Kledthai.com

ตะกร้า 0

ใครเป็นซ้าย

ISBN: 9789743158759

ผู้แต่ง : สุรพงษ์ ชัยนาม

ผู้แปล : -

สำนักพิมพ์ : สยามปริทัศน์

ปีที่พิมพ์ : 2557

จำนวนหน้า : 237

ซีรี่ส์:
-
พร้อมส่ง
ISBN:
9789743158759
ราคาพิเศษ ฿207.00 ราคาปรกติ ฿230.00

บทความ 9 บทความที่นำมารวมกันเป็นหนังสือ ใครเป็นซ้าย เล่มนี้ของท่านทูตสุรพงษ์ ชัยนาม อาจแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรก รวม 6 บทความ เขียนขึ้นในช่วงเวลาที่อาจกล่าวได้ว่ามีเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เป็นจุดอ้างอิงหลัก บทความเหล่านี้ซึ่งว่าด้วยลัทธิมาร์กซ์อ่านไม่ง่ายนัก เพราะผู้อ่านควรต้องมีความเข้าใจพื้นฐานอยู่ก่อนแล้วพอสมควร จึงจะสามารถทำความเข้าใจได้ว่าผู้เขียนพยายามจะสื่ออะไร ส่วนอีก 3 บทความในกลุ่มที่สองที่เขียนขึ้นอีกร่วม 40 ปีต่อมา โดยมีการเมืองไทยในระบอบทักษิณเป็นจุดอ้างอิงหลัก บทความในชุดหลังนี้ซึ่งเน้นเรื่องพิษภัยของ "ประชาธิปไตย" อ่านไม่ยากเพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวอย่างยิ่ง

"ความกล้าหาญทางวิชาการ" ของผู้เขียน เพราะในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลานั้นความพยายามของผู้เขียนที่จะชี้ให้เห็นถึงความเป็นพลวัตของลัทธิมาร์กซ์ น่าจะเป็นอะไรที่มากกว่าผู้ซึ่งยึดถือลัทธิมาร์กซ์เป็นคัมภีร์ตายตัวในสังคมไทยขณะนั้นอาจจะยอมรับได้ แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตาม ผู้เขียนก็น่าจะเป็นนักวิชาการคนแรกๆ ที่ทำให้สังคมไทยได้รู้จักกับนักคิดอย่างอันโตนิโอ กรัมชี และเฮอร์เบิร์ต มาร์ฆูเซ (หนึ่งในสาม "M" ถัดจากมาร์กซ์ เหมา ที่นักศึกษาอเมริกันในยุคทศวรรษ 1970 นิยมอ้างเมื่อมีการประท้วงทางการเมือง)

บทความ 9 บทความที่นำมารวมกันเป็นหนังสือ ใครเป็นซ้าย เล่มนี้ของท่านทูตสุรพงษ์ ชัยนาม อาจแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรก รวม 6 บทความ เขียนขึ้นในช่วงเวลาที่อาจกล่าวได้ว่ามีเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เป็นจุดอ้างอิงหลัก บทความเหล่านี้ซึ่งว่าด้วยลัทธิมาร์กซ์อ่านไม่ง่ายนัก เพราะผู้อ่านควรต้องมีความเข้าใจพื้นฐานอยู่ก่อนแล้วพอสมควร จึงจะสามารถทำความเข้าใจได้ว่าผู้เขียนพยายามจะสื่ออะไร ส่วนอีก 3 บทความในกลุ่มที่สองที่เขียนขึ้นอีกร่วม 40 ปีต่อมา โดยมีการเมืองไทยในระบอบทักษิณเป็นจุดอ้างอิงหลัก บทความในชุดหลังนี้ซึ่งเน้นเรื่องพิษภัยของ "ประชาธิปไตย" อ่านไม่ยากเพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวอย่างยิ่ง

"ความกล้าหาญทางวิชาการ" ของผู้เขียน เพราะในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลานั้นความพยายามของผู้เขียนที่จะชี้ให้เห็นถึงความเป็นพลวัตของลัทธิมาร์กซ์ น่าจะเป็นอะไรที่มากกว่าผู้ซึ่งยึดถือลัทธิมาร์กซ์เป็นคัมภีร์ตายตัวในสังคมไทยขณะนั้นอาจจะยอมรับได้ แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตาม ผู้เขียนก็น่าจะเป็นนักวิชาการคนแรกๆ ที่ทำให้สังคมไทยได้รู้จักกับนักคิดอย่างอันโตนิโอ กรัมชี และเฮอร์เบิร์ต มาร์ฆูเซ (หนึ่งในสาม "M" ถัดจากมาร์กซ์ เหมา ที่นักศึกษาอเมริกันในยุคทศวรรษ 1970 นิยมอ้างเมื่อมีการประท้วงทางการเมือง)

เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง
คุณกำลังรีวิว:ใครเป็นซ้าย
คะแนนของคุณ