เปิดโลกสุนทรีย์ในวิถีมนุษยศาสตร์
ISBN: 9786164860322
ผู้แต่ง : ถนอม ชาภักดี,ชาติชาย มุกสง,นันทนุช อุดมละมุล,สุรเชษ์ฐ สุขลาภกิจ : บรรณาธิการ
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : ศยาม
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2563
จำนวนหน้า : 384
การเปิดโลกสุนทรีย์ในวิถีมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา และการเมืองทำให้เห็นสภาวะปัญหาที่ทับถมอยู่ในโลกศิลปะของประเทศไทย และหมักหมมมานาน ที่ผ่านมามีนักวิชาการด้านศิลปะเพียงน้อยนิดที่ข้ามพรมแดนระหว่างศาสตร์เข้าไปตั้งคำถามและต่อรองความรู้ในพื้นที่ที่ศิลปะเปิดเผยออกมาแน่นอนว่าองค์ความรู้ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ต่างๆ เหล่านี้สร้างผลสะเทือนต่อสถานะความศักดิ์สิทธิ์ของความเป็นศิลปะอย่างแน่นอน เสมือนหนึ่งประติมารูปเคารพได้กลายเป็นรูปปั้นธรรมดาสามัญที่ตั้งอยู่กลางพื้นที่สาธารณะผู้คนสามารถมองสัมผัสได้ด้วยสุนทรียะและรสนิยมของตัวเอง พร้อมกับสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้
สารบัญ
คำนำจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
บทบรรณาธิการ
ศิลปะ สุนทรียะ
และสังคมวัฒนธรรมการเมือง
ถ้าศิลปะไม่เป็นการเมืองแล้วจะเป็นอะไรได้: สุนทรียะของความเป็นการเมืองในศิลปะร่วมสมัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- กษมาพร แสงสุระธรรม
ศิลปะสมัยใหม่ในประเทศอินโดนีเซีย: ทางสองแพร่งระหว่างสกุลศิลปะยอกยาการ์ตาและบันดุง
- ถนอม ชาภักดี
การศึกษาเรื่องเล่าจากความทรงจำในร้านน้ำชาพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อสร้่างสรรค์งานวิดีโออาร์ต
- อัยนา ภูยุทธานนท์
สถาปนิกเลือดน้ำเงินกับศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย: แนวคิดและบทบาทขงอสถาปนิกชั้นหม่อมเจ้าในช่วง พ.ศ. 2475-2505
- สิทธิธรรม โรหิตะสุข
เรื่องเล่า วัฒนธรรมสมัยนิยม
ความงามและคุณค่า
คริสตัลและคอนกรีต: สถาปัตยกรรมและอำนาจใน Notes from Underground ของ ฟีโอดอร์ ดอสโตเยฟสกี และ High Rise ของ เจ จี บัลลาร์ด
- สุริยาพร เอื่ยมวิจิตร์
สุนทรียะและสังคม: การวิจารณ์แนวนิเวศเพื่อการเรียนรู้สหวัฒนธรรม
- วศินรัฐ นวลศิริ
ทำไมภาษาชาววังจึงน่าขัน? พระราชนิพนธ์ ไออรีซึมทราบกับความคิดเรื่องภาษามาตรฐาน
- ดนัย พลอยพลาย
มองการปฏิวัติสยาม 2475 ผ่านเรื่องเล่าและผู้หญิงในละครโทรทัศน์
- เวฬุรีย์ เมธาวีวินิจ
Film Authorship in Digital Paratexts and Aesthetic Alliances from Below
- Wikanda Promkhuntong
ประวัติศาสตร์ อารมณ์ความรู้สึก
และการเมืองสุนทรียะ
สุนทรียภาพแห่งสงคราม: ภาพตัวแทนสงครามเวียดนามในภาพยนตร์ร่วมสมัยของไทย
- มนัส สังข์จันทร์ และ ทวีศักดิ์ เผือกสม
อาร์เอส สตาร์คลับ: ความคลั่งไคล้ศิลปินและชีวิตของวัยรุ่นในนิตยสาร อาร์เอส สตาร์ แม็กกาซีน พ.ศ. 2536-2547
- สุพลธัช เตชะบูรณะ
"ความสุข" ในบริบท "ความเศร้า": ว่าด้วยอารมณ์ในหนังสือแจกงานศพและสังคมท้องถิ่นใต้ ทศวรรษ 2460-2490
- พรชัย นาคสีทอง
เพศสัมพันธ์ในทรรศนะของแพทย์: ความหมายของการร่วมเพศในฐานะที่เป็นกิจกรรมเชิงสุนทรียะในงานเขียนของแพทย์ไทยช่วงทศวรรษ 1970
- ณภัค เสรีรักษ์
ประวัติและรายชื่อผู้เขียน