เจ้า พ่อค้า ชาวนา นายทุน และเครือข่ายธุรกิจ: การก่อตัวของกลุ่มทุนใหญ่ในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจล้านนา พิมพ์ครั้งที่ 2 (ปรับปรุงใหม่)
ISBN: 9786164860728
แปลจากหนังสือ : -
ผู้แต่ง : ชัยพงษ์ สำเนียง
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์ศยาม
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่สอง (ปรับปรุงใหม่) กรกฎาคม 2565
จำนวนหน้า : 368
หนังสือเล่มนี้เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจภาคเหนือ เพื่อที่จะทำความเข้าใจความเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจในภาพกว้าง เพื่อสะท้อนให้เห็นการพัฒนาที่มีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจในมิติต่างๆ ตลอดจนการสะสมทุนของกลุ่มทุนโดยสังเขป ความเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสังคมนี้ไม่เพียงสะท้อนให้เห็นถึงสัมพันธภาพเชิงอำนาจขององคาพยพต่างๆ ที่เปลี่ยนไป แต่ยังสะท้อนให้เห็น "การพัฒนา" หลกหลายรูปแบบ”
.“...การขยายเส้นทางรถไฟในทศวรรษที่ 2450 ก่อให้เกิดการขยายตัวของการผลิตเพื่อขาย นำมาสู่การสิ้นสุดลงของการค้าและการขนส่งทางเรือ รวมถึงการขยายโครงข่ายการคมนาคมทางบกได้ก่อให้เกิดการขยายตัวของเมือง อีกทั้งทำให้เกิดการขยายตัวของกลุ่มทุนในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ซึ่งการสะสมทุนที่เกิดขึ้นสัมพันธ์เชื่อมโยงกับอำนาจรัฐในห้วงเวลานั้น”
-ชัยพงษ์ สำเนียง
สารบัญ
คำนิยม โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
คำนำ
บทที่ 1 บทนำ: เริ่มแรกการสะสมทุน
บทที่ 2 เศรษฐกิจไร้พรมแดนกับพ่อค้าทางไกล
บทที่ 3 การก่อตัวของการผลิตเพื่อขายสู่ทุนนิยมชายขอบ
บทที่ 4 ทุนขุนนาง สัมปทาน นายหน้า และค่าเช่า
บทที่ 5 พ่อเลี้ยง ทุนเกษตร ทุนท่องเที่ยว ทุนการค้า และทุนชายแดน
บทที่ 6 ทุนใหม่ที่หลากหลายกับชาวนาผู้ประกอบการ
บทที่ 7 สรุป: ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจในความเคลื่อนไหว
บรรณานุกรม
ดัชนี
เรื่องเล่าและการเดินทาง