กามนิต วาสิฏฐี ฉบับสมบูรณ์
ISBN: 9789747033977
ผู้แต่ง : คาร์ล อดอล์ฟ เจลลิรูป
ผู้แปล : เสฐียรโกเศศ นาคะประทีป
สำนักพิมพ์ : ศยาม
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 8 มีนาคม 2552
จำนวนหน้า : 368
กามนิต เป็นหนังสือนวนิยายอันเกี่ยวด้วยพุทธศาสนาทางลัทธิมหายาน ดำเนินเรื่องโดยอาศัยพุทธประวัติและหลักธรรม ตลอดจนเรื่องราวในพระสูตรต่างๆ เป็นโครงเรื่อง สอดแทรกด้วยเรื่องในลัทธิศาสนาพราหมณ์และวรรณคดีอินเดีย
กามนิต เป็นงานที่เสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป แปลเรียบเรียงจากฉบับแปลภาษาอังกฤษของ จอห์น อี. โลจี (John E. Logie) เรื่อง The Pilgrim Kamanita (พ.ศ. ๒๔๕๔) โดยที่จอห์น อี. โลจี แปลอีกต่อหนึ่ง จากบทประพันธ์ภาษาเยอรมัน เรื่อง Der Pilger Kamanita (พ.ศ. ๒๔๔๙) ของ คาร์ล อดอล์ฟ เจลลิรูป (Karl Adolph Gjellerup) กวีและนักเขียนชาวเดนมาร์ก
ฉบับภาษาไทย จัดพิมพ์เป็นเล่มครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓
กามนิต เป็นหนังสือนวนิยายอันเกี่ยวด้วยพุทธศาสนาทางลัทธิมหายาน ดำเนินเรื่องโดยอาศัยพุทธประวัติและหลักธรรม ตลอดจนเรื่องราวในพระสูตรต่างๆ เป็นโครงเรื่อง สอดแทรกด้วยเรื่องในลัทธิศาสนาพราหมณ์และวรรณคดีอินเดีย
กามนิต เป็นงานที่เสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป แปลเรียบเรียงจากฉบับแปลภาษาอังกฤษของ จอห์น อี. โลจี (John E. Logie) เรื่อง The Pilgrim Kamanita (พ.ศ. ๒๔๕๔) โดยที่จอห์น อี. โลจี แปลอีกต่อหนึ่ง จากบทประพันธ์ภาษาเยอรมัน เรื่อง Der Pilger Kamanita (พ.ศ. ๒๔๔๙) ของ คาร์ล อดอล์ฟ เจลลิรูป (Karl Adolph Gjellerup) กวีและนักเขียนชาวเดนมาร์ก
ฉบับภาษาไทย จัดพิมพ์เป็นเล่มครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓
กามนิต-วาสิฏฐี ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็น ๑ ใน ๑๐๐ เล่ม หนังสือดีที่คนไทยควรอ่าน เป็นงานที่เสฐียรโกเศศ (พระยาอนุมานราชธน) และ นาคะประทีป (พระสารประเสริฐ) แปลและเรียบ เรียงจากฉบับแปลภาษาอังกฤษของจอห์น อี. โลจี (John E. Logie) เรื่อง The Pilgrim Kamanita (พ.ศ. ๒๔๕๔) โดยที่จอห์น อีโลจี แปลอีกต่อหนึ่งจากบทประพันธ์ภาษาเยอรมัน เรื่อง Der Pilger Kamanita (พ.ศ. ๒๔๔๙) ของคาร์ล อดอล์ฟ เจลลิรูป (Karl Adolph Gjellerup) กวีและนักเขียนชาวเดนมาร์ก ฉบับภาษาไทยจัดพิมพ์เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๔
ในระยะแรกมีการแปลเรื่องกามนิตออกมาเป็นตอนๆ ลงหนังสือพิมพ์ไทยเขษมรีวิว และมีการรวมเล่มในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ซึ่งผู้แปลชี้แจงว่าเพื่อมอบเป็นของขวัญแด่หลวงสรรสารกิจในโอกาสที่มีอายครบ ๓ รอบ ต่อมามีการพิมพ์ซ้ำอีกหลายครั้ง และในพ.ศ. ๒๕๐๓ ได้มีการนำ กามนิตภาคพื้นดินไปเป็นหนังสือแบบเรียนระดับมัธยมศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ โดยใช้ชื่อว่า “วาสิฏฐี”
โครงเรื่องของกามนิตแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ดังนี้
๑) โครงเรื่องภาคบนดิน มีความเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติและประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา โดยอาศัยเค้าโครงมาจากพุทธประวัติตอนปลาย ในช่วงที่พระพุทธเจ้าทรงปลงพระชนมายุสังขารจนถึงเสด็จปรินิพพาน เหตุการณ์เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาสุดท้ายที่กรุงราชคฤห์ เสด็จสู่แคว้นวัชชี ทรงจำพรรษาที่เมืองเวสาลี พร้อมทั้งทรงปลงพระชนมายุสังขาร จากนั้นเสด็จสู่เมืองกุสินาราอันเป็นสถานที่ปรินิพพาน ผู้แต่งได้กำหนดให้ตัวละครเข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลในพุทธ ประวัติ เช่น กามนิตผู้เป็นตัวละครเอกได้สนทนากับพระพุทธเจ้าขณะพักค้างแรมที่บ้านช่าง ปั้นหม้อ ณ กรุงราชคฤห์ อีกทั้งยังได้มีโอกาสพบกับคณะสงฆ์ที่เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า เป็นต้น
๒) โครงเรื่องภาคบนสวรรค์ เกิดจากจินตนาการของผู้แต่ง ประกอบกับข้อมูลทางศาสนา ทั้งพระพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ในเรื่องภพภูมิต่างๆ ซึ่งผู้แต่งได้
กำหนดให้ภายหลังจากที่ตัวละครเอก คือ กามนิตและวาสิฏฐีตาย ทั้งสอนคนได้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสวรรค์ชั้นต่าง ๆ จนกระทั่งเข้าสู่นิพพาน
ตัวละครในวรรณกรรมเรื่องกามนิตแบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ ตัวละครที่เป็นบุคคลจริงตามพุทธประวัติ และตัวละครที่เป็นบุคคลสมมติ
๑) ตัวละครที่เป็นบุคคลจริงตามพุทธประวัติ ได้แก่ พระพุทธเจ้า และพุทธสาวก เช่น พระอานนท์ พระสารีบุตร และองคุลีมาล เป็นต้น ทั้งนี้ผู้แต่งมิได้กำหนดให้บุคคลดังกล่าวมีพฤติกรรมตรงตามประวัติศาสตร์ทุก ประการ หากแต่มีการเพิ่มเติมหรือสับเปลี่ยนบทบาท เช่น บทบาทขององคุลีมาลที่มีเรื่องราวปรากฏในพระสูตรว่าเป็นโจรที่ได้รับการแสดง ธรรมจากพระพุทธเจ้าจนเกิดความสำนึกและบวชในพระพุทธศาสนา ภายหลังสำเร็จเป็นพระอรหันต์ สำหรับในวรรณกรรมเรื่องกามนิตได้มีการกล่าวถึงองคุลีมาลเช่นเดียวกัน เพียงแต่เพิ่มเติมบทบาทให้เป็นหัวหน้ากลุ่มโจรที่มีความเกี่ยวข้องกับตัว ละครเอกคือ กามนิตและวาสิฏฐี ภายหลังได้บวชในพระพุทธศาสนา
๒) ตัวละครสมมติ ได้แก่ ตัวละครเอก คือ กามนิต และวาสิฏฐี พร้อมทั้งบุคคลแวดล้อม เช่น วาชศรพ สาตาเคียร บิดา มารดา ตลอดจนเพื่อนๆ ของกามนิตและวาสิฏฐี ผู้แต่งได้กำหนดให้ตัวละครสมมติเหล่านี้เข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือ ตัวละครที่เป็นบุคคลจริงตามประวัติศาสตร์ เช่น บทบาทของกามนิตในตอน “ในห้องโถงช่างหม้อ” ที่ได้เค้าโครงมาจากเนื้อความในพระสูตรตอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดปุก กุสาติ ตามเหตุการณ์แม้ปุกกุสาติจะไม่เคยพบพระพุทธเจ้าแต่ก็สามารถระลึกได้ว่าบุคคล ที่ตนสนทนาด้วยคือพระพุทธเจ้า สำหรับในวรรณกรรมเรื่องกามนิตผู้แต่งกำหนดให้ กามนิตสนทนาธรรมกับพระพุทธเจ้าเช่นเดียวกับปุกกุสาติ เพียงแต่ไม่ทราบว่าผู้แสดงธรรมคือ พระพุทธเจ้า จึงเกิดความสงสัยในหลักธรรม
สารบัญ
ภาคหนึ่ง บนดิน
ภาคสอง บนสวรรค์ บนสวรรค์
ภาคผนวก