เผชิญความจริง
ISBN: 9786168104033
แปลจากหนังสือ : FACING FACT AS FACT
ผู้แต่ง : จ. กฤษณมูรติ
ผู้แปล : หิ่งห้อย ณ ภูเขา
สำนักพิมพ์ : มูลนิธิอันวีกษณา
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2 กันยายน 2563
จำนวนหน้า : 216
ความคิดและผู้คิดเป็นหนึ่งเดียวกัน แต่ความคิดสร้างผู้คิดขึ้น ถ้าไม่มีความคิดก็ย่อมไม่มีผู้คิดเราจึงต้องรับรู้ถึงกระบวนของอิทธิพลกำหนดซึ่งคือความคิด เมื่อมีการรับรู้กระบวนการนั้นโดยปราศจากการเลือก เมื่อไม่มีความรู้สึกต่อต้านเมื่อไม่มีทั้งการตำหนิและการให้เหตุผลแก้ต่างสิ่งที่สังเกต เราจะเห็นว่าจิตเป็นศูนย์กลางของความขัดแย้ง ในการเข้าใจจิตและวิถีแห่งจิตทั้งส่วนจิตสำนึกรู้และจิตใต้สำนึก เข้าใจโดยผ่าน ความฝัน ผ่านทุกถ้อยคำ ทุกกระบวนการของความคิดและการกระทำ จิตจะเงียบเป็นพิเศษความเงียบสงบเช่นนั้นของจิตเป็นการเริ่มต้นของปรีชาญาณ ซึ่งไม่อาจหาซื้อได้ ไม่อาจเรียนรู้ได้มันอุบัติขึ้นเมื่อจิตเงียบและนิ่งถึงที่สุดเท่านั้นไม่ใช่การทำให้นิ่งเงียบด้วยการบีบบังคับด้วยการขู่เข็ญหรือใช้กฎวินัย เมื่อจิตเงีบบลงอย่างเป็นธรรมชาติเท่านั้น จึงเป็นไปได้ที่จะเข้าใจสภาวะซึ่งพ้นไปจากกาลเวลา
Thought and the thinker are one,but it is thought that creates the thinker,and without thought there is on thinder.So,one has to be aware of the process of conditioning, which is thought;and, when there is awareness of that process without choice,when there is no sense of resistance,when there is neither condemnation nor justificantion of what is obeserved,then we see that the mind is the center of conflict,In understanding the mind and the ways of the mind,the conscious as well as the unconscious,through dreams,through every word,through every process of thought and action,the mind becomes extroardinarily quiet;and that tranquillity of the mind is the beginning of wisdom,Wisdom cannot be bought,it cannot be learned;it comes into being only when the mind is quiet,utterly still--not made still by compulsion,coercion,or discipline.Only when the mind is spontaneously silent is it possible to understand that which is beyond time.
สารบัญ
บันทึกจากผู้รวบรวม
จากสำนักพิมพ์
คำปรารภจากผู้แปล
บทนำ: เสมือนเพื่อนสองคนสนทนาถึงเรื่องต่างๆ ร่วมกัน...
1. ภาพรวม
2.ธรรมชาติของสภาวะรับรู้โดยไร้การเลือก
2.1 สภาวะรับรู้คืออะไร
2.2 การแบ่งแยกระหว่างผู้สังเกตกับสิ่งที่ถูกสังเกต
3. การทำความเข้าใจความเป็นตัวตน
3.1 การเรียนรู้ที่แตกต่าง
3.2 ตัวตนและบทบาทของตัวตน
ภาคผนวก
ผู้เห็นแจ้งที่ก้าวไปเพียงลำพัง
ทรัพย์อันศักดิ์สิทธิ์: แล้วคุณจะทำอะไรกับมัน