๒๔๗๕ อภิวัฒน์สยาม เปลี่ยนแปลงการปกครองที่ยังไม่เสร็จ (ส.ศิวรักษ์)
ISBN: 9786168209318
ผู้แต่ง : ส. ศิวรักษ์ เล่าเรื่อง
ผู้แปล : ประชา หุตานุวัตร ซักถาม
สำนักพิมพ์ : เสมสิกขาลัย
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 ธันวาคม 2563
จำนวนหน้า : 236
ในวัยที่กำลังย่างเข้า ๘๘ ปีของสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หนังสือเล่มนี้ '๒๔๗๕ อภิวัฒน์สยาม เปลี่ยนแปลงการปกครองที่ยังไม่เสร็จ' เป็นหมุดหมายบั้นปลาย ที่ถูกปักลงไว้ให้สังคมและประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับชนชั้นบน ๆ เพื่อจักได้ตระหนักว่า
.
'อะไรที่ไม่เคยคิดว่าจะได้เห็น ก็ได้เห็นกันแล้ว และอะไรที่เคยเห็น ๆ กันมาชั่วชีวิต ก็อาจจะไม่ได้เห็นอีกต่อไป'
.
ถ้าหากไม่ปฏิรูป ไม่ปรองดอง ไม่สมานฉันท์กันและกันเพราะอย่างไรเสีย 'ความเปลี่ยนแปลง'ได้เดินทางมาถึงสยามประเทศไทยแล้ว
.
หนังสือเล่มนี้ เป็นผลงานของการคิด การเขียน การอ่าน และเป็น 'มุขปาฐะ'นี่ไม่ใช่หนังสือวิชาการ หรือวิทยานิพนธ์นี่เป็นเสมือน 'พงศาวดารกระซิบ' ที่คนที่อยู่ในวงใน ในแวดวงของสังคมระดับบน ๆ ที่เป็น 'กากีนั๊ง' กันและกันแต่ถูกนำเอามาเปิดเผยในวงกว้างที่สาธารณชนทั่วไปจะได้เปิดหูเปิดตา
.
และนักวิชาการรุ่นนี้และรุ่นหน้าจะต้องทำงานหนัก ที่จะต้องค้นคว้าหาหลักฐานมาพิสูจน์ว่าเรื่องที่สุลักษณ์เล่าให้เราฟังนี้จริงหรือเท็จทางประวัติศาสตร์มากน้อยแค่ไหน
.
ครับ บทบาทในการเป็น 'ห้ามล้อหรือกันชน'หรือ 'ปัญญาชนสาธารณะ' ของสุลักษณ์จะเป็นที่ตระหนักของสังคมไทยหรือไม่จะประสบความสำเร็จหรือไม่กระแสธารประวัติศาสตร์และเวลาเท่านั้น ที่จะตอบเราได้
.
แต่ในสภาพการณ์ของความเคลือบเคลิ้มไปกับโลกาภิวัตน์กับเศรษฐกิจเสรีนิยม ลัทธิการพัฒนาสุดขั้ว กับอวิชชาและการบูชาอำนาจและเงินตราเป็นพระเจ้ารวมทั้งความแตกแยกในสังคมไทยกับวิกฤตศรัทธาอย่างไม่เคยปรากฏรุนแรงอย่างมากใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมานี้นั้น
.
ก็น่าเชื่อว่า ความฝันความต้องการของสุลักษณ์ที่จะให้สังคมนี้ฝ่าข้าม'วิกฤตและความรุนแรง' ไปได้ด้วยดีและด้วย 'สันติประชาธรรม' ก็ยังอยู่ไกลแสนไกล
.
'คำติงและคำเตือน' ของสุลักษณ์ก็คงเพียงทำให้เราบางคนตระหนักในปัญหาที่สังคมไทยกำลังเผชิญอยู่ได้บ้าง
.
และผมก็เชื่ออย่างที่สุลักษณ์เชื่อว่า สถาบันใด (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันกษัตริย์ ที่สุลักษณ์ให้ความสนใจและให้ความสำคัญเป็นพิเศษ)ที่คงทนต่อคำวิพากษ์วิจารณ์นั่นแหละสถาบันนั้น จะยั่งยืนอยู่ต่อไปตราบนานแสนนานตราบเท่าที่ได้สำนึกถึงความจำเป็นที่จะต้อง “ปฏิรูป” ให้มีความเป็นสมัยใหม่ สากลเฉกเช่น สหราชอาณาจักร กับยุโรปตะวันตก และญี่ปุ่นให้เป็นไปตามคำเรียกร้องของเยาวชน คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้
.
แล้วเผชิญหน้ากับ 'การปฏิวัติรุนแรง'ดังเช่นจีน รัสเซีย เยอรมนี ออตโตมัน ออสเตรีย/ฮังการี และยุโรปตะวันออก
.
และนี่ก็คือปัญหาที่คนไทยเรา กำลังเผชิญหน้ากับ 'ทศวรรษใหม่ และรัชสมัยใหม่ ในปัจจุบัน'
.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
บางส่วนจากคำนำหนังสือ
'๒๔๗๕ อภิวัฒน์สยาม เปลี่ยนแปลงการปกครองที่ยังไม่เสร็จ'
คำนำสำนักพิมพ์
คำนำ โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ภาค ๑ เหตุการณ์สำคัญของอภิวัฒน์ ๒๔๗๕
บทที่ ๑ เหตุปัจจัยสู่อภิวัฒน์สยาม ๒๔๗๕
บทที่ ๒ การยึดอำนาจของคณะราษฎร
บทที่ ๓ การต่อสู้ระหว่างเหล่าเจ้านายกับคณะราษฎรหลังการยึดอำนาจ
บทที่ ๔ ผู้สืบราชบัลลังก์ หลังการสละราชสมบัติของรัชกาลที่ ๗
บทที่ ๕ เหตุการณ์บ้านเมืองช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ และบทบาทของเสรีไทย
บทที่ ๖ ความมั่นใจที่นำไปสู่หายนะ ใน พ.ศ. ๒๔๘๙
บทที่ ๗ กรณีสวรรคต รัชกาลที่ ๘
บทที่ ๘ คุณูปการ อาจารย์ปรีดี พนมยงค์
บทที่ ๙ รัฐประหาร ๒๔๙๐ จุดจบคณะราษฎรสายอาจารรย์ปรีดีและการเมืองหลังยุคสมัยอาจารย์ปรีดี
ภาค ๒ ตัวละครสำคัญของคณะราษฎร
บทที่ ๑๐ สี่ทหารเสือ และ ประยูร ภมรมนตรี
บทที่ ๑๑ คุณดิเรก ชัยนาม และคุณทวี บุณยเกตุ มือขวา มือซ้าย ของอาจารย์ปรีดี
บทที่ ๑๒ จอมพล ป. พิบูลสงคราม และผู้เกี่ยวข้อง
บทที่ ๑๓ หลวงวิจิตรวาทการ และมันสมองของจอมพล ป. พิบูลสงคราม
บทที่ ๑๔ จากสยามสู่ไทยแลนด์ และการตกเป็นอาณานิคมทางสติปัญญา
บทที่ ๑๕ บทสรุป ๒๔๗๕
รายชื่อหนังสือสำหรับอ่านเพิ่มเติม
คำตาม โดย วิชัย โชควิวัฒน