Kledthai.com

ตะกร้า 0

ระเบียบของวาทกรรม ของ มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault)

ISBN: 9786168215449

แปลจากหนังสือ : L'Ordre du Discours © Editions Gallimard, Paris, 1971

ผู้แต่ง : มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault)

ผู้แปล : ฐานิดา บุญวรรโณ

สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์ Illuminations Editions (อิลูมิเนชันส์ เอดิชันส์)

ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งแรก กุมภาพันธ์ 2565

จำนวนหน้า : 168

ซีรี่ส์:
-
สินค้าหมด
ISBN:
9786168215449
ราคาพิเศษ ฿198.00 ราคาปรกติ ฿220.00

L’ordre du discours (ระเบียบของวาทกรรม)

เป็นผลงานตีพิมพ์จากการบรรยายของ “มิเชล ฟูโกต์”(Michel Foucault)

ที่ Collège de France เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1970

ซึ่งถือว่าการบรรยายเปิดตัวครั้งแรกของมิเชล ฟูโกต์

ในตำแหน่งประจำวิชาประวัติศาสตร์ของระบบความคิด ณ Collège de France

การบรรยายดังกล่าวได้รับการเรียบเรียงและตีพิมพ์เป็น 2 ฉบับ

จาก Collège de France และจากสำนักพิมพ์ Gallimard ทั้งสองฉบับตีพิมพ์ออกมาในปี ค.ศ. 1971

ต้นฉบับที่ตีพิมพ์โดย Collège de France นั้นมีชื่อว่า

Leçon inaugurale faite le Mercredi 2 Décembre 1970

ส่วนต้นฉบับที่ตีพิมพ์โดย Gallimard นั้นใช้ชื่อว่า

L’ordre du discours: Leçon inaugurale au Collège de France prononcée le 2 décembre 1970

ผู้แปลยึดถือการแปลตามต้นฉบับภาษาฝรั่งเศสที่ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Gallimard เป็นหลัก

L’ordre du discours (ระเบียบของวาทกรรม)

จากการบรรยายของมิเชล ฟูโกต์(Michel Foucault)ที่ Collège de France เมื่อ 2 ธันวาคม 1970

ใจความสำคัญของเรื่องคือการพยายามจะชี้ให้เห็นว่า

“วาทกรรม” นั้นเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น ถูกควบคุมด้วยวิธีการและกระบวนการต่างๆ

ทั้งที่อยู่ภายในตัววาทกรรมเองและที่อยู่ภายนอกตัววาทกรรม

ฟูโกต์อธิบายว่ากระบวนการควบคุมวาทกรรมภายนอกนั้น

เรียกรวมๆ ว่าเป็นกระบวนการกีดกัน ซึ่งประกอบไปด้วย

1)การห้าม

ฟูโกต์แสดงให้เห็นว่าเราไม่ได้สามารถพูดได้ทุกสิ่งทุกอย่าง

สองสิ่งที่มักพูดไม่ได้ที่เห็นได้ชัดสำหรับฟูโกต์ก็คือเรื่องเพศภาวะและเรื่องทางการเมือง

2)การแบ่งแยกและการปฏิเสธ

อย่างเช่นการแบ่งแยกระหว่างความบ้าและความมีเหตุผล

วาทกรรมของคนบ้านั้นแตกต่างจากของคนอื่นๆ เพราะถูกตีค่าว่าไร้ความสำคัญและไม่จริงมาตั้งแต่ต้น

แม้วาทกรรมของคนบ้าจะถูกเปล่งเสียงออกมาได้ แต่ก็จะได้รับการรับฟังจากแพทย์หรือจิตเวช

นับเป็นกระบวนการแบ่งแยกที่ถูกค้ำจุนไว้ด้วยสถาบันที่เปิดโอกาสให้คนบ้าได้พูดและอนุญาตให้ผู้เชี่ยวชาญมารับฟังวาทะของคนบ้า

3)การอยู่ตรงข้ามกันระหว่างสิ่งที่จริงกับสิ่งที่เท็จ

ซึ่งไม่ใช่แค่การแบ่งแยกในวาทกรรม หากแต่อยู่ในระดับของ “เจตจำนงของความจริง”

ที่ทำให้เกิดการแบ่งแยกระหว่างสิ่งที่จริงกับสิ่งที่เท็จ

กระบวนการกีดกันประเภทที่สามที่ว่าด้วยเจตจำนงแห่งความจริงนี้สำคัญ

เพราะเจตจำนงแห่งความจริงที่ได้รับการเกื้อหนุนค้ำจุนด้วยสถาบันนี้กำหนดความรู้

และกำหนดกลไกการทำงานของความรู้ด้วย

เจตจำนงแห่งความจริงอันเป็นกระบวนการควบคุมวาทกรรมภายนอกแบบที่สาม

จึงมีผลทำให้กระบวนการกีดกันแบบการห้ามและแบบการแบ่งแยกและปฏิเสธทำงานอยู่ต่อไปเรื่อยๆ ไม่จบสิ้น

-บางส่วนจาก บทนำ

หนังสือ “ระเบียบของวาทกรรม”

”มิเชล ฟูโกต์”(Michel Foucault) เขียน

ฐานิดา บุญวรรโณ แปลจาก L'Ordre du Discours © Editions Gallimard, Paris, 1971

เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง
คุณกำลังรีวิว:ระเบียบของวาทกรรม ของ มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault)
คะแนนของคุณ