Poststructuralism : บทแนะนำสกุลความคิดหลังโครงสร้างนิยม
ISBN: 9786167196671
ผู้แต่ง : ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : สมมติ
ปีที่พิมพ์ : 2560
จำนวนหน้า : 218
[…] การวิเคราะห์ของสกุลความคิดนี้ มีเป้าหมายหลักอยู่ที่การตั้งข้อระแวงสงสัยอย่างถอนรากถอนโคน (radical suspicion) ต่อบรรดามโนทัศน์หลักๆ ที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในแวดวงวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นมโนทัศน์เรื่องความหมาย (meaning) การเป็นตัวแทน (representation) การรับรู้ (subjectivity) เจตนา (intention) หรือเอกลักษณ์/ตัวตน (identity) […]
[…] สำหรับเป้าหมายของการศึกษา / วิจัยในแบบหลังโครงสร้างนิยม / หลังสมัยใหม่นิยมไม่ใช่การค้นหาและสถาปนากฎสากลอย่างวิธีการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแต่เป็นการศึกษาเพื่อต้องการตัดข้ามหรือฉีกออกไปจากบรรดากฎเกณฑ์ที่ดำรงอยู่เพื่อสร้างพื้นที่ราบให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียมกันมากขึ้น […]
[…] การพูดถึงการล่มสลายของเรื่องเล่าขนาดใหญ่อย่างวิทยาศาสตร์และความจริงมีผลให้ความจริงถูกสลายสั่นคลอน และถูกตั้งคำถามซึ่งทำให้ทึกทักล่วงหน้าอีกต่อไปไม่ได้ว่ามี ‘ความจริง’ ดำรงอยู่เป็นเอกเทศล่วงหน้าเรียบร้อยแล้ว คำถามที่ว่า ‘อะไรคือความจริง?’ กลับกลายมาเป็นประเด็นที่ต้องขบคิดและถกเถียงกันอีกครั้ง […]
[…] สำหรับนักทฤษฎีแนวหลังโครงสร้างนิยม / หลังสมัยใหม่นิยม มนุษย์ไม่ใช่พลังแห่งเจตจำนงเสรี แต่มนุษย์เป็นเพียงผลผลิตและผลพลอยได้แห่งยุคสมัยที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา […]
[…] การวิเคราะห์ของสกุลความคิดนี้ มีเป้าหมายหลักอยู่ที่การตั้งข้อระแวงสงสัยอย่างถอนรากถอนโคน (radical suspicion) ต่อบรรดามโนทัศน์หลักๆ ที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในแวดวงวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นมโนทัศน์เรื่องความหมาย (meaning) การเป็นตัวแทน (representation) การรับรู้ (subjectivity) เจตนา (intention) หรือเอกลักษณ์/ตัวตน (identity) […]
[…] สำหรับเป้าหมายของการศึกษา / วิจัยในแบบหลังโครงสร้างนิยม / หลังสมัยใหม่นิยมไม่ใช่การค้นหาและสถาปนากฎสากลอย่างวิธีการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแต่เป็นการศึกษาเพื่อต้องการตัดข้ามหรือฉีกออกไปจากบรรดากฎเกณฑ์ที่ดำรงอยู่เพื่อสร้างพื้นที่ราบให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียมกันมากขึ้น […]
[…] การพูดถึงการล่มสลายของเรื่องเล่าขนาดใหญ่อย่างวิทยาศาสตร์และความจริงมีผลให้ความจริงถูกสลายสั่นคลอน และถูกตั้งคำถามซึ่งทำให้ทึกทักล่วงหน้าอีกต่อไปไม่ได้ว่ามี ‘ความจริง’ ดำรงอยู่เป็นเอกเทศล่วงหน้าเรียบร้อยแล้ว คำถามที่ว่า ‘อะไรคือความจริง?’ กลับกลายมาเป็นประเด็นที่ต้องขบคิดและถกเถียงกันอีกครั้ง […]
[…] สำหรับนักทฤษฎีแนวหลังโครงสร้างนิยม / หลังสมัยใหม่นิยม มนุษย์ไม่ใช่พลังแห่งเจตจำนงเสรี แต่มนุษย์เป็นเพียงผลผลิตและผลพลอยได้แห่งยุคสมัยที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา […]
สารบัญ
นักคิดและผลงาน
นักคิดรุ่นที่ 1
- ฌาคส์ แดร์ริดา (Jacques Derrida)
- ฌาคส์ ลากอง (Jacques Lacan)
- มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault)
นักคิดรุ่นที่ 2
- ฌ็อง-ฟร็องซัวส์ ลีโยตาร์ด (Jean-Francois Lyotard)
- ชีลส์ เดอเลิซ (Gilles Deleuze) และ
- เฟลิกซ์ กัตตารี (Felix Guattari)
รัฐศาสตร์แนวหลังโครงสร้างนิยม
- IR ในฐานะที่เป็นตัวบท
- ภูมิศาสตร์การเมืองของสุนทรียศาสตร์
- ตัวอย่างการอ่านภาพยนตร์แนวหลังโครงสร้างนิยม
หลังโครงสร้างนิยมกับหลังสมัยใหม่นิยม
- ความแตกต่างระหว่างหลังโครงสร้างนิยมกับหลังสมัยใหม่นิยม
- เฟรดริค เจมสัน (Fredric Jameson) กับการเปิดตัวสกุลความคิดแบบหลังสมัยใหม่นิยม
สรุป : ภาพรวมของญาณวิทยาและวิธีวิทยาแบบหลังโครงสร้างนิยม / หลังสมัยใหม่นิยม