อธิบายมิลินทปัญหา (ปกแข็ง)
ISBN: 9786167175195
ผู้แต่ง : วศิน อินทสระ
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : ธรรมดา
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 5 พฤษภาคม 2564
จำนวนหน้า : 339
"มิลินทปัญหา" นับว่าเป็นปุจฉาวิสัชชนาอันแสดงถึงความเลอเลิศทางปัญญาครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดหลังพุทธปรินิพพาน (ราว ๔๐๐-๕๐๐ ปี) ระหว่างมหาปราชญ์แห่งยุค ๒ ท่าน
ลักษณะพิเศษที่ทำให้ "มิลินทปัญหา" มีความโดดเด่นจากตำราทางพุทธศาสนาเล่มอื่น คือ กลวิธีในการแจกแจงแสดงธรรมที่ใช้เป็นแนวทางหลักคือ การใช้ปฏิปุจฉาลักษณะ โดยการย้อนถาม-ตอบกันไปมา และการใช้อุปมาลักษณะ คืออธิบายโดยใช้การเปรียบเทียบ ซึ่งพระนาคเสนเถระใช้ในการโต้ตอบปัญหากับพระเจ้ามิลินท์ ทำให้เรื่องที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยากเข้าใจได้ยาก กลับแจ่มแจ้งชัดเจนอย่างหมดข้อสงสัยใดๆ
พระนาคเสนเถระ ตอบปัญหาพระยามิลินท์ด้วยความฉลาดรอบรู้และแหลมคม มีอุปมาอุปไมอันเหมาะเจาะหาที่เปรียบได้ยากเกียรติคุณของท่านระบือไปทั่วโลก (มิลินทปัญหาฉบับภาษาอังกฤษก็มีชาวต่างประเทศผู้สนใจพระพุทธศษสนาคงรู้จักหนังสือเล่มนี้ดี)
แนวอธิบายของข้าพเจ้าอาศัยพระพุทธมติเป็นหลัก และมิได้ขัดแย้งคำอธิบายของพระนาคเสนแต่ประการใดเลย คงอาศัยแนวของท่าน และอธิบายให้ละเอียดยิ่งขึ้นด้วยสำนวนและภาษาปัจจุบัน
พระนาคเสนเถระเป็นพระอรหันต์ ถึงพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา คือ ความแตกฉานในอรรถ ในธรรม ในภาษา และในปฏิภาณ คำตอบของท่านต่อพระยามิลินท์ จึงน่าทึ่งเป็นอันมาก ผู้สนใจพระพุทธศาสนาควรได้อ่านหนังสือเล่มนี้เป็นอย่างยิ่ง
สารบัญ
คำอนุโมทนา
คำนำสำนักพิมกพ์
คำนำในการพิมพ์ครั้งที่ ๑
เริ่มเรื่องความเป็นมาของมิลินทปัญหา
วรรคที่ ๑
ความย่อวรรคที่ ๑
อธิบายวรรคที่ ๑ (๑-๔)
๑.อาการ ๓๒
๒.ขันธ์ ๕ ธาตุ ๖
๓.นามรูป
๔.ปรมัตถ์
ความย่อวรรคที่ ๑ (ต่อ)
อธิบายวรรคที่ ๑ (๕-๘)
๕.การนับอายุว่ากี่วัน กี่เดือน กี่ปี
๖.อนุปาทาปรินิพพาน (การดับกิเลสโดยไม่มีเชื้อเหลือ)
๗.การบรรพชานี้เพื่อประโยชน์แห่งความสิ้นกิเลส
๘.การปฏิสันธิกับการเกิดใหม่
ฯลฯ
วรรคที่ ๒
อธิบายวรรคที่ ๒ (๑๖-๑๗)
๑๖.นิยาม ๕
๑๗.เรื่องปฏิสนธิและไม่ปฏิสนธิ
ความย่อวรรคที่ ๒ (ต่อ)
อธิบายวรรคที่ ๒ (๑๘-๒๐)
๑๘.ญาณกับปัญญาและญาณกับโมหะ
๑๙.พระอรหันต์ยังต้องเสวยทุกขเวทนาทางกายแต่ไม่เสวยทุกขเวทนาทางจิต
๒๐.เพราะเหตุไรพระอรหันต์จึงไม่ทำลายชีวิตเสีย
ฯลฯ
วรรคที่ ๓
ความย่อวรรคที่ ๓
อธิบายวรรคที่ ๓ (๒๓-๒๕)
๒๓.เงื่อนต้นแห่งกาลไกล (สังสารวัฏ)
๒๔.ปัญหาเรื่องปัญจวิญญาณกับมโนวิญญาณ
๒๕.มโนวิญญาณากับเวทนา..เป็นต้น
วรรคที่ ๔
วรรคที่ ๕
วรรคที่ ๖
วรรคที่ ๗
ภาคผนวก
อนมตัคคสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑
อนมตัคคสังยุตต์ ทุติยวรรคที่ ๒
ท้ายเล่ม ลิงติดตัง