ความใกล้ชิดของความหมายแห่งชีวิตสังคมวิทยาชีวิตประจำวัน
ISBN: 9789743158377
ผู้แต่ง : ชญาน์ทัต ศุภชลาศัย
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : Text (เครือสยามปริทัศน์)
ปีที่พิมพ์ : 2556
จำนวนหน้า : 149
ผู้เขียนจะได้ทำการแนะนำทฤษฏีสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ผ่านวิธีคิดในแนวทางของจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) ภาระหน้าที่เชิงโครงสร้าง (Stuctural Functionalism) จากนั้นผู้เขียนจะทำการแนะนำแนวคิดในเชิงกิจวัตรประจำวัน ผ่านทางทฤษฏีอย่าง ปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology) ระเบียบวิธีการเข้าใจสังคม (Ethnomethodology) และปฏิสัมพันธ์นิยมเชิงสัญญะ (Symbolic Interactionism)
จากนั้นจึงจะย้อนกลับมากล่าวถึงแนวทางวิพากษ์ (Critical Approach) ซึ่งพอเจอได้ในงานเขียนของพวกวัฒนธรรมศึกษา (Cultural Studies) และพวกหลังโครงสร้างนิยม (Post-structuralism) และผ่านทางงานเขียนของสังคมวิทยากระแสใหม่ (New Sociologies of Everyday Life) ชื่อดัง Henri Lefebere และ Michel de Certeau เป็นต้น
หากกล่าวถึงการศึกหาความรู้ ในฐานะของการเป็นนักวิชาการแล้วนั้น ในทางปฏิบัติ ย่อมไม่ใช่แค่เพียงการก้มหน้าก้มตาอยู่กับตัวบท เอกสาร หรือตำราต่างๆ เพียงเท่านั้น หากแต่รวมไปถึงการมองโลกเพื่อศึกษาความเป็นไปที่เกิดขึ้น และการอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีหลักการทางวิชาการ สามารถคาดคะเนทำนายปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในกรณีที่สำนักหรือแนวทางการศึกษาเหล่านั้นอ้างตัวว่าสามารถทำได้
สำหรับหนังสือ ความใกล้ชิดของความหมายแห่งชีวิต : สังคมวิทยาชีวิตประจำวัน ผู้เขียนได้ใช้แนวทางจิตวิเคราะห์ จิตวิทยาสังคม ปรากฏการณ์วิทยา รวมไปถึงพวกหลังโครงสร้างนิยม มาทำการศึกษาถึงความเป็นไปในสังคม อันเป็นการตีความสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของผู้คน สามารถจับต้องได้ง่ายกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวในชีวิตแต่ละวัน นำเสนออาณาบริเวณใหม่ในการศึกษาสังคมวิทยาโดยการเชื่อมต่อกับศาสตร์ที่ถูกมองว่าเป็นศาสตร์อย่างอ่อน (soft science) อย่างจิตวิเคราะห์ ฯลฯ ที่ถูกโจมตีว่าเป็นศาสตร์ของปัจเจกบุคคล (individual) อยู่เสมอมา แต่ในทางกลับกันแล้วการเชื่อมโยงกันในลักษณะเช่นนี้ก็เป็นการเปิดพื้นที่ให้กับการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของความเป็นสอัตวิสัย (subjectivity) ในแบบร่วมสมัย ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญในการศึกษาตัวตนของมนุษย์ในสภาพของสังคมที่มีความสลับซับซ้อน อันไม่สามารถมองข้ามไปได้หากต้องการศึกษาแบบองค์รวม