โลกของคนไร้บ้าน
ISBN: 9786167667553
ผู้แต่ง : บุญเลิศ วิเศษปรีชา
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : ฟ้าเดียวกัน
ปีที่พิมพ์ : 2560
จำนวนหน้า : 183
หากจะอ่านหนังสือโลกของคนไร้บ้านในปัจจุบัน จำเป็นต้องตระหนักถึงสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปจากเรื่องเล่าต่างๆ ในหนังสือ แต่มิได้หมายความว่าหนังสือเล่มนี้จะตกยุคสมัย แม้รายละเอียดจะเปลี่ยนไป แต่โดยภาพรวมหนังสือเล่มนี้ยังให้ภาพชีวิตของคนไร้บ้านที่ยังดำรงอยู่ ผู้เขียนมีความยินดีที่ได้ทราบว่า หนังสือเล่มนี้ ถูกนำไปใช้เป็นเอกสารประกอบลการรียนการสอนในหลายสาขาข้ามพ้นพรมแดนของสาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาไม่ว่าจะเป็นรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมสมเคราะห์ศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษาไทย โดยเฉพาะบรรดาวิชาที่เกี่ยวข้องกับระเบียบวิธีวิจัย อาจจาด้วยเพราะในแวดวงวิชาการไทย ไม่ใคร่จะมีงานที่ใช้แนวทางการศึกษาแบบที่เรียกว่า การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม (participant observation) อย่างจริงจัง โดยเฉพาะการใช้วิธีการศึกษานี้ในสนามที่ผู้คนมีวิถีชีวิตแตกต่างกับตัวนักวิจัยอย่างมาก ซึ่งเรียกร้องการปรับเปลี่ยนตัวเองสูง
บุญเลิศ วิเศษปรีชา (คำนำผู้เขียน)
ส่วนใหญ่ของคนเหล่านี้มี “อาชีพ” หมายถึงกิจกรรมที่ทำแล้วมีกินหรือได้เงิน ที่ทำกันมากคือเก็บ “ของเก่า” ขาย ของเก่าหมายถึงสิ่งที่คนอื่นทิ้งเป็นขยะ เช่น กระป๋องน้ำอัดลม ถุงพลาสติก กระดาษ เป็นต้น นอกจากเอาไปขายต่อโดยตรงแล้ว บางครั้งก็ “สร้างมูลค่าเพิ่ม” ให้แก่สินค้าของเขาด้วย เช่น เอาพลาสติกมาต่อกันด้วยกาวเป็นแผ่นๆ ไว้ขายแก่คนที่มาเที่ยวดูมหรสพกลางแจ้งไว้รองนั่ง บางคนลงทุนไปซื้อพลาสติกจากโรงงานมาตัดก็มี ซึ่งได้ราคาดีกว่า
คนไร้บ้านจึงประกอบอาชีพที่ช่วยจรรโลงเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมเอาไว้ด้วย ไม่ต่างจากผู้ใช้แรงงาน ขายสินค้า หรือรับจ้างเป็นนักการเมืองแต่อย่างใด มีอาชีพต่างๆ หลากหลาย ซึ่งเชื่อมต่อด้วยกันจนทำให้เศรษฐกิจและสังคมเดินไปได้
บทกล่าวนำ (นิธิ เอียวศรีวงศ์)
บทที่ 1
- จาก “คนเร่ร่อน” ถึง “คนไร้บ้าน”
บทที่ 2
- เปิดประตูสู่โลกของคนไร้บ้าน
บทที่ 3
- กว่าจะมาเป็นคนไร้บ้าน
บทที่ 4
- การใช้ชีวิตรอดบนท้องถนน
บทที่ 5
- วังวนของชีวิตคนไร้บ้าน
บทที่ 6
- คนไร้บ้าน : ปรากฏการณ์ที่สังคมไทยต้องยอมรับ