ความขัดแย้งของการปฏิวัติ อันโตนิโย กรัมชี กับปัญหาของปัญญาชน
ISBN: 9789743158742
แปลจากหนังสือ : Revolutionary Contradictions:Antonio Gramsci and the Problem of Intellectuals
ผู้แต่ง : Jerone Karabel
ผู้แปล : สมบัติ พิศสะอาด
สำนักพิมพ์ : Text (เครือสยามปริทัศน์)
ปีที่พิมพ์ : 2557
จำนวนหน้า : 141
ปัญหามิคสัญญีในการปฏิวัติที่เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งใหม่ๆ
อยู่ตรงที่ว่าการปฏิวัติเหล่านี้เรียกร้องการปฏิวัติที่เป็นเอกเทศสองครั้งด้วยกัน
กล่าวคือ ครั้งแรก ทำลายรัฐกระภุมพีลงไป
ครั้งที่สอง เป็นกระบวนการสร้างสรรค์สังคมไปสู่ลัทธิคอมมิวนิสต์
แต่ทว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในการปฏิวัติแต่ละกรณีก็คือ ระบบปกครองของกรรมกร
ที่เพิ่งจะสอนเดิน ไม่สามารถริเริ่มกระบวนการสร้างสรรค์สังคมปฏิวัติ
แล้วผลก็คือ ต้องตกเป็นเหยื่อของพลังที่เป็นปฏิปักษ์ปฏิวัติ
ปัญหามิคสัญญีในการปฏิวัติที่เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งใหม่ๆ อยู่ตรงที่ว่าการปฏิวัติเหล่านี้เรียกร้องการปฏิวัติที่เป็นเอกเทศสองครั้งด้วยกัน กล่าวคือ ครั้งแรก ทำลายรัฐกระภุมพีลงไป ครั้งที่สอง เป็นกระบวนการสร้างสรรค์สังคมไปสู่ลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่ทว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในการปฏิวัติแต่ละกรณีก็คือ ระบบปกครองของกรรมกรที่เพิ่งจะสอนเดิน ไม่สามารถริเริ่มกระบวนการสร้างสรรค์สังคมปฏิวัติแล้วผลก็คือ ต้องตกเป็นเหยื่อของพลังที่เป็นปฏิปักษ์ปฏิวัติ
อันโตนิโย กรัมชี (Antonio Gramsci, 1891-1937) นักเศรษฐศาสตร์การเมือง, นักทฤษฎีการเมือง ชาวอิตาเลียน ผู้มีสกุลความคิดแบบมาร์กซ์ (Marxist) เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลี เป็นผู้ที่สร้างทฤษฎีการเมืองและมโนทัศน์ที่เป็นประโยชน์ทางการศึกษาไว้มากมาย เช่น hegemony, war of position, the distinction between “traditional” and “organic” intellectuals เป็นต้น สายธารความคิดเหล่านี้เองที่ได้ส่งต่อมาถึงนักปรัชญา/นักทฤษฎีทางการเมืองผู้มีสกุลความคิดแบบมาร์กซ์ ที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันอย่าง Antonio Negri, Chantal Mouffe, Alex Callinicos, David Harvey ฯลฯ ซึ่งกรัมชีนี้เองเป็นผู้ที่ทำการรื้อฟื้นการวิเคราะห์ที่มุ่งไปยังโครงสร้างส่วนบน (superstructure) หลังจากที่ก่อนหน้าในยุคของกรัมชี สกุลความคิดแบบมาร์กซ์นั้นตกอยู่ภายใต้ของอิทธิพลความคิดแบบเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนด (economic determinism) เขาได้แบ่งประเภทของปัญญาชนออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ปัญญาชนในแบบดั้งเดิม (traditional intellectual), ปัญญาชนหัวก้าวหน้า (progressive intellectual), และปัญญาชนของชนชั้น (organic intellectual) เขาเห็นว่าควรให้ความสำคัญกับปัญญาชนของชนชั้นมากที่สุด เหตุเพราะปัญญาชนกลุ่มนี้เอง ที่สามารถปฏิบัติการในการช่วงชิงสภาวะครองความเป็นเจ้า (hegemony) กรัมชีมองว่าสกุลความคิดแบบมาร์กซ์จะต้องทำหน้าที่ 2 ประการ ซึ่งหน้าที่ทั้งสองนั้นไม่สามารถเข้ากันได้โดยสิ้นเชิง นั่นก็คือ "ต่อสู้กับอุดมการณ์ (ปฏิกิริยา) ใหม่ๆ ที่แฝงมาในรูปที่ประณีตละเอียดอ่อน เพื่อที่จะได้สร้างกลุ่มปัญญาชนที่เป็นอิสระของตนได้ แล้วก็จะต้องให้การศึกษากับมวลชนเพราะวัฒนธรรมของพวกเขายังเป็นวัฒนธรรมศักดินา" ดังนั้นแล้วความขัดแย้งระหว่างปัญญาชนในขบวนการปฏิวัติกับการปลดปล่อยตนเองของชนชั้นกรรมกร จึงเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ในความขัดแย้งที่มีอยู่เป็นจำนวนไม่น้อยระหว่างกรรมกรกับปัญญาชน