Kledthai.com

ตะกร้า 0

(ฟ้าเดียวกัน)เนื้อในระบอบถนอม :ความสืบเนื่องและเสื่อมถอยของเผด็จการทหารพ.ศ 2506 ถึง 2516 (ปกอ่อน)

ISBN: 9786169430322

ผู้แต่ง : ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์

ผู้แปล : -

สำนักพิมพ์ : ฟ้าเดียวกัน

ปีที่พิมพ์ : 2023

ซีรี่ส์:
-
พร้อมส่ง
ISBN:
9786169430322
ราคาพิเศษ ฿630.00 ราคาปรกติ ฿700.00

หากหนังสือเล่มนี้ก่อให้เกิดภาพเสมือนย้อนอดีต

ความรู้สึก"เหมือนว่าเมื่อวานนี้เอง" ที่เกิดขึ้นแท้แล้ว

คือเสมือนระบอบเผด็จการทหาร หรือสเมือนระบอบสมบูรณาญาสิธิราชนับตั้งแต่การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475

อำนาจอธิปไตยเคยเป็นของปวงชนชาวไทยแล้วหรือยัง หรือยังเป็นของใครกันแน่

ดูเหมือนเราจะวนลูป เป็นวงกลมก็จริงแต่วงไหนกันแน่วงเล็บวงใหญ่

สังคมไทยจะหาทางออกจากวงกลมนี้ได้หรือไม่

หากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 คือจุดจบของระบอบเผด็จการทหารเหตุการณ์หรือฉากทัศน์เช่นไรที่รอเราอยู่ข้างหน้า


สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน




กรอบแนวคิดพื้นฐานด้านรัฐศาสตร์ที่นำมาใช้ศึกษาทศวรรษของการเป็นนายกรัฐมนตรีของถนอม

ได้แก่ปัจจัยการเข้าสู่อำนาจทางการเมือง ปัจจัยการรักษาอำนาจทางการเมืองและ ปัจจัยการสิ้นสุดอำนาจทางการเมือง


โดยเป็นการศึกษาผู้นำทางการเมืองและทหาร

โครงสร้างและสัมพันธภาพของสถาบันทางการเมือง การรัฐประหาร รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ ฝ่ายบริหาร

ฝ่ายนิติบัญญัติ พรรคการเมือง การเลือกตั้ง กลุ่มกดดันและ กลุ่มผลประโยชน์เป็นสำคัญ แต่เป็นการศึกษาด้วยวิธีทางการประวัติศาสตร์


ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์


สารบัญ

คำนำสำนักพิมพ์

คำนำผู้เขียน

บทที่ 1 เส้นทางทหารการเมืองของ พล.อ. ถนอม กิตติขจร

บทที่ 2 การขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแบบเผด็จการทหารของ พล.อ. ถนอม

บทที่ 3 ลบรอยเท้าจอมพลสฤษดิ์ สร้างภาพลักษณ์ที่แตกต่าง

บทที่ 4 ภัยคอมมิวนิสต์ สหรัฐอเมริกา กับการรักษาอำนาจของจอมพลถนอม

บทที่ 5 รัฐบาลสืบทอดอำนาจเผด็จการทหาร

บทที่ 6 การควบคุมกองทัพและการกำราบประชาชน

บทที่ 7 เผด็จการซ่อนรูปในเสื้อคลุมประชาธิปไตยแบบไทย : รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง 

บทที่ 8 นายกรัฐมนตรีในระบอบประชาธิปไตยแบบไทย (2512–2514)

บทที่ 9 ระบอบเผด็จการทหารสมบูรณาญาสิทธิ์ : การรักษาอำนาจทางการเมืองในช่วงสุดท้ายของจอมพลถนอม

บทที่ 10 สิ้นสุดระบอบเผด็จการทหารสมบูรณาญาสิทธิ์ เริ่มต้นระบอบประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

บทสรุป

ภาคผนวก ก ลำดับเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับจอมพลถนอม กิตติขจร (ปี 2500–2519)

ภาคผนวก ข การยึดทรัพย์จอมพลถนอม จอมพลประภาส พ.อ. ณรงค์ และภริยาของทั้งสาม

ประวัติผู้เขียน

บรรณานุกรม

ดรรชนี



คำนำสำนักพิมพ์

ภาพจำของจอมพลถนอม กิตติขจร สำหรับคนไทยทั่วไป คือผู้สืบทอดอำนาจจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และถูกโค่นล้มด้วยขบวนการนิสิตนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 จากนั้นจึงเดินทางออกนอกประเทศ แล้วเมื่อกลับมาในฐานะสามเณรถนอม ก็เป็นชนวนให้เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 และรัฐประหารที่ตามมาหลังจากนั้น แต่ “เนื้อในระบอบถนอม” เป็นอย่างไร เหมือนหรือแตกต่างจาก “ระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ” ของสฤษดิ์หรือไม่ ถนอมคงไม่ใช่แค่เงาของสฤษดิ์ ตัวตนของถนอมเป็นเช่นไรกันแน่ ถนอมน่าจะฉลาดและเล่นการเมืองเก่งพอตัว ไม่เช่นนั้นคงไม่สามารถอยู่ในอำนาจยาวนานถึงหนึ่งทศวรรษได้ แต่เงื่อนไขปัจจัยอะไรที่ส่งผลให้ระบอบเผด็จการทหารซึ่งดูแข็งแกร่งพังทลายลงได้ในที่สุด ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ได้ทำการศึกษาวิจัย รวบรวมข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์จำนวนมหาศาล เพื่อชำแหละตรวจสอบ วิเคราะห์วิพากษ์ระบอบถนอมลงลึกในรายละเอียดอย่างยิ่ง จนสำเร็จเป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกในชื่อ “บทบาททางการเมืองของจอมพลถนอม กิตติขจร พ.ศ. 2506–2516” ทั้งยังปรับแก้อย่างอุตสาหะจนกลายเป็นหนังสือ เนื้อในระบอบถนอม : ความสืบเนื่องและเสื่อมถอยของเผด็จการทหาร พ.ศ. 25062516 ที่อยู่ในมือผู้อ่านเล่มนี้

เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง
คุณกำลังรีวิว:(ฟ้าเดียวกัน)เนื้อในระบอบถนอม :ความสืบเนื่องและเสื่อมถอยของเผด็จการทหารพ.ศ 2506 ถึง 2516 (ปกอ่อน)
คะแนนของคุณ