นพลักษณ์ แผนที่เข้าถึงคนเข้าถึงตน (ฉบับปรับปรุง พิมพ์ครั้งที่ 3)
ISBN: 9786164830363
ผู้แต่ง : Karen Webb
ผู้แปล : สันติกโร,จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ, สุมนา พิศลยบุตร, ถวัลย์ เนียมทรัพย์
สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง
ปีที่พิมพ์ : 2566
จำนวนหน้า : 252
นพลักษณ์ แผนที่เข้าถึงคนเข้าถึงตน
PRINCIPLES OF THE ENNEAGRAM
เขียนโดย คาร์เรน เวบบ์ (Karen Webb)
แปลโดย สันติกโร,จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ, สุมนา พิศลยบุตร, ถวัลย์ เนียมทรัพย์
9786164830363
280 บาท
256 หน้า
สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง
พิมพ์ครั้งที่ 3 (ฉบับปรับปรุง) กรกฎาคม 2566
นพลักษณ์ แผนที่เข้าถึงคนเข้าถึงตน (ฉบับปรับปรุง)
Principles of The Enneagram
เขียนโดย คาร์เรน เวบบ์ (Karen Webb)
แปลโดย สันติกโร,จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ, สุมนา พิศลยบุตร, ถวัลย์ เนียมทรัพย์
สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง พิมพ์ครั้งที่ 3 กรกฎาคม 2566
.
เราทุกคนมีความพิเศษเฉพาะตัว นพลักษณ์บอกเล่าถึงบุคลิก 9 แบบที่ไม่มีแบบไหนดี - เลวไปกว่ากัน ต่างแบบต่างกันไปตามเหตุตามพื้นเดิมที่จะตอบสนองต่อโลกภายนอก และแต่ละคนก็มีความเฉพาะของตนบุคลิกภาพของเรานั้นประกอบด้วย ประสบการณ์ ความทรงจำ ความใฝ่ฝัน แรงบันดาลใจ และพฤติกรรมที่เราตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นตัวของเราเองที่ไม่ซ้ำแบบใคร อย่างไรก็ตาม บุคลิกเฉพาะของเรานั้น ก็ยังสังเคราะห์ลงในลักษณ์ใดลักษณ์หนึ่งที่เราสามารถมองเห็นได้
.
หนังสือของ “คาร์เรน เวบบ์” (Karen Webb) ใช้ภาษาค่อนข้างง่ายและไม่ยืดเยื้อ อธิบายทฤษฎี “นพลักษณ์” (Enneagram) พื้นฐาน ลักษณะของคนแต่ละประเภทอย่างชัดเจน จึงเห็นว่าเหมาะสมที่จะจัดทำเป็นเอกสารประกอบการศึกษานพลักษณ์ในประเทศไทย
.
เนื่องจาก "นพลักษณ์" มุ่งศึกษาเบื้องลึกของคนแต่ละคนจึงเป็นสิ่งละเอียดลออ ประณีต สุขุม เป็นศาสตร์ที่ควรจะนำมาใช้อย่างระมัดระวังเหมือนการใช้ใบมีดโกนหรือการเดินผ่านดงหญ้าคา ถ้าผู้อ่านศึกษาอย่างระมัดระวัง อดทน และล้ำลึก ทีมเราแน่ใจว่าท่านจะได้พบความรู้ที่มีประโยชน์มหาศาล คือความเข้าใจตนเอง แต่ถ้าอยากรู้เพียงฉาบฉวย ไม่จริงจัง ไม่ต่อเนื่อง ก็อาจทำให้ท่านเข้าตนเองผิดไป การอ่านหนังสือเล่มนี้ก็เพียงช่วยสันนิษฐานลักษณ์ (ประเภท) ของตนเท่านั้น อย่าได้หมายมั่นว่าตนเป็นลักษณ์นั้นลักษณ์นี้ ควรจะต้องศึกษาให้ลึกซื้งมากขึ้น มองตนเองเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งด้านอารมณ์ วิธีคิด นิสัยใจคอ และจุดที่มักมุ่งสนใจในชีวิตประจำวัน และหากมีเพื่อนที่สนใจชีวิตด้านนั้นก็อาจขอคำแนะนำจากเพื่อนด้วย ถ้าเราใช้เวลาศึกษาอย่างพอเพียง ระมัดระวัง และตั้งสติในทุกเมื่อ ก็จะทำให้เราแจ่มชัดในประเภทของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนบังเกิดความมั่นใจ บางท่านอาจได้ยินว่า มีแบบทดสอบในการช่วยจัดลักษณ์ของตน หากสนใจก็อาจลองทำดูได้ แต่ต้องระลึกว่า แบบทดสอบนี้มีประสิทธิภาพเพียงร้อยละ 80 แบบทดสอบเพียงช่วยให้เราจับประเภทของเราได้ แต่ไม่สามารถช่วยให้เราสงบเฝ้าดูตนเองอย่างถ่องแท้ แม้แต่คำแนะนำต่างๆ จากคนที่มีประสบการณ์กับ "นพลักษณ์" เราก็ไม่ควรยอมรับในทันที ถ้าคนอื่นมาช่วยจัดประเภทให้เรา ไม่ว่าจะด้วยความหวังดีหรือไม่ก็ตามก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร ตราบจนกว่าตัวเราเองรู้จักตนเอง ศึกษาและจัดลักษณ์ของตนเองได้อย่างลึกซึ้งเท่านั้น ประโยชน์และปีติจึงจะบังเกิดขึ้นในใจ
.
สารบัญ
คำนำสำนักพิมพ์
อารัมภบทการพิมพ์ครั้งที่ 1 และ 2 จากใจทีมนพลักษณ์
คำนำจากผู้แปลในการพิมพ์ครั้งที่ 3
กิตติกรรมประกาศ
บทเกริ่นนำ
คำนำในการพิมพ์ครั้งที่ 2
บทนำ ทำไมต้องศึกษานพลักษณ์
บทที่ 1 นพลักษณ์ทำงานอย่างไร
บทที่ 2 คน 1: คนเนี้ยบ (The Perfectionist)
บทที่ 3 คน 2: ผู้ให้ (The Giver)
บทที่ 4 คน 3: นักแสดง (The Performer)
บทที่ 5 คน 4: คนโศกซึ้ง (The Romantic)
บทที่ 6 คน 5: นักสังเกตการณ์ (The Observer)
บทที่ 7 คน 6: นักปุจฉา (The Questioner)
บทที่ 8 คน 7: คนมองโลกในแง่ดี (The Optimist)
บทที่ 9 คน 8: ผู้พิทักษ์ (The Protector)
บทที่ 10 คน 9: ผู้สมานไมตรี (The Mediator)
บทที่ 11 มองไปใต้ผิวที่ปรากฏ ลักษณ์ที่ดูคล้ายกัน
บทที่ 12 นพลักษณ์เพื่อติดต่อสื่อสารสร้างความเข้าใจต่อกัน
บทสรุป: ต่อไปนี้จะทำอย่างไร
ปทานุกรมศัพท์
ปัจฉิมกถา (ในการจัดพิมพ์ครั้งที่ 1) ประโยชน์ที่กลุ่มเราได้รับจากการศึกษา “นพลักษณ์”