เปรียบเทียบการปฏิรูปศาสนาคริสต์ - พุทธ และสังคมโลกวิสัย
ISBN: 9786164860506
ผู้แต่ง : สุรพศ ทวีศักดิ์
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : สยามปริทัศน์
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2564
จำนวนหน้า : 312
การที่มหาเถรสมาคมซึ่งเป็นศาสนจักรของรัฐมีมติให้พระสงฆ์ทุกวัดทั่วประเทศเทศนาสอนประชาชนให้รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ขณะที่มีมติและคำสั่งห้ามภิกษุสามเณรจัดอภิปราย เสวนา แสดงความเห็นหรือร่วมชุมนุมสนับสนุนการต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยของประชาชน นี่เป็นข้อเท็จจริงที่แสดงว่าพระเณรไม่มีเสรีภาพทางศาสนาใช่หรือไม่ เพราะ “เสรีภาพ” (freedom) หมายถึง “เลือกได้” เช่น เลือกได้ว่าจะตีความพุทธธรรมสนับสนุนความรักชาติ ศาศน์ กษัตริย์ก็ได้ จะตีความพุทธธรรมสนับสนุนการต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยก็ได้เป็นต้น ดังนั้น ถ้าพระเณรมีเสรีภาพทางศาสนาจริง ก็ต้องเลือกตีความพุทธธรรมสนับสนุนอุดมการณ์ชาติ ศาศน์ กษัตริย์ และอุดมการณ์ประชาธิปไตยได้อย่างเท่าเทียมกัน
ปัญหาว่าพระเณรมีเสรีภาพทางศาสนา จริงหรือไม่ ?
เป็นปัญหาสำคัญพอๆกับปัญหาว่านักการเมือง มีเสรีภาพทางการเมืองหรือไม่ ?
ซึ่งชัดเจนว่าในบ้านเรานักการเมืองไม่ได้มีเสรีภาพอย่างแท้จริงเพราะไม่สามารถอภิปรายประเด็นปัญหาสถาบันกษัตริย์กับประชาธิปไตยในสภาได้อย่างตรงไปตรงมา เพียงแค่นักการเมืองพูดพาดพิงสถาบันกษัตริย์เฉียดๆ ก็ถูกประท้วง กระทั่งถูกแจ้งความเอาผิดตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 112
(ข้อมูลจากในเล่ม)
สารบัญ
คำนำผู้เขียน
บทนำ ทำไมจึงเปรียบเทียบศาสนาคริสต์ - พุทธ
บทที่ 2 ปรัชญาการเมืองแบบพุทธและรัฐพุทธศาสนา
บทที่ 3 การปฏิรูปพุทธศาสนาในสมัยรัชกาลที่ ๔-๕ กับคุณค่า
ของพุทธศาสนาของรัฐและสังคมไทยสมัยใหม่
บทที่ 4 อภิปรายปัญหาและเสนอแนวทางปฏิรูปพุทธศาสนา
(ปัญหาของพุทธศาสนาสมบูรณญาสิทธิราชย์)
บทที่ 5 อภิปรายปัญหาและเสนอแนวทางปฏิรูปพุทธศาสนา (ต่อ)
(ข้อเสนอการปฏิรูปพุทธศาสนาของฝ่ายอนุรักษ์นิยมและฝ่ายเสรีนิยม)
บทที่ 6 บทสรุปและข้อเสนอแนะ (สร้างวัฒนธรรมเคารพเสรีภาพที่เท่าเทียมในการรณรงค์ปฏิรูปพุทธศาสนา)
บรรณานุกรม