พระพุทธเจ้าสอนกรรมฐาน
ISBN: 9786169337720
ผู้แต่ง : อาจารย์ไชย ณ พล
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : Mind
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2562
จำนวนหน้า : 270
ปัจจุบัน การฝึกกรรมฐานเป็นที่นิยมแพร่หลายในทุกวงการทั่วโลก เพราะทุกฝ่ายได้ประจักษ์แล้วว่า การปฏิบัติกรรมฐานเป็นแบบการพัฒนาตนที่ให้ประโยชน์สูงแก่ชีวิต ทั้งทางด้านความมั่นคง พลังอำนาจ ความสุข ปัญญาญาณ และการสร้างสรรค์ การปฏิบัติกรรมฐานจึงกลายเป็นค่านิยมของสังคมสมัยใหม่
ในบรรดาวิธีการฝึกกรรมฐานทั้งหลายในโลก แบบการฝึกที่เป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับว่าได้ช่วยสร้างสรรค์ผลอันดีงามคือการฝึกแบบฮินดู เต๋า พุทธ ซึ่งการฝึกทั้งสามแบบนี้มีลักษณะร่วมกันอยู่มากประการ
อาทิเช่น ศาสนาฮินดู เน้นการฝึกพรหมวิหาร อันได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เพื่อพัฒนาเข้าสู่่ภาวะอรูปแห่งจิตอันแยกจากกาย เพราะฮินดูมีคติสูงสุดคือพรหมัน อันเชื่อว่าคือจิตสากลที่ยิ่งใหญ่ ในขณะที่เต๋าปฏิเสธความมีรูปแบบแห่งความหมายในสรรพสิ่ง มุ่งเข้าสู่ความไร้อันไม่มีขอบเขตจำกัด
สำหรับพุทธ มีการฝึกพรหมวิหาร รูปฌาน และอรูปฌานเช่นกัน แต่พุทธยังพัฒนาไปถึงการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ มีความเป็นอิสระเหนื่อสิ่งทั้งปวง ไม่ยึดถือแม้ภาวะที่มีรูปแบบ และภาวะที่ไร้รูปแบบ จะเห็นได้ว่าการฝึกกรรมฐานแบบพุทธเป็นการพัฒนาที่ครอบคลุมศษสนาอื่นๆ ที่ดีงามไว้ครบถ้วน และพัฒนาได้ยิ่งกว่า
ดังนั้น พุทธศาสนาจึงได้รับความสนใจจากปัญญาชนทั่วโลกและกำลังแพร่หลายอย่างรวดเร็ว มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกเช่น มหาวิทยาลัยฮาว์วาร์ด,มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด,มหาวิทยาลัยเยล,มหาวิทยาลัยฮาวาย,มหาวิทยาลัยเปเรเดนย่า,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอื่นๆ อีกมากมาย ล้วนมีภาควิชาพุทธศาสนาเพื่อสอนความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับศาสนาพุทธทั้งสิ้น
ในขณะที่ศาสนาพุทธกำลังเป็นที่เลื่อมใสอย่างกว้างขวางและมีผู้สอนพุทธศาสน์กันอย่างมากมายนี้เอง จึงทำให้ลักษณะคำสอนที่ปรากฏแก่ประชาชนทั่วไปมีหลากๆ กัน เพราะคณาจารย์แต่ละท่านก็จะสอนไปตามความคิดเห็น ความเข้าใจ และประสบการณ์ของตนเองซึ่งบางประเด็นก็สอดคล้องกัน บางประเด็นก็มีความเห็นแตกต่างกันและบางประเด็นก็ขัดแย้งกันอย่างชัดเจน จนเป็นเหตุให้ประชาชนทั่วไปเกิดความสงสัยและสับสน
ผู้รวบรวมจึงได้ดำริโครงการค้นคว้าวิจัยพระไตรปิฎกขึ้น เพื่อศึกษาและถ่ายทอดคำสอนอันเป็นธรรมะบริสุทธิ์จากพระพุทธองค์โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านการตีความตามความคิดเห็นของผู้ใด
ผู้ศึกษาทุกท่านจะได้มีโอกาสพิจารณาธรรมด้วยวิจารณญาณของท่านเอง เพราะท่านย่อมพิจารณาธรรมได้ตามระดับสติปัญญาแห่งพัฒนาการของท่าน ซึ่งจะเหมาะสมกับตัวท่านมากที่สุด
ปัจจุบัน การฝึกกรรมฐานเป็นที่นิยมแพร่หลายในทุกวงการทั่วโลก เพราะทุกฝ่ายได้ประจักษ์แล้วว่า การปฏิบัติกรรมฐานเป็นแบบการพัฒนาตนที่ให้ประโยชน์สูงแก่ชีวิต ทั้งทางด้านความมั่นคง พลังอำนาจ ความสุข ปัญญาญาณ และการสร้างสรรค์ การปฏิบัติกรรมฐานจึงกลายเป็นค่านิยมของสังคมสมัยใหม่
ในบรรดาวิธีการฝึกกรรมฐานทั้งหลายในโลก แบบการฝึกที่เป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับว่าได้ช่วยสร้างสรรค์ผลอันดีงามคือการฝึกแบบฮินดู เต๋า พุทธ ซึ่งการฝึกทั้งสามแบบนี้มีลักษณะร่วมกันอยู่มากประการ
อาทิเช่น ศาสนาฮินดู เน้นการฝึกพรหมวิหาร อันได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เพื่อพัฒนาเข้าสู่่ภาวะอรูปแห่งจิตอันแยกจากกาย เพราะฮินดูมีคติสูงสุดคือพรหมัน อันเชื่อว่าคือจิตสากลที่ยิ่งใหญ่ ในขณะที่เต๋าปฏิเสธความมีรูปแบบแห่งความหมายในสรรพสิ่ง มุ่งเข้าสู่ความไร้อันไม่มีขอบเขตจำกัด
สำหรับพุทธ มีการฝึกพรหมวิหาร รูปฌาน และอรูปฌานเช่นกัน แต่พุทธยังพัฒนาไปถึงการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ มีความเป็นอิสระเหนื่อสิ่งทั้งปวง ไม่ยึดถือแม้ภาวะที่มีรูปแบบ และภาวะที่ไร้รูปแบบ จะเห็นได้ว่าการฝึกกรรมฐานแบบพุทธเป็นการพัฒนาที่ครอบคลุมศษสนาอื่นๆ ที่ดีงามไว้ครบถ้วน และพัฒนาได้ยิ่งกว่า
ดังนั้น พุทธศาสนาจึงได้รับความสนใจจากปัญญาชนทั่วโลกและกำลังแพร่หลายอย่างรวดเร็ว มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกเช่น มหาวิทยาลัยฮาว์วาร์ด,มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด,มหาวิทยาลัยเยล,มหาวิทยาลัยฮาวาย,มหาวิทยาลัยเปเรเดนย่า,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอื่นๆ อีกมากมาย ล้วนมีภาควิชาพุทธศาสนาเพื่อสอนความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับศาสนาพุทธทั้งสิ้น
ในขณะที่ศาสนาพุทธกำลังเป็นที่เลื่อมใสอย่างกว้างขวางและมีผู้สอนพุทธศาสน์กันอย่างมากมายนี้เอง จึงทำให้ลักษณะคำสอนที่ปรากฏแก่ประชาชนทั่วไปมีหลากๆ กัน เพราะคณาจารย์แต่ละท่านก็จะสอนไปตามความคิดเห็น ความเข้าใจ และประสบการณ์ของตนเองซึ่งบางประเด็นก็สอดคล้องกัน บางประเด็นก็มีความเห็นแตกต่างกันและบางประเด็นก็ขัดแย้งกันอย่างชัดเจน จนเป็นเหตุให้ประชาชนทั่วไปเกิดความสงสัยและสับสน
ผู้รวบรวมจึงได้ดำริโครงการค้นคว้าวิจัยพระไตรปิฎกขึ้น เพื่อศึกษาและถ่ายทอดคำสอนอันเป็นธรรมะบริสุทธิ์จากพระพุทธองค์โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านการตีความตามความคิดเห็นของผู้ใด
ผู้ศึกษาทุกท่านจะได้มีโอกาสพิจารณาธรรมด้วยวิจารณญาณของท่านเอง เพราะท่านย่อมพิจารณาธรรมได้ตามระดับสติปัญญาแห่งพัฒนาการของท่าน ซึ่งจะเหมาะสมกับตัวท่านมากที่สุด