Kledthai.com

ตะกร้า 0

ปรัชญาการเมือง

ISBN: 9789743158995

แปลจากหนังสือ : Political Dialogues

ผู้แต่ง : มอริซ แครนสตัน

ผู้แปล : ส.ศิวรักษ์

สำนักพิมพ์ : Text (เครือสยามปริทัศน์)

ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2562

จำนวนหน้า : 354

ซีรี่ส์:
-
พร้อมส่ง
ISBN:
9789743158995
ราคาพิเศษ ฿315.00 ราคาปรกติ ฿350.00

บทสนทนาทั้งแปดในหนังสือเล่มนี้ ล้วนว่าด้วยปัญหาทางการเมือง หรือพูดให้ตรงยิ่งกว่านี้ ก็คือว่าด้วยปัญหาทางทฤษฎีการเมือง ในเรื่องเสรีภาพ ความเจริญ ความมีใจกว้าง รัฐ ปฏิวัติ ประชาธิปไตย จริยธรรม และคุณธรรมสำหรับพลเมือง เรื่องดังกล่าวนี้เป็นเรื่องหลักการทฤษฎีที่เกี่ยวกับรัฐมาแต่สมัยเปลโตหรือก่อนหน้านั้น และเป็นปัญหาที่น่าสนใจตลอดมาทุกยุคทุกสมัย

-- มอริซ แครนสตัน

เมื่อข้าพเจ้าเรียนปรัชญาอยู่ที่มหาวิทยาลัย มอริซ แครนสตัน ได้ตีพิมพ์ John Locke: A Biography ออกมา ปรากฏว่าเป็นที่กล่าวขวัญกันมาก และข้อเขียนก็มักมีออกอากาศทางวิทยุบีบีซีแล้วมักนำมาตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Listener เนืองๆ พวกเราที่เป็นนักเรียนมักฟังมักอ่าน และครูอาจารย์ก็มักแนะนำให้ทำเช่นนั้นด้วย บทสนทนาบางเรื่องที่นำมาแปลนี้ ชะรอยข้าพเจ้าจะเคยได้ยินมาแต่สมัยโน้นแล้วด้วยซ้ำ

ภายหลัง เมื่อข้าพเจ้ามีกิจต้องสอนปรัชญาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ดี ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ดี ได้มองหาตำรับตำราง่ายๆ ในภาษาอังกฤษ ให้นิสิตนักศึกษาอ่านอยู่เสมอ ยิ่งเมื่อตอนมารับสอนปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ที่คณะอักษรศาสตร์ได้ไม่นาน ก็เผอิญนายแครนสตันตีพิมพ์หนังสือออกมาใหม่ ให้ชื่อว่า Political Dialogues พิจารณาดูแล้วเห็นว่าเหมาะแก่ภูมิปัญญาที่นิสิตจะพออ่านได้ จึงสั่งมาไว้ใช้เป็นหนังสือหลักสำหรับผู้ที่เรียนวิชานี้

-- ส. ศิวรักษ์

บทสนทนาในหนังสือเล่มนี้ทั้งหมด เดิมเขียนขึ้นเพื่อกระจายเสียงระบบวิทยุเหมาะกับงานวรรณกรรมประเภทนี้ เพราะหูคนเราไม่ชอบฟังเสียงคนคนเดียวนานเกินไปนัก มีคำโต้ตอบสลับบ้าง ย่อมออกรสและเวลาหูต้องการเสียงที่แผกออกไป สมองก็ต้องการรับรู้ความคิดเห็นที่แตกต่างออกไปด้วย ถ้าหลายๆ เสียงเสนอความคิดอ่านอันเดียวกันดูจะเลวร้ายกว่าเสียงเดียวเสียอีก สิ่งซึ่งผู้ฟังต้องประสงค์อย่างยิ่งจากบทสนทนาก็คือในรูปแบบของการอภิปราย หรือการโต้วาที โดยที่คำพูดของแต่ละคนต้องไม่ยาวเกินไป หาไม่ก็ควรเป็นการโต้แย้ง ซึ่งใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ อีกทีหนึ่งก็ต้องเป็นแบบ “สงครามคำคม” จะอย่างไรก็ตาม การแลกเปลี่ยนความคิดทางปรัญา โดยมีทัศนคติและทัศนวิสัยต่างกันไปมากนั้น น่าสนใจ

การเขียนเป็นแบบวิธีสนทนานั้น นักปรัชญานิยมกันมานานแล้ว ดังเช่น เปลโต ฮูม และเบิกเลย์ ได้ใช้มาแล้วโดยได้รับความสำเร็จอย่างงดงาม คนทั้งสามนี้มิได้เป็นแต่ปรัชญาเท่านั้น หากยังเป็นนักวรรณศิลป์อีกด้วย โดยที่ต่างก็มีลีลาการเขียนเป็นแบบของตนเอง และที่ต่างก็ได้รับความสำเร็จนั้น เห็นจะเป็นเพราะเนื้อหาของวิชานี้นั่นเองดังเปลโตกล่าวว่า ปรัรชญานั้นไม่ใช่อะไรอื่น คือการสนทนาอย่างหนึ่งซึ่งจิตพูดกับตัวเองนั้นแล นักปรัชญาสมัยใหม่ที่ถือว่าปรัชญาเป็น “วิธีแสวงหาสัจจะโดยเหตุผล” ก็คงจะเห็นพ้องต้องด้วยกับเปลโตอย่างแน่นอน ดังนั้นการเสนอความคิดเห็นทางปรัชญาให้แนบเนียนและแยบคาย หากใช้วิธีของบทสนทนาก็จะเหมาะสมยิ่ง

 

สารบัญ

- บทสนทนาทางการเมืองเรื่องรัฐ ระหว่าง สาโวนาโรลา และ มาคิอาเวลลี

- บทสนทนาทางการเมืองเรื่องความมีใจกว้าง ระหว่าง จอน ล้อก และ ลอด ชาฟสเบอรี่

- บทสนทนาทางการเมืองเรื่องความเจริญ ระหว่าง ดิเดโรต์ และ รุสโซ

- บทสนทนาทางการเมืองเรื่องจริยธรรม ระหว่าง วอลแต และ ฮูม

- บทสนทนาทางการเมืองเรื่องการปฏิวัติ ระหว่าง เอ็ดมันด์ เบิค, ทอม เพน และ แมรี่ โวลสโตนครอฟต์

- บทสนทนาทางการเมืองเรื่องอนาธิปไตย ระหว่าง คาล มากซ์ และ ไมเกิล บาคูนิน

- บทสนทนาทางการเมืองเรื่องเสรีภาพ ระหว่าง จอน สจ๊วต มิลล์ และ เจมส์ ฟิตซ์เจมส์ สตีเฟน

- บทสนทนาทางการเมืองเรื่องประชาธิปไตย ระหว่าง เซอ เฮนรี่ เมน, แมทธิว อาร์โนลด์ และ จอน มอเลย์

- บทสนทนา “ธรรมชาติของมนุษย์ : ความยุติธรรม กับ อำนาจ” นอม ชอมสกี้ กับ มิแชล ฟูโคลท์

เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง
คุณกำลังรีวิว:ปรัชญาการเมือง
คะแนนของคุณ