นิทานอิหร่านราชธรรม (ประชุมปกรณัม) *ปกแข็ง-สันโค้ง*
ISBN: 9786164371934
ผู้แต่ง : -
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์เบื้องบรรพ์
นิทานทั้งหมดในเล่มประกอบด้วย นิทานสิบสองเหลี่ยม หรือนิทานสิบสองเรื่องแล้วแยกออกมาเป็นนิทานปกรณัม ประกอบไปด้วย ปักษีปกรณัม ปีศาจปกรณัม เวตาลปกรณัม นนทุกปกรณัม และหิโตปเทศวัตถุปกรณัม
นิทานอิหร่านราชธรรม หรือนิทานสิบสองเหลี่ยม เล่มนี้ เป็นตำนานที่มีเค้ามูลมาจากชนชาติอาหรับ ซึ่งเป็นชนชาติหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ความเป็ฯมาอย่างยาวนาน มีทั้งความรุ่งเรืองทางภาษาทางวัฒนธรรมทางความคิดมาแต่โบราณ ต้นเรื่องเห็นจะมาจาหลายสายธารวัฒนธรรม สังเกตได้จากเรื่องเล่าในนี้ประกอบด้วยเรื่องเล่มที่มีกลิ่นอายทางอาหรับแท้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนเห็นจะเป็นนิทานลูกครึ่งผสมทางอินเดียมีทั้งพราหมณ์-พุทธ-ผีแปลงปน ชวนอ่านให้ความหลากหลายสนุกสนานตื่นเต้น ชวนขบคิด ให้คติธรรม
.
การจัดพิมพ์นิทานอิหร่านราชธรรมขึ้นใหม่ในครั้งนี้ สำนักพิมพ์เบื้องบรรพ์ได้คงไว้ซึ่งถ้อยคำ ภาษา ตามรูปแบบเดิมเป็นสำคัญ แก้ไขตรวจทานแต่เพียงคำผิดให้ถูกต้องตามหลักพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตบ้างตามสมควร แต่ยังคงถ้อยคำสำนวนเก่าไว้เพื่อรักษาและสืบสวนให้เห็นรากฐานที่มาแต่ครั้งก่อนเอาไว้”
.
.
บางส่วนจาก "อธิบาย นิทานอิหร่านราชธรรม"
พระนิพนธ์ “สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ”
.
นิทานพวกนี้เป็นนิทานแขก จะเรียกชื่อเรื่องหนังสือในภาษาแขกว่ากะไรหาทราบไม่ แต่ไทยเราเรียกกันมาว่า “เรื่องสิบสองเหลี่ยม” เข้าใจว่าได้ต้นฉบับเดิมเข้ามาแปลเป็นภาษาไทยแต่เมื่อกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี ข้อนี้รู้ได้ด้วยสำนวนที่แปลเป็นสำนวนโบราณ และมีหลักฐานอีกอย่างหนึ่ง ที่หนังสือเรื่องนี้ในหอพระสมุดฯ มีฉบับตัวทองของหลวงครั้งรัชกาลที่ 1 มีบานแผนกปรากฎว่าอาลักษณ์เขียนเมื่อเดือน 7 ปีขาลจัตวาศก พ.ศ. 2325 อันเป็นปีซึ่งพระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าจุลาโลกเสด็จปราบดาภิเศก แต่มิได้กล่าวถึงการที่แปลไว้ในบานแผนก จึงเห็นว่าเป็นหนังสือเรื่องที่นับถือกันมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นนิทานสุภาสิตว่าด้วยราชธรรม จึงโปรดฯ ให้สร้างขึ้นเป็นฉบับหลวงเก็บไว้ใกล้พระองค์สำหรับจะได้ทรงสอบสวนได้โดยง่าย และหนังสือเรื่องนี้นอกจากฉบับหลวงยังพบฉบับอื่นอีกหลายฉบับ ส่อให้เห็นเป็นหลักฐานประกอบกับข้อความที่กล่าวมา ควรเชื่อได้ว่าแปลแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
...
นิทาน 12 เรื่องนี้ หมอสมิทเจ้าของโรงพิมพ์ที่บางคอแหลมได้พิมพ์เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2413 แต่ฉบับของหมอสมิทความบกพร่องไม่บริบูรณ์เหมือนฉบับที่มีในหอพระสมุดฯ อีกประการหนึ่ง ที่เรียกชื่อกันมาแต่เก่าก่อนว่า “เรื่องสิบสองเหลี่ยม” เห็นว่าไม่ชวนอ่าน เสมือนนามปิดค่าของหนังสือเสีย นิทานเหล่านี้สิเป็นนิทานของพวกแขกอิหร่านและว่าด้วยราชธรรม พิมพ์ใหม่ครั้งนี้จึงให้ชื่อเสียใหม่ว่า “นิทานอิหร่านราชธรรมสิบสองเรื่อง”