ความหวังกับจินตนาการทางมนุษยศาสตร์
ISBN: 9789743159299
ผู้แต่ง : คงกฤช ไตรยวงค์ , ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : สยามปริทัศน์
ปีที่พิมพ์ : 2559
จำนวนหน้า : 561
ความหวังกับจินตนาการทางมนุษยศาสตร์ เป็นหนังสือรวมบทความที่พยายามชี้ชวนให้เห็นว่า สังคมไทยกำลังอยู่ในยุคสมัยของการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญในหลากมิติ ผลของการดำรงอยู่ในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนและคาดเดาได้ยากนี้ นำไปสู่การก่อรูปกลายร่างของประสบการณ์ จินตนาการและตัวตนใหม่ ทั้งในระดับปัจเจกและสังคม ซึ่งแสดงออกและ/หรือสะท้อนให้เห็นถึงความกลัว ความกังวล และการถอยหนีอันเกิดจากสภาวะการแปรเปลี่ยนในแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ โดยเฉพาะสถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ แต่ในทางตรงกันข้าม ปรากฏการณ์ดังกล่าวก็กระตุ้นให้เกิดการหวนกลับไปใคร่ครวญ หรือแม้กระทั่งรื้อฟื้นภูมิปัญญาและคุณค่าในศีลธรรมทางศาสนา การตีความตัวบททางศาสนา ปรัชญาวรรณกรรม เรื่อยไปจนถึงเพลงสมัยนิยมย่อมขึ้นต่อกระบวนการแปลความหมายทางวัฒนธรรม ซึ่งอยู่ภายใต้กำกับของบริบททางวัฒนธรรมและเส้นขอบฟ้าของยุคสมัยโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้
ความหวังกับจินตนาการทางมนุษยศาสตร์ เป็นหนังสือรวมบทความที่พยายามชี้ชวนให้เห็นว่า สังคมไทยกำลังอยู่ในยุคสมัยของการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญในหลากมิติ ผลของการดำรงอยู่ในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนและคาดเดาได้ยากนี้ นำไปสู่การก่อรูปกลายร่างของประสบการณ์ จินตนาการและตัวตนใหม่ ทั้งในระดับปัจเจกและสังคม ซึ่งแสดงออกและ/หรือสะท้อนให้เห็นถึงความกลัว ความกังวล และการถอยหนีอันเกิดจากสภาวะการแปรเปลี่ยนในแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ โดยเฉพาะสถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ แต่ในทางตรงกันข้าม ปรากฏการณ์ดังกล่าวก็กระตุ้นให้เกิดการหวนกลับไปใคร่ครวญ หรือแม้กระทั่งรื้อฟื้นภูมิปัญญาและคุณค่าในศีลธรรมทางศาสนา การตีความตัวบททางศาสนา ปรัชญาวรรณกรรม เรื่อยไปจนถึงเพลงสมัยนิยมย่อมขึ้นต่อกระบวนการแปลความหมายทางวัฒนธรรม ซึ่งอยู่ภายใต้กำกับของบริบททางวัฒนธรรมและเส้นขอบฟ้าของยุคสมัยโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้
คําานําจากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (7)
บทนํา: ความหวังกับจินตนาการทางมนุษยศาสตร์ (9)
ภาคที่ 1 บทความวิชาการ/บทความวิจัย
ความหวังเพื่อการก้าวข้าม
รักไม่ยอมเปลี่ยนแปลง: ว่าด้วยรักในกระแสการเปล่ียนแปลงในปรัชญาของเคียร์เคอการ์ด
รชฎ สาตราวุธ
ผีเส้ือกับโจวกง: ข้อเสนอทางปรัชญาว่าด้วยความฝัน 55 ความหวัง และการแปรเปลี่ยนในปรัชญาขงจ่ือและจวงจื่อ
ศริญญา อรุณขจรศักดิ์
“แม้ไม่มีใครรู้จักก็ไม่หว่ันไหว”: บทวิเคราะห์ความพยายามของขงจ่ือในการหาตําแหน่งแห่งที่ของตนในสังคม
นุชรี วงศ์สมุท
จินตนาการข้ามเวลาผ่านเรื่องเล่า
ชายแต่งหญิง หญิงแต่งชาย: พินิจกรอบความคิดเร่ืองเพศกับการแต่งกายข้ามเพศของตัวละครเอกหญิงในบทละคร สุขนาฏกรรมของเชกสเปียร์
ภูมิ ชาญป้อม
จากต้นธารหลานชางสู่ลําาน้ําโขง: จากวรรณกรรมจีนสู่วรรณกรรมภาษาจีนในประเทศไทย
ปิยวรรณ ปิยะกาญจน์
ฮิกายัต ปัตตานี ในฐานะวรรณกรรม: หน้าท่ีทางการเมืองของเรื่องเล่าและการเล่าเรื่อง
พิเชฐ แสงทอง
“แผ่นดินน้ี” ใน ส่ีแผ่นดิน: ภาษาและอุดมการณ์ในเพลงประกอบละครเวที ส่ีแผ่นดิน เดอะ มิวสิคัล กับปริบทสังคมวัฒนธรรมไทยร่วมสมัย
ดนัย พลอยพลาย, สิรีมาศ มาศพงศ์
การประกวดศิลปกรรมก่อนเปล่ียนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475: ปัจจัยทางการเมืองและเศรษฐกิจ ภายใต้บทบาทการอุปถัมภ์โดยราชสําานัก
สิทธิธรรม โรหิตะสุข
ข้ามพรมแดนมนุษยศาสตร์
กระแสลัทธิมาร์กซตะวันตก (WesternMarxism)กับความคิดและความหวังทางการเมืองของปัญญาชน ฝ่ายซ้ายไทยภายหลังการตกต่ําาล่มสลายของ พคท. (ระหว่าง พ.ศ. 2524 – 2534)
ธิกานต์ ศรีนารา
การกลับมาของ AntonioNegri: ว่าด้วยการตีความ Spinoza จากมุมมองมาร์กซิสต์ ทุนนิยม และโครงการทางการเมืองของคอมมิวนิสม์
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ
วิกฤติเชิงคุณค่าของประชาธิปไตยไทย: ประชาธิปไตยแบบชนช้ันนําา กับความเท่าเทียม (เทียม) ในพื้นฐานตรรกะ ว่าด้วยการทําาประชามติเรื่องความปรองดองในทางการเมือง
พิสิษฐิกุล แก้วงาม
รื้อสร้างวรรณกรรม “ภาพแทนชุมชนป่า”
บัณฑิต ไกรวิจิตร
มนุษยศาสตร์ข้ามพรมแดน
ถั่ว แป้ง และเนย: เศรษฐกิจการเมืองว่าด้วยอาหารของตําารวจอินเดียในพม่าสมัยอาณานิคม, 1887–1937
ลลิตา (หิงคานนท์) หาญวงษ์
ผู้หญิงสมัยใหม่กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในพม่า ค.ศ. 1885–1945
นิสารัตน์ ขันธโภค
ภาคที่ 2 บทปาฐกถา/บทอภิปราย
ปาฐกถานําา “ทุกข์ใหม่ของสังคมไทย”
มารค ตามไท
บทบรรยายพิเศษ “บุหงาของฉันหายไปไหน”: สังคมเปลี่ยน, ความภักดีแปลง
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์
บทอภิปรายเรื่องพรมแดนมนุษยศาสตร์กับการเปลี่ยนแปลงในสังคมร่วมสมัย
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, ยศ สันตสมบัติ, สุรเดช โชติอุดมพันธ์