ความรับผิดชอบส่วนบุคคลของมนุษย์ใต้เผด็จการ
ISBN: 9786168209189
แปลจากหนังสือ : Personal Responsibility Under Dictatorship
ผู้แต่ง : Hannah Arendt (ฮันนาห์ อาเรนท์)
ผู้แปล : เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล, วศินี พบูประภาพ
สำนักพิมพ์ : สำนักนิสิตสามย่าน
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 — กันยายน 2563
จำนวนหน้า : 54
สารบัญ
- ความรับผิดชอบส่วนบุคคลของมนุษย์ใต้เผด็จการ
- สาระสำคัญของการตัดสิน
- ความอึดอัดใจที่มีต่อประเด็นทางศีลธรรม
- ทฤษฎีฟันเฟือง
- ความชั่วร้ายที่น้อยกว่า
- ความรู้สึกถึงความเป็นกฎหมาย
- พวกเราล้วนแล้วแต่ต้องอยู่กับตัวเอง
- ความรับผิดชอบ
คำนิยม
"อาเรนท์ชวนเราตั้งคำถามว่า บุคคลแต่ละคนจะอ้างได้อย่างสมเหตุสมผลจริงหรือว่าเราสามารถอ้างว่ามี "ความจำเป็น" ที่ต้องทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา หรือคำสั่งของอำนาจเผด็จการ เพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบทางศีลธรรมและกฎหมาย ในกรณีที่การทำตามคำสั่งนั้นเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของคนอื่น (เช่น กรณีที่ถูกสั่งให้ฆ่าชาวยิว) เพราะเรายังต้องถามต่อได้ว่า คำสั่งนั้น "ชอบธรรม" หรือไม่ หรือคำสั่งนั้นมีสถานะเป็น "กฎหมาย" ได้หรือไม่ หากไม่ชอบธรรมหรือไม่มีสถานะเป็นกฎหมายได้ หน้าที่ของเราในฐานะปัจเจกบุคคลที่สามารถจะมี "สามัญสำนึก" ทางศีลธรรมก็คือ การปฏิเสธที่จะทำตามคำสั่งเช่นนั้นไม่ใช่หรือ"
-สุรพศ ทวีศักดิ์
"กฎแห่งกรรมเป็นเรื่องสำคัญ แต่โลกซับซ้อนเกินกว่าเราจะเข้าใจการกระทำของตัวเองอย่างถ่องแท้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางการมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกิจการงานใดอันข้องเกี่ยวกับผู้คนจำนวนมาก มีแต่รอให้ผลดีผลเสียบังเกิดภายหลัง เราถึงประจักษ์แจ้งการกระทำของผู้มีความรับผิดชอบ คือผู้สามารถทบทวน และรู้สึกเสียใจในความผิดพลาดที่ผ่านมาโดยรู้เท่าไม่ถึงการได้ "ความรับผิดชอบส่วนตัวของมนุษย์ไต้เผด็จการ" คือส่วนเสริมของหนังสืออันโด่งดังของฮันนา อาเรนท์ Eichmann in Jerusalem อาเรนท์พูดถึงประเด็นอันแหลมคมที่สุดในการเมืองยุคใหม่ ถ้าผู้กระทำความผิดไม่ได้ตั้งใจ ไม่ได้นึกถึงผลการกระทำของตน เชื่อว่าทำลงไปด้วยเจตนาดี หรือเพียงแค่รับคำสั่งอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้..."
- ภาณุ ตรัยเวช
ผู้เขียน ฮิตเลอร์ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
ความรับผิดชอบส่วนบุคคลของมนุษย์ใต้เผด็จการ
Personal Responsibility Under Dictatorship
อาเรนท์ชวนเราตั้งคำถามว่า...เราสามารถอ้างว่ามี "ความจำเป็น" ที่ต้องทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา หรือคำสั่งของอำนาจเผด็จการ เพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบทางศีลธรรมและกฎหมาย ได้หรือไม่...
ความคิดของ "ฮันนาห์ อาเรนท์" ว่าด้วยความรับผิดชอบและการรักษาไว้ซึ่งความเป็นนายตัวเองภายใต้สถานการณ์บีบบังคับ อาเรนท์เขียนหนังสือเรื่อง "ความรับผิดชอบส่วนบุคคลของมนุษย์ใต้เผด็จการ" ขึ้นมา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1964 ไม่นานหลังจากการไต่สวนของไอซ์มานน์ ตอนนี้เวลาล่วงมากว่าครึ่งศตวรรษแล้ว แต่งานชิ้นนี้ยังบอกอะไรเราได้บ้าง...
อาเรนท์ใช้บทความสั้น ๆ นี้บอกว่า คนเราย่อมตัดสินความผิดชอบชั่วดีตามคุณธรรมในเหตุการณ์ที่เกิดไปแล้วได้ และถือว่าเป็นเรื่องพึงทำด้วยซ้ำ แม้ว่าเหตุการณ์นั้นจะอยู่ภายใต้สถานการณ์ของระบอบเผด็จการ ซึ่งอาชญากรรมต่าง ๆ กลายเป็นข้อยกเว้นว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ หรือจะอยู่ในสถานการณ์การปกครองแบบเบ็ดเสร็จที่อาชญากรรมหลายอย่างกลายเป็นกฎพึงทำ การกระทำที่ไม่มีพิษภัยกลับกลายเป็นข้อยกเว้นห้ามทำ ขณะที่ปัจเจกทั้งหลายถูกเปลี่ยนเป็นฟันเฟืองในครื่องจักรกลที่เรียกว่า "รัฐ" อย่างไรก็ดี หนังสือเล่มนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่มาถูกที่ถูกเวลาและมีความหมาย เพราะยังมีผู้อ่านที่กระหายใคร่รู้เรื่องนี้หลายคนอย่างแน่นอน