ประวัติและลัทธิของปวงปรัชญาเมธี
ISBN: 9789743158629
ผู้แต่ง : Henry Thomas & Dana lee Thomas
ผู้แปล : สมัคร บุราวาศ
สำนักพิมพ์ : Text (เครือสยามปริทัศน์)
ปีที่พิมพ์ : 2557
จำนวนหน้า : 405
เพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์โดยทั่วไปของเราในการเขียนหนังสือชุดชีวประวัติในปัจจุบันนี้ เราได้พยายามที่จะเน้นเรื่องราวเกี่ยวกับผู้คิดยิ่งกว่าความคิดของเขา เราได้หลีกเลี่ยงคำอธิบายทางเทคนิค การวิเคราะห์วิจารณ์หรือการชักนำทางอภิปรัชญาให้รู้จักกับสาขาปรัชญาอย่างใดอย่างหนึ่งโดยละเอียด แต่เราก็ได้พยายามแนะนำผู้อ่านไม่เพียงให้รู้จักกับถิ่นฐานของนักปรัชญาเท่านั้น ยังพาไปถึงจิตใจของท่านเหล่านี้ด้วย เพราะว่าเพื่อจะให้เข้าใจผู้ฝันในเรื่องสิ่งสมบูรณ์ เราต้องยอมให้ท่านเหล่านั้นได้เชื้อเชิญเราให้เข้าไปถึงอุทยานแห่งความฝันของท่านด้วย เราเชื่อว่าอาจจะเป็นไปได้ที่จะได้เห็นภาพอันจะแจ้งของความงามของอุทยาน และได้เพลิดเพลินอยู่กับกลิ่นหอมในอุทยานนั้น โดยไม่ต้องไปศึกษาทางเทคนิคในโครงสร้างทางพฤกษศาสตร์ของดอกไม้ หรือความรู้อย่างผู้ชำนาญในชื่อทางวิทยาศาสตร์ของมัน ดังนั้นเราจึงพยายามทอดถ่ายเอาจุดสำคัญในความคิดของปรัชญาในชีวประวัติแต่ละรายนี้มาแสดงไว้อย่างง่ายๆ พอเป็นความรู้ และอย่างกระจ่างแจ้งด้วย นี่คือความหวังของเรา
เมื่อเราได้มองเห็นจิตใจของนักปรัชญาต่างๆ แล้วเราก็ได้พบสิ่งที่สำคัญและน่าสนใจยิ่ง
หนังสือเล่มนี้จะแสดงให้เห็นว่า นักปรัชญา ก็มิใช่มนุษย์ที่ผิดกับเราอย่างฟ้ากับดินแต่อย่างไร ก็เป็นมนุษย์เดินดินเรานี่เอง ส่วนมากเกิดมาในตระกูลยากจน ตลอดชีวิตต้องประสบภัยพิบัติต่างๆ บางทีตายไปนานแล้วเกียรติและชื่อเสียงจึงมาสู่ตน นักปรัชญาเหล่านี้ ไม่ได้บำเพ็ญตัวอย่างนักบวช คงมีกิเลสร้อยแปดอย่างพากเรา วอลแตร์ชอบเสียดสี โชเป็นเฮาเออร์ชอบดูหมิ่น เบคอบถึงกับริอ่านทรยศหักหลังเพื่อนทีเดียว ฉะนั้นเราจะเห็นว่า สิทธิในการใช้สมองคิดปรัชญานั้นไม่เป็นของใคร คฤหัสถ์หรือพระก็สามารถคิดปรัชญาได้
ลัทธิปรัชญานั้นย่อมมีอิทธิพลเหนือการเมืองอย่างเหลือหลาย และลัทธิการเมืองก็ได้จากนักปรัชญานี้เอง ด้วยความคิดของนักปรัชญาเหล่านี้พวกเราผู้งมงายไม่ทราบว่าอำนาจในโลกนี้มา จากไหน จึงได้สำนึกว่าอำนาจไม่ได้มาจากอาวุธ หรือจากรั้วจากวังแต่หากมาจากความนิยมและเคารพนับถือ ประชาธิปไตยเป็นผลของการคิดปรัชญาเช่นว่านี้ เองเกิลส์ทำให้คาล มากซ์ สร้างลัทธิสังคมนิยมขึ้น มติเฮเกลและนีทก็ชวนให้เกิดลัทธิเผด็จการมีปรัชญาอยู่ลัทธิเดียวที่ไม่นำ ความเดือดร้อนใดๆ มาสู่ผู้ใด ไม่นำสงครามมาให้แก่เชื้อชาติใดหรือประเทศใด ปรัชญานี้มีทั้งการสาธยายความแท้จริงอันสมบูรณ์ มีทั้งประโยชน์ในทางปฏิบัติซึ่งทำให้ผู้ที่เข้าใจและปฏิบัติตามเกิดความสุข ชั่วนิรันดร ไม่เป็นปรัชญาที่ทรนงเช่นนีทเช่ เคลิบเคลิ้มเช่นแบร์กซอง แห่งแล้งเช่นสเป็นเซอร์ และเกาะโลกเช่นวิลเลี่ยม เจมส์ ปรัชญาดั่งว่านี้ คือ "พระพุทธศาสนา"