ทฤษฎีและวิธีวิทยาของการวิจัยวัฒนธรรม
ISBN: 9786164860247
ผู้แต่ง : อานันท์ กาญจนพันธุ์
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : ศยามปัญญา
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 3 มิถุนายน 2563
จำนวนหน้า : 288
"เมื่อปัญหาในการวิจัยทางวัฒนธรรมมีความซับซ้อนมากขึ้นความต้องการเปลี่ยนแปลงทั้งทางทฤษฎีและวิธีวิทยาในการวิจัยจึงจำเป็น โดยสามารถเริ่มต้นด้วยการทบทวนและวิพากษ์วิจารณ์ทฤษฎีอย่างมีสติให้มากขึ้น แต่ไม่ใช่เพื่อการแสวงหาคำตอบหรือหากรอบความคิดเช่นที่เคยทำกันมา ทว่าต้องมองทฤษฎีให้ทะลุออกไปในหลายๆ มิติ ทั้งในแง่ที่เป็นวิธีคิด (mode of thinking) เครื่องมือทางความคิดหรือเครื่องช่วยคิด (heuristic tools) และในแง่ของการตั้งประเด็นคำถามที่แตกต่างจากเดิม เพื่อให้เกิดมุมมองใหม่ที่ท้าทายอย่างหลากหลาย"
"การวิจัยทางสังคมศาสตร์มักเกี่ยวข้องกับผู้คนหลายฝ่ายนักวิจัยจึงควรให้ความสำคัญแก่กระบวนการมีส่วนร่วมในการวิจัยมากขึ้นด้วย ในทุกๆ ขั้นตอนของการวิจัย ทั้งในขั้นตอนของการคิดโจทย์วิจัย กระบวนการวิจัย และขั้นตอนการวิเคราะห์ซึ่งจะช่วยให้การวิจัยกลายเป็นพลังที่สร้างสรรค์องค์ความรู้และสติปัญญาในสังคม"
สารบัญ
คำนิยม
คำนำสำหรับการพิมพ์ครั้งที่ 3
บันทึกการนำเสนอผลงาน
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 ทฤษฎีและการวิจัยวัฒนธรรมในยุคหลังสมัยใหม่
บทที่ 3 การทะลุกรอบคิดของทฤษฎีและวิธีวิทยาของการทะลุกรอบคิด
บทที่ 4 วิธีวิทยาของวิธีคิดในการตั้งโจทย์วิจัย
บทที่ 5 วิธีคิดของคนไทย
บทที่ 6 การสร้างความคิดนามธรรมในวัฒนธรรมไทย
บทที่ 7 มองข้ามวัฒนธรรมในงานวิจัยภาคสนาม
บทที่ 8 วิธีวิทยาในการศึกษาคนชายขอบ
บทที่ 9 ปัญหาและทิศทางในการวิจัยชาวเขา
บทที่ 10 บทสรุป: พื้นที่และตัวตนของการวิจัย
บรรณานุกรม
ดัชนีค้นคำ