ราชมัลลงทัณฑ์ บัลลังก์ปฏิรูป (ปกอ่อน) ***หนังสือหมด***
ISBN: 9786167939155
ผู้แต่ง : ปิยบุตร แสงกนกกุล
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : Shine publishing house
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 3 ธันวาคม 2563
จำนวนหน้า : 360
ในระบอบประชาธิปไตย กษัตริย์จึงไม่มีทางกระทำผิด (The King can do no wrong) เพราะกษัตริย์ไม่ทำอะไรเลย (The King can do nothing) แต่เป็นผู้ลงนามรับสนองฯต่างหากที่เป็นผู้กระทำและเป็นผู้รับผิดชอบ ดังนั้น การอธิบายว่า The King เป็นมนุษย์จึงสามารถ do wrong ได้นั้น แม้ฟังแล้วอาจซาบซึ้งว่าเป็นกรณีที่กษัตริย์มีน้ำใจและประกาศว่าตนอาจทำผิดพลาดได้เสมอเหมือนคนทั่วไปแต่คำพูดเช่นนี้ผิดหลักประชาธิปไตยอย่างยิ่ง เพราะหากบอกว่ากษัตริย์ทำผิดได้ นั่นแสดงว่า กษัตริย์จะทำการเกินกว่ารัฐธรรมนูญกำหนด จะทำการลำพังด้วยตนเอง โดยไม่มีผู้รับสนองฯ หากกล่าวอย่างเคร่งครัดแล้ว ในระบอบประชาธิปไตย ยอ่มไม่มี The King ที่ can do wrong เพราะในระบอบประชาธิปไตยมีแต่ The King ที่ can do nothing
อำนาจก่อตั้งสถาปนาระบบกฎหมาย-การเมือง (Pouvoir constituant) แสดงถึงการแผ่ขยายแบบปฏิวัติของความเป็นไปได้ของมนุษย์ในการสร้างประวัติศาสตร์และการกระทำพื้นฐานของการสรรสร้างสิ่งใหม่ ดังนั้นจึงเป็นกระบวนการสัมบูรณ์เด็ดขาดด้วย ขั้นตอนที่อำนาจก่อตั้งสถาปนาระบบ กฎหมาย-การเมือง (Pouvoir constituant) ได้ดำเนินขึ้นจึงไม่มีทางหลุดได้อำนาจก่อตั้งสถาปนาระบบกฎหมาย-การเมือง (Pouvoir constituant) ไม่มีขีดจำกัด แต่ตรงกันข้าม มันมอบความไร้ขีดจำกัดต่างหาก ข้อความคิดหนึ่งเดียวที่เป็นไปได้ของรัฐธรรมนูญคือข้อความคิดหนึ่งเดียวที่เป็นไปได้ของการปฏิวัติ อำนาจก่อตั้งสถาปนาระบบกฎหมาย-การเมือง (Pouvoir sonstituant) จึงเป็นกระบวนการสัมบูรณ์และไร้ข้อจำกัด
สารบัญ
คำนำ
บทนำ
Coup d'Etat 2.0
- ศาลรัฐธรรมนูญล้ำเเดนอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ
- เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย "อำนาจสถาปนารัฐธรรมนุญ"
- ความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ขัดกับเสรีภาพฯ
- การรักษาสถาบันกษัตริย์ด้วยการสละราชบัลลังก์ของกษัตริย์สีหนุ
- ๔ ปี รัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙
- กองทัพในระบอบประชาธิปไตย
- มาตรา ๑๑๒
- ข้อเสนอคณะนิติราษฎร์ เรื่องการยุบศาลรัฐธรรมนูญฯ
- สุพจน์ ด่านตระกูล กับ "ประวัติรัฐธรรมนูญฯ"
- การทำให้รัฐปลอดศาสนาในฝรั่งเศส
- การลุกขึ้นสู้ (L'insurrection): วัฒนธรรมการเมืองของฝรั่งเศสฯ
- พรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส
- การสร้างคำอธิบายของนักกฏหมายรัฐธรรมนูญกษัตริย์นิยม
- ประชาธิปไตยกับกษัตริย์
- ศาลอาญาระหว่างประเทศ
- บทวิจารณ์คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ กรณีสมยศ พฤกษาเกษมสุข
- ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕
- พัฒนาการระบบรัฐสภาและกำเนิดระบบรัฐสภาไทย
- เสรีประชาธิปไตยกับบทบาทขององค์กรตุลาการ
- ประชาธิปไตยกับวิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยในปัจจุบัน
ภาคผนวก
- ข้อเสนอ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ บันทึกหลักการและเหตุผล ประกอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
- ประมวลกฎหมายอาญามาตรา (ฉบับที่...)
- ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...)
ข้อเสนอ แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเพื่อยกเลิก
- ศาลรัฐธรรมนูญ และจัดตั้งคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ
บันทึกหลักการและเหตุผล
- และร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญ
- ประกาศนิติราษฎร์ ฉบับ ๒๙
- การทำลายกฎหมายและคำพิพากษาในระบอบเผด็จการฯ
ประกาศนิติราษฎร์ ฉบับ ๓๓
- เรื่อง การสาบานตนของกษัตริย์ว่าจะพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
คำวินิจฉัยเรื่องประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ ขัดหรือแย้งต่อ
รัฐธรรมนูญ มาตรา ๓ วรรคสอง มาตรา ๒๙ และมาตรา ๔๕ วรรคหนึ่ง
และวรรคสอง หรือไม่
- เอกสารเรื่อง พระราชวงศ์กล่าวความอันเป็นเสี้ยนหนามแก่ความสงบ
และคำปฏิญาณตนต่อคณะราษฎร