เอ็นเนียแกรม ศาสตร์เพื่อความเข้าใจตนเองฯ THE ENNEAGRAM (พิมพ์ครั้งที่ 6)
ISBN: 9786164830370
แปลจากหนังสือ : THE ENNEAGRAM
ผู้แต่ง : เฮเลน พาล์มเมอร์ (Helen Palmer)
ผู้แปล : วาจาสิทธิ์ ลอเสรีวานิช
สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง
ปีที่พิมพ์ : 2023
เอ็นเนียแกรม THE ENNEAGRAM (พิมพ์ครั้งที่ 6)
เฮเลน พาล์มเมอร์ (Helen Palmer) เขียน
วาจาสิทธิ์ ลอเสรีวานิช แปล
9786164830370
650 บาท
608 หน้า
สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง
พิมพ์ครั้งที่ 6 สิงหาคม 2566
เอ็นเนียแกรม : ศาสตร์เพื่อความเข้าใจตนเองและผู้อื่น
THE ENNEAGRAM: Understanding Yourself and the Others in Your Life
เฮเลน พาล์มเมอร์ (Helen Palmer) เขียน
วาจาสิทธิ์ ลอเสรีวานิช แปล
พิมพ์ครั้งที่ 6 สิงหาคม 2566
.
ผมเชื้อว่า เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ จะไม่เพียงแต่ช่วยให้ผู้อ่านจำนวนมากได้รู้จักลักษร์ของตนเอง แต่ยังช่วยให้สามารถก้าวพ้นไปจากข้อจำกัดของลักษณ์นั้นได้ด้วย เอ็นเนียแกรมไม่ได้เป็นวิธีเดียวที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาตนเองได้ แต่ก็เป็นวิธีที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งวิธีหนึ่ง แม่จะยังไม่สมบูรณ์แบบในแง่ที่เป็น ระบบความรู้ เพราะยังต้องมีการวิจัยเชิงประจักษ์เพื่อพัฒนาให้ดีขึ้นดังที่พาล์มเมอร์กล่าวไว้ แต่มันก็เป็นความรู้ที่มีประโยชน์และใช้ได้ผลในทางปฏิบัติ
-ดอกเตอร์ ชาร์ลส์ ที ทาร์ต
ศาสตราจารย์ทางจิตวิทยา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส
.
ทำไมความเข้าใจในตนจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาตนเอง คำตอบคือ ตัวตนที่ด้านหนึ่งเป็นเหมือนเกราะที่ช่วยปกป้องจิตใจอันเปราะบางของเรานั้น อีกด้านหนึ่งกลับเป็นอุปสรรคของการก้าวไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่แท้ของเรา และเป็นที่มาของความทุกข์ที่ไม่จำเป็นที่เราสร้างขึ้นทั้งกับตัวเองและผู้อื่น หลายคนอาจมีประสบการณ์เหมือนกับผู้แปล คือ พยายามพัฒนาตนเองด้วยหลักการ หรือแนวคิดจากหนังสือ หรือการเข้าอบรมหลักสูตรต่างๆ แต่หลังจากนั้นแล้วก็เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ใช่หรือไม่ว่า ตัวตนของเรานั่นเองที่ขวางกั้นไม่ให้เราเปลี่ยนไปจากเดิมได้มากนัก ใช่หรือไม่ว่า เรามีชีวิตอยู่กับความคิด ความรู้สึก และการกระทำตามแบบแผนของเราอย่างมากจนเราไม่สามารถเรียนรู้พฤติกรรมใหม่ๆ หรือเปลี่ยนแปลงตนเองให้พ้นไปจากนิสัยเดิมๆ ได้โดยง่าย
.
หนังสือเล่มนี้ให้แนวทางในการมองเห็นและเข้าใจว่า ตัวตนที่เป็นไปตามลักษณ์แต่ละแบบนั้นเป็นข้อจำกัด และอุปสรรคในการพัฒนาตัวเราอย่างไร ประสบการณ์ร่วมกันของผู้ศึกษาศาสตร์นี้คือ เมื่อเราเห็นข้อจำกัดเหล่านั้นแล้ว เราจะเกิดแรงจูงใจในตนเองที่ไม่อยากจะอยู่ในความคับแคบของตัวตนนี้ เราจะเกิดความต้องการโดยธรรมชาติท่จะเปลี่ยนแปลงตนเองให้ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้น สิ่งนี้เป็นสัญชาตญาณทางจิตวิญญาณที่อยู่ลึกลงไปในตัวมนุษย์ทุกคน
-วาจาสิทธิ์ ลอเสรีวานิช ผู้แปล
.
คำนำผู้แปล
คำปรารภ โดยสันติโรภิกขุ
คำนำภาษาอังกฤษ
ภาคที่ 1 บทแนะนำเอ็นเนียแกรม
บทที่ 1 ประวัติความเป็นมาและบทแนะนำเรื่องลักษณ์
บทที่ 2 การใส่ใจ ญาณสังหรณ์ และลักษณ์
บทที่ 3 โครงสร้างของรูปเอ็นเนียแกรม
บทที่ 4 ผู้มีบทบาทในการพัฒนาเอ็นเนียแกรม
.
ภาคที่ 2 ลักษณ์ทั้งเก้าในเอ็นเนียแกรม
บทที่ 5 บทแนะนำลักษณ์ต่างๆ
บทที่ 6 ลักษณ์หนึ่ง:คนสมบูรณ์แบบ (The Perfectionist)
บทที่ 7 ลักษณ์สอง: ผู้ให้ (The Giver)
บทที่ 8 ลักษณ์สาม: นักแสดง (The Performer)
บทที่ 9 ลักษณ์สี่ : คนโศกซึ้ง (The Tragic Romantic)
บทที่ 10 ลักษณ์ห้า : นักสังเกตการณ์ (The Observer)
บทที่ 11 ลักษณ์หก : นักปุจฉา (The Devil’s Advocate)
บทที่ 12 ลักษณ์เจ็ด : นักลิ้มชิมรส (The Epicure)
บทที่ 13 ลักษณ์แปด :เจ้านาย (The Boss)
บทที่ 14 ลักษณ์เก้า :นักไกล่เกลี่ย (The Mediator)
บรรณานุกรม
ภาคผนวก : คำอธิบายศัพท์
เกี่ยวกับผู้แปล