LOUIS ALTHUSSER อุดมการและกลไกทางอุดมการของรัฐ
ISBN: 9789743158438
ผู้แต่ง : หลุยส์ อัลธูแชร์
ผู้แปล : กาญจนา แก้วเทพ
สำนักพิมพ์ : Text (เครือสยามปริทัศน์)
ปีที่พิมพ์ : 2557
จำนวนหน้า : 131
สำหรับมาร์กซ์แล้ว อุดมการก็เป็นจินตนาการที่ถูกนำมาปะติดปะต่อกัน เป็นความฝันล้วนๆ ว่างเปล่าและไร้สาระ ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาจากซากตกค้างของความเป็นจริงในเวลากลางวัน เมื่อนำลักษณะดังกล่าวของอุดมการมาทำการเปรียบเทียบกับประวัติศาสตร์รูปธรรมของปัจเจกบุคคลที่มีตัวตนจับต้องได้และเป็นผู้ที่ทำการผลิตการดำรงอยู่ของตนเองอย่างเป็นรูปธรรมนั้น ในแง่นี้เองที่เราสามารถถือได้ว่า "อุดมการ (แบบดังกล่าว) นั้นไม่มีประวัติศาสตร์" ดังที่ปรากฏใน "อุดมการเยอรมัน" เพราะในที่นี้ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือลักษณะอุดมการแบบนั้น ประวัติศาสตร์อันเดียวที่มีอยู่ คือ ประวัติศาสตร์ของปัจเจกบุคคลที่มีเนื้อหนังจริงๆ __ (หลุยส์ อัลธูแซร์)
อัลธูแซร์คัดค้านการวิเคราะห์ที่แบ่งสังคมออกเป็นฐานเศรษฐกิจและโครงสร้างส่วนบน ซึ่งเขาเห็นว่าทำให้การอธิบายเรื่องรัฐและอุดมการเป็นไปอย่าง orthodox (มองเห็นแต่ว่า รัฐและอุดมการซึ่งเป็นโครงสร้างส่วนบนจะต้องถูกกำหนดจากฐานเศรษฐกิจอยู่ร่ำไป) อัลธูแซร์มีความเห็นว่า บทบาทของโครงสร้างส่วนบนมีความสำคัญมาก เพราะถ้าหากการปฏิวัติเกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างพลังการผลิตและความสัมพันธ์ทางการผลิตแต่เพียงอย่างเดียวแล้ว บรรดาการปฏิบัติการทางการเมืองและทางอุดมการของนักปฏิวัติก็กลายเป็นสิ่งไม่จำเป็นไป __(กาญจนา แก้วเทพ)
สำหรับมาร์กซ์แล้ว อุดมการก็เป็นจินตนาการที่ถูกนำมาปะติดปะต่อกัน เป็นความฝันล้วนๆ ว่างเปล่าและไร้สาระ ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาจากซากตกค้างของความเป็นจริงในเวลากลางวัน เมื่อนำลักษณะดังกล่าวของอุดมการมาทำการเปรียบเทียบกับประวัติศาสตร์รูปธรรมของปัจเจกบุคคลที่มีตัวตนจับต้องได้และเป็นผู้ที่ทำการผลิตการดำรงอยู่ของตนเองอย่างเป็นรูปธรรมนั้น ในแง่นี้เองที่เราสามารถถือได้ว่า "อุดมการ (แบบดังกล่าว) นั้นไม่มีประวัติศาสตร์" ดังที่ปรากฏใน "อุดมการเยอรมัน" เพราะในที่นี้ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือลักษณะอุดมการแบบนั้น ประวัติศาสตร์อันเดียวที่มีอยู่ คือ ประวัติศาสตร์ของปัจเจกบุคคลที่มีเนื้อหนังจริงๆ --- หลุยส์ อัลธูแซร์ ----
อัลธูแซร์คัดค้านการวิเคราะห์ที่แบ่งสังคมออกเป็นฐานเศรษฐกิจและโครงสร้างส่วนบน ซึ่งเขาเห็นว่าทำให้การอธิบายเรื่องรัฐและอุดมการเป็นไปอย่าง orthodox (มองเห็นแต่ว่า รัฐและอุดมการซึ่งเป็นโครงสร้างส่วนบนจะต้องถูกกำหนดจากฐานเศรษฐกิจอยู่ร่ำไป) อัลธูแซร์มีความเห็นว่า บทบาทของโครงสร้างส่วนบนมีความสำคัญมาก เพราะถ้าหากการปฏิวัติเกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างพลังการผลิตและความสัมพันธ์ทางการผลิตแต่เพียงอย่างเดียวแล้ว บรรดาการปฏิบัติการทางการเมืองและทางอุดมการของนักปฏิวัติก็กลายเป็นสิ่งไม่จำเป็นไป ---- กาญจนา แก้วเทพ ----