยแบบกษัตริย์นิยมของไทย : ประวัติ กลไกการทำงาน และภาวะวิกฤต
ภาค 3 นิติ + รัฐ + ราช
บทที่ 5 นิติรัฐอภิสิทธิ์และราชนิติธรรม : ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาของ Rule by Law แบบไทย
บทที่ 6 ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านกับกรณีของไทย
ภาค 4 ชาติ (ไม่นับประชา)
บทที่ 7 ชาติไทย เมืองไทย และนิธิ เอียวศรีวงศ์
บทที่ 8 อ่าน Imagined Communities ของ Benedict Anderson หรือ IC ของ “ครูเบ็น”
ประวัติผู้เขียน
ประวัติการตีพิมพ์
บรรณานุกรม
ดรรชนี