วารสารฟ้าเดียวกัน ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2564 สาธารณรัฐจำแลงกับเสมือนสัมบูรณาญาสิทธิ์
ISBN: 9786167667980
ผู้แต่ง : กองบรรณธิการ (ธนาพล อิ๋วสกุล, อัญชลี มณีโรจน์, สังคม ชิรชูสกุล, นฤมล กระจ่างดารารัตน์, วิรพา อังกูรทัศนีย์รัตน์)
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : ฟ้าเดียวกัน
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 ธันวาคม 2564
จำนวนหน้า : 147
ตลอดปี 2563 ต่อเนื่องมาจนถึงปี 2564 เราได้เห็นการต่อสู้เพื่อปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ที่มีเยาวชนหนุ่มสาวเป็นแกนนำ ซึ่งถูกโต้กลับด้วยความพยายามฉุดรั้งความเปลี่ยนแปลงทั้งโดยกลไกรัฐที่บิดเบือนกฎหมาย ไปจนถึกระบวนการนอกกฎหมาย และล่าสุดคำวินิฉัยของศาลรัฐธรรมนูยเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 ว่าการเรียกร้องปฏิรูปสถานับยกษัตริย์นั้นเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ตลอดปี 2563 ต่อเนื่องมาจนถึงปี 2564 เราได้เห็นการต่อสู้เพื่อปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ที่มีเยาวชนหนุ่มสาวเป็นแกนนำ ซึ่งถูกโต้กลับด้วยความพยายามฉุดรั้งความเปลี่ยนแปลงทั้งโดยกลไกรัฐที่บิดเบือนกฎหมาย ไปจนถึกระบวนการนอกกฎหมาย และล่าสุดคำวินิฉัยของศาลรัฐธรรมนูยเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 ว่าการเรียกร้องปฏิรูปสถานับยกษัตริย์นั้นเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
อย่างไรก็ดี พึงตั้งข้อสังเกตว่า คำว่า “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” นั้นเพิ่งเกิดขึ้นหลังรัญประหาร 2490 พร้อมกับสิ่งที่ดำเนินต่อเนื่องมานับจากนั้นจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ การขยายพระราชอำนาจให้กลับไปใกล้เคียงกับสมบูรณาญาสิทธิราชย์มากขึ้น ดังชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น “สมบูรณาญาสิทธิราชย์ซ่อนรูป” (อานนท์ นำภา) “กึ่งสมบูรณาญาสทธิราชย์” (ธงชัย วินิจะกูล) “สมบูรณาญาสิทธิราชย์จำแลง” (ปิยบุตร แสงกนกกุล) หรือ “เสมือนสมบูรณาญาสิทธิ์” ดังข้อเสนอของเกษียร เตชะพีระ ในวารสาร ฟ้าเดียวกับ ฉบับนี้
(บางส่วนของบทบรรณาธิการ)
สารบัญ
บทบรรณาธิการ
ล้มสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ทัศนะวิพากษ์
สาธารณรัฐจำแลงกับเสมือนสัมบูรณาญาสิทธิ์ : สองแนวโน้มฝังแฝงที่ขัดแย้งกันในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญไทย
เกษียร เตชะพีระ
ประวัติศาสตร์ของประวัติศาสตร์กฎหมายไทยนิพนธ์
สมชาย ปรีชาศิลปกุล
พระพิมลธรรม สมณศักดิ์อาถรรพ์ : มองการเมืองสงฆ์หลังปฏิวัติ 2475 ผ่านชีวิตสมเด็จพระพุฒาจารย์ อาจ อาสโภ (พ.ศ. 2446-2532)
นริศ จรัสจรรยาวงศ์
ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง ในความทรงจำของข้าพเจ้า
อติเทพ ไชยสิทธิ์
บทความปริทัศน์
ตาสว่าง (ซํ้าสอง)
ปวงชน อุนจะนำ