ภูมิปัญญาอินเดียโบราณ: ประวัติศาสตร์และปรัชญาทางสายกลางแบบ พุทธ พราหมณ์ เชน
ISBN: 9789743159992
ผู้แต่ง : สุมาลี มหณรงค์ชัย
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : ศยาม
ปีที่พิมพ์ : 2562
จำนวนหน้า : 376
ผลงานวิจัยเล่มนี้เป็นองค์ความรู้สู่สังคม จากประสบการณ์การ
ค้นคว้างานด้านนี้ของผู้เขียน ซึ่งมองเห็นความเชื่อมโยงของคำอธิบาย
ประวัติศาสตร์ควบคู่ไปกับปรัชญาอินเดียโบราณ ในการทำความเข้าใจ
“ทางสายกลาง” ที่ไม่ได้มีแต่ในภูมิปัญญาแบบพุทธ แต่ยังมีทางสายกลาง
ในภูมิปัญญาแบบพราหมณ์และเชนด้วย ทั้งสามสายความคิดเป็นสำนัก
ปรัชญาเก่าแก่ที่ปรากฏขึ้นหลายร้อยปีก่อนคริสตกาล และหยัดยืนอยู่ได้
ท่ามกลางกระแสเชี่ยวกรากทางการเมืองในฐานะลัทธิศาสนาจวบจนถึง
ทุกวันนี้
............................
หลายครั้งด้วยกันที่ตำราประวัติศาสตร์ปรัชญาใช้ประวัติศาสตร์แต่เพียงผังลำดับเวลา แต่ ภูมิปัญญาอินเดียโบราณ : ประวัติศาสตร์และปรัชญา เล่มนี้ใช้ประวัติศาสตร์เป็นส่วนสำคัญของการอธิบายพัฒนาการของความคิดทางปรัชญา
- นิธิ เอียวศรีวงศ์
หนังสือ ภูมิปัญญาอินเดียโบราณ : ประวัติศาสตร์และปรัชญาของ ดร.สุมาลี มหณรงค์ชัย เปิดมิติการรับรู้และความเข้าใจในเรื่องของภูมิปัญญาอินเดียอย่างที่ไม่เคยรู้และอ่านมาก่อน
- ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
สารบัญ
คำนิยม
คำนำ
บทนำ
- สู่ประวัติศาสตร์และปรัชญาอินเดีย
- "อินเดีย" โบราณกับประวัติศาสตร์
- "อินเดีย" โบราณกับปรัชญา
- ประวัติศาสตร์และปรัชญาอินเดียโบราณ
- ปัญหาว่าด้วย "ความจริง" ในปรัชญา
ภาคแรก ปรัชญาในประวัติศาสตร์
บทที่ ๒
- ประวัติศาสตร์อินเดียยุคพระเวท
- วิถีแห่งสมณะ
บทที่ ๓
- ปรัชญาอุปนิษัท
- พรหมันกาบทฆษฎีวิวัฒนาการ
- อาศรม ๔ กับวิถีแห่งสันยาสิน
บทที่ ๔
- ปรัชญาฤาษีโบราณ
- ปรัชญาสางขยะ
- ปรัชญานยายะ --ไวเศษิกะ
-ปรัชญาของฤาษีกับวิถีของพราหมณ์
บทที่ ๕
- ปรัชญาอาชีวกกับโลกายัต
- ปรัชญาอาชีวก
- ปรัชญาโลกายัต
บทที่ ๖
- ปรัชญานิครนถ์ (เชนยุคต้น)
- อณูกรรมกับโมกษะ
บทที่ ๗
- ปรัชญาพุทธยุคต้น
- "วิญญาณ" อมตะกับ "จิต" แบบพุทธ
- จิต กรรม และความพันทุกข์ (นิพพาน/นิรวาณ)
- ทัศนะเรื่องกรรมของพราหมณ์ เชน และพุทธ
ภาคสอง
บทที่ ๘
- สังคมอินเดียหลังพุทธกาล -- ทางสายกลางแบบพุทธ
- สภาพสังคมในยุคทองของพุทธศาสนา
- ทางสายกลางแบบพุทธศาสนา
- สภาพสังคมในยุคเสื่อมของพุทธศาสนา
บทที่ ๙
- ทางสายกลางแบบพราหมณ์
- ภควัทคีตากับคำสอนเรื่องกรรม
- ทางสายกลางแบบพราหมณ์
- กระบวนทัศน์แบบฮินดู
บทที่ ๑๐
- ทางสายกลางแบบเชน
- ทางสายกลางแบบเชน
บทที่ ๑๑
- บทสรุปแห่งทางสายกาลาง
บรรณานุกรม
ตัวย่อและการอ้างคัมภีร์พระไตรปิฎก
ดัชนีค้นคำ