(ปกอ่อน) อาณานิคมสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พิมพ์ครั้งที่ 2
ISBN: 9786167158709
ผู้แต่ง : ไชยันต์ รัชชกูล
ผู้แปล : พงษ์เลิศ พงษ์วนานต์
สำนักพิมพ์ : อ่าน
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564
จำนวนหน้า : 296
หนังสือเล่มนี้มาจากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก ผู้เขียนคือ ไชยันต์ รัชชกูล หนังสือเล่มนี้ชวนให้ตั้งคำถามถึงสิ่งที่เรียกว่า “รัฐไทย” หรือ “สยามประเทศ” ในศตวรรษที่สิบเก้าเลยทีเดียวว่ารัฐไทยคืออะไร
บางส่วนจากคำนำเสนอโดยวรเจตน์ ภาคีรัตน์
แม้หนังสือเล่มนี้จะได้รับการเผยแพร่มากว่ายี่สิบปีแล้วในภาษาอังกฤษ แต่ข้อมูล การตีความข้อมูล การตั้งคำถาม และความพยายามในการตอบคำถามเกี่ยวกับการก่อรูปของรัฐไทย กำเนิดและการจบสิ้นลงของระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ภายในระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งศตวรรษ ยังคงเป็นสิ่งที่น่าสนใจยิ่งสำหรับผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์การก่อตัวของรัฐไทย สำหรับผู้เขียนคำนำเสนอ สิ่งที่ชอบและประทับใจในงานเขียนเรื่องนี้คือวิธีอภิปรายให้เหตุผลหักล้างแนวความคิดและความเชื่อที่มีมาแต่เดิม ในขณะที่อ่านหนังสือเล่มนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนที่ท้องถิ่นทางเหนือพยายามต่อสู้กับอำนาจของส่วนกลางที่แผ่ขยายออกไปเพื่อผนวกรวม ผู้เขียนคำนำเสนอยังอดนึกถึงปัญหาทางการเมืองร่วมสมัยไม่ได้ สำหรับ
ประชาชนทั่วไปที่สนใจใฝ่รู้ความเป็นมาของรัฐไทยในช่วงก่อตัวและไม่ต้องการรับรู้แต่เพียงสิ่งที่ทางการโฆษณากล่อมเกลา หนังสือเล่มนี้จะเป็นเครื่องนำทางชั้นดีในการทำความเข้าใจอดีต จะช่วยทำให้ผู้อ่านมีทัศนะที่เที่ยงตรงขึ้น และมองเห็นพัฒนาการของรัฐไทยในแบบที่มันเป็น ไม่ใช่แบบที่ทางการต้องการให้มันเป็น
หมายเหตุสำนักพิมพ์
คำนำผู้เขียน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2
คำนำผู้เขียน ฉบับพิมพ์ครั้งแรก
คำนำเสนอ โดย วรเจตน์ ภาคีรัตน์
คำนำเสนอฉบับพิมพ์ภาษาอังกฤษ โดย ฮัมซา อะลาวี
บทที่ 1 ฉากหลัง: สยามกลางศตวรรษที่สิบเก้า
บทที่ 2 การเปลี่ยนรูปทางการเมืองในสยาม
บทที่ 3 การเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจและการก่อรูปชนชั้นในต้นศตวรรษที่ยี่สิบ
บทที่ 4 การก่อรูปรัฐในสยาม: การก่อรูปของรัฐในระบบทุนนิยมรอบนอก
บทที่ 5 รัฐในระบบทุนนิยมรอบนอก: ลักษณะเชิงวิเคราะห์และวิถีการทำงานในสยาม
บทที่ 6 กำเนิดชาตินิยมไทย
บทที่ 7 บทสรุป
ภาคผนวก
สยาม: ‘ถก แถ ถาม เถียง’
ผู้เขียน ไชยันต์ รัชชกูล
ผู้แปล พงษ์เลิศ พงษ์วนานต์
บรรณาธิการแปล ไอดา อรุณวงศ์
คำนำเสนอ วรเจตน์ ภาคีรัตน์