หิโตปเทศ (ปกรณัมอมตะแห่งบูรพา)
ISBN: 9789743159732
ผู้แต่ง : เสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป
ผู้แปล : เสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป
สำนักพิมพ์ : สยามปริทัศน์
ปีที่พิมพ์ : 2561
จำนวนหน้า : 304
นักปราชญ์ยุโรปผู้ชำนาญทางวรรณคดีพากย์อังกฤษลงสันนิษฐานว่าต้นรากของคัมภีร์นี้อิงอาศัยหลักในพุทธศษสน์เปนที่ตั้ง ต่อมามีผู้แก้ตัดเสริมตามอัตโนมัติ
พยานคือฉะบับภาษาเยอรมันยังใกล้เคียงกับฉะบับเดิมมากกว่าฉะบับสันสกฤตในเวลานี้.
(ฉะบับเยอรมันนั้นถ่ายจากภาษาลติน ในศตกะที่ ๑๕ ล.ค. ราว พ.ศ. ๒๑๐๐ ฉะบับภาษาลตินถ่ายจากฉะบับภาษาอาหรับๆ จากฉะบับภาษาสันสกฤต).
ฉะบับภาษาอาหรับได้มีแล้วในศตกะที่ ๙ ล.ค. (ราว พ.ศ. ๑๔๐๐), ต่อมาถ่ายเปนภาษาหิบรู(ยิว) และภาษากรีก,
จากนั้นจึงมีผู้แปลสู่ภาษายุโรปแพร่หลายไปเกือบทุกประเทศที่เจริญ, แต่ผู้ซึ่งถ่ายเปนภาษาอังกฤษให้ชื่อใหม่ว่า Pilpay's Fable = นิทานของปีลเป.
ว่าโดยเนื้อความ หิโตปเทศเปนสุภาษิตโบราณจับใจน่าอ่านกำหนด ; แม้เปนเรื่องซึ่งปรุงขึ้นครั้งสมัยดึกดำบรรพ์ แต่ก็มีข้อความที่เปรียบเทียบชักอ้างถูกแท้จริง
ฟังได้ทุกกาลทุกสมัย และไม่เฉพาะในประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงอาจเรียกได้ว่า สุภาษิตสบสมัย, เปนเรื่องที่ควรเปนสมบัติอันวิเศษของนักนีติคดีทั่วไป.
เสฐียรโกเศศ - นาคะประทีป
ตุลาคม ๒๔๖๔
หิโตปเทศ คือ นิทานสุภาษิตสอนใจโบราณของอินเดีย อิงอาศัยหลักศาสนาฮินดูและพุทธศาสนา มีต้นรากมาจากคัมภีร์ปัญจตันตระ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง แปลเป็นภาษาเก่าแก่ต่างๆ ได้แก่ สันสกฤต ละติน อาหรับ ฮิบรู กรีก และภาษายุโรปหลายชาติ เช่น เยอรมัน อังกฤษ ให้ความคิดแก่ผู้อ่านด้วยวิธีการเปรียบเทียบที่ยังคงนำมาใช้ได้จนปัจจุบัน แปลโดยนักปราชญ์ราชบัณฑิตคนสาคัญสองท่าน ซึ่งหนึ่งในนั้นยังได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสาคัญของโลกเมื่อปี ๒๕๓๑
สารบัญ
- วิทยาจารยะรำลึก
- สำนักพิมพ์แถลง
- คำแถลงสำนักพิมพ์
- แจ้งความ
- คำนำ
- บทนำ
- การผูกมิตร
- การแตกมิตร
- การสงคราม
- ความสงบ