Kledthai.com

ตะกร้า 0

สัญญาประชาคมหรือหลักแห่งสิทธิทางการเมือง (ปกแข็ง)

ISBN: 9786165720038

แปลจากหนังสือ : THE SOCIAL CONTRACT OR PRINCIPLES OF POLITICAL RIGHT

ผู้แต่ง : ฌอง-ฌาคส์ รุสโซ

ผู้แปล : สมบูรณ์ ศุภศิลป์

สำนักพิมพ์ : ทับหนังสือ

ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2563

จำนวนหน้า : 368

ซีรี่ส์:
Death Notice
พร้อมส่ง
ISBN:
9786165720038
ราคาพิเศษ ฿396.00 ราคาปรกติ ฿440.00

ฌอง-ฌาคส์ รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau, ค.ศ. 1712 - 1778) นักปราชญ์ชาวสวิสที่ทรงอิทธิพลคนหนึ่งในยุค "เรืองปัญญา" เขาเข้าร่วมเขียน "สารานุกรม" (Diderot's Encyclopedia) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1745 และในปี 1749 เขาเขียนเรียงความชนะการประกวดและได้รับรางวัลจากบัณฑิตยสถานแห่งเมืองดิฌง ในหัวข้อ ' การฟื้นฟูศิลปะและวิทยาศาสตร์จะเป็นการทำให้ศีลธรรมจรรยาเสื่อมลงหรือบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น?' ทำให้เขาเริ่มเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงมากขึ้น

งานเขียนชิ้นสำคัญคือ "สัญญาประชาคม" (The Social Contract, 1762.) มองว่ารัฐบาลคือผู้ที่ประชาชนมอบหมายสิทธิอำนาจ ให้ปกครองเพื่อประโยชน์ร่วมกันของประชาชนทั้งหมดและประชาชนจะถอนสิทธิอำนาจนี้ได้ถ้ารัฐบาลไม่ทำตามสัญญาสังคม แนวคิดในเรื่องนี้ของเขาได้มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติในฝรั่งเศสและการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศอื่นๆ เขาเห็นว่าความชั่วเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการที่มนุษย์มาอยู่ร่วมกันเป็นสังคม โดยเฉพาะการที่ทรัพย์สินส่วนตัว ซึ่งมิใช่สิ่งที่ทุกคนมี สังคมยุคนั้นจึงเป็นสัญญาประชาคมชนิดที่ฉ้อฉล มีไว้เพื่อสนับสนุนความไม่เสมอภาค

"....มนุษย์เกิดมาเสรี และถูกพันธนาการอยู่ทั่วทุกแห่งหนผู้ที่คิดว่าตัวเองเป็นนายของคนอื่นๆ จริงๆแล้วกลับเป็นทาสมากกว่าพวกทาสเหล่านั้น

คราบเท่าที่ประชาชนถูกบังคับให้เชื่อฟังและก็เชื่อฟังเขาก็ทำดีแล้ว แต่ทว่า เขาจะทำดียิ่งขึ้นหากเขาสลัดแอดออกจากบ่าในทันทีที่เขาสามารถสลัดได้เมื่อมีใครถือสิทธิเข้าแย่งชิงเสรีภาพไปจากประชาชน ประชาชนก็ย่อมจะมีสิทธิเช่นกันที่จะยื้อแย่งเสรีภาพกลับคืนประชาชนมีสิทธิเสรีภาพจะกู้เสรีภาพของตนได้ แต่ไม่มีใครที่จะมีสิทธิเอาเสรีภาพไปจากประชาชน..."

สารบัญ

คำแถลงสำนักพิมพ์
สารบัญ
คำนำของผู้แปล
กาลานุกรม ฌอง-ฌาคส์ รุสโซ

ตอนที่ ๑

บทนำ
บทที่ ๑ ประเด็นของตอนที่ ๑
บทที่ ๒ สังคมในตอนเริ่มต้น
บทที่ ๓ สิทธิของผู้ที่แข็งแรงที่สุด
บทที่ ๔ ความเป็นทาส
บทที่ ๕ เราต้องกลับไปที่ข้อตกลงตอนเริ่มต้นเสมอ
บทที่ ๖ ข้อตกลงทางสังคม
บทที่ ๗ รัฐาธิปัตย์
บทที่ ๘ สภาวะของพลเมือง
บทที่ ๙ ว่าด้วยที่ดิน

ตอนที่ ๒

บทที่ ๑ อำนาจอธิปไตยโอนให้กันไม่ได้
บทที่ ๒ อำนาจอธิปไตยนั้นแบ่งแยกไม่ได้
บทที่ ๓ เจตจำนงร่วมจะผิดได้หรือไม่
บทที่ ๔ ขอบเขตของอำนาจอธิปไตย
บทที่ ๕ สิทธิในชีวิตและความตาย
บทที่ ๖ กฎหมาย
บทที่ ๗ ผู้บัญญัติกฎหมาย
บทที่ ๘ ประชาชน
บทที่ ๙ ประชาชน (ต่อ)
บทที่ ๑๐ ประชาชน (ต่อ)
บทที่ ๑๑ ระบบต่างๆ ของการบัญญัติกฎหมาย
บทที่ ๑๒ ประเภทต่างๆ ของกฎหมาย

ตอนที่ ๓

บทที่ ๑ รัฐบาลโดยทั่วไป
บทที่ ๒ หลักการในการจัดตั้งรัฐบาลรูปแบบต่างๆ
บทที่ ๓ รูปแบบของรัฐบาล
บทที่ ๔ ประชาธิปไตย
บทที่ ๕ อภิชนาธิปไตย
บทที่ ๖ ราชาธิปไตย
บทที่ ๗ รัฐบาลแบบผสม
บทที่ ๘ รูปแบบของรัฐบาลทั้งหมดมิใช่ว่าจะเหมาะกับทุกประเทศ
บทที่ ๙ เครื่องหมายของรัฐบาลที่ดี
บทที่ ๑๐ การใช้อำนาจในทางที่ผิดของรัฐบาลและแนวโน้มสู่ความเสื่อม
บทที่ ๑๑ ความตายขององค์กรทางการเมือง
บทที่ ๑๒ จะรักษาอำนาจอธิปไตยไว้ได้อย่างไร
บทที่ ๑๓ จะรักษาอำนาจอธิปไตยไว้ได้อย่างไร (ต่อ)
บทที่ ๑๔ จะรักษาอำนาจอธิปไตยไว้ได้อย่างไร (ต่อ)
บทที่ ๑๕ ตัวแทน หรือ ผู้แทน
บทที่ ๑๖ การตั้งรัฐบาลมิใช่สัญญา
บทที่ ๑๗ การตั้งรัฐบาล
บทที่ ๑๘ วิธีคุ้มครองรัฐบาลจากการแย่งชิงอำนาจ

ตอนที่ ๔

บทที่ ๑ เจตจำนงไม่สามารถทำลายได้
บทที่ ๒ การออกเสียง
บทที่ ๓ การเลือกตั้ง
บทที่ ๔ โคมิเทียของชาวโรมัน
บทที่ ๕ อำนาจของทรีบูน
บทที่ ๖ ตำแหน่งหน้าที่ของผู้เผด็จการ
บทที่ ๗ ตำแหน่งหน้าที่ในการเซนเซอร์
บทที่ ๘ ศาสนาของพลเมือง
บทที่ ๙ สรุป

หมายเหตุ

เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง
คุณกำลังรีวิว:สัญญาประชาคมหรือหลักแห่งสิทธิทางการเมือง (ปกแข็ง)
คะแนนของคุณ