อาเซียนกับระบบการอภิบาลภูมิภาคในเรื่องการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติของชาวโรฮิงญา
ISBN: 9786164171169
ผู้แต่ง : อนุสรณ์ ชัยอักษรเวช,ณัฐณพัศ พิพัฒน์รัตนเสรี
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : ชุดโครงการ "จับตาอาเซียน" (ASEAN Watch) สกว.
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 มิถุนายน 2562
จำนวนหน้า : 360
การย้ายถิ่นแบบไม่ปกติของชาวโรฮิงญาจำนวนเกือบล้านคนที่หนีภัยความรุนแรงจากเมียนมาเข้าไปในบังกลาเทศและพยายามล่องเรือหนีออกมาข้ามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันหลายหมื่นคนตั้งแต่ปี 2012 เข้ามาในประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย กลายเป็นโจทย์ที่ท้าทายต่อการพัฒนาประชาคมอาเซียนให้มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและอยู่ในจังหวะที่ปี 2019 นี้ ไทยกลับมาทำหน้าที่ประธานอาเซียนอีกครั้ง
การจัดการปัญหาต้องเริ่มต้นด้วยความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมจากอาเซียนที่เป็นเอกภาพและประสานงานกันให้เข้าถึงพื้นที่รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เพื่อลดเงื่อนไขความขัดแย้งและเป็นประโยชน์กับทุกชุมชนทั้งชาวพุทธยะไข่และชาวโรฮิงญา ในขณะเดียวกันต้องพัฒนา "แนวทางร่วม" ของอาเซียนที่มุ่งเน้น "การแบ่งเบาภาระ" และมี "ความรับผิดชอบร่วมกัน" โดยให้มีมาตรฐานไม่ต่ำกว่าระดับสากลในกรอบของสหประชาชาติเพื่อแสดงให้เห็นถึงการเป็น "ประชาคมอาเซียนที่มีบทบาทในประชาคมโลก"
สารบัญ
คำนิยม
คำนำ
คำนำผู้เขียน
สารบัญภาพ กรอบ และตาราง
รายการคำย่อ
1. รัฐ องค์การระหว่างประเทศ และชาวโรฮิงญากับระบบการอภิบาลภูมิภาคในเรื่องการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ
ตอนที่ 1 บทบาทรัฐใน-นอกอาเซียน
2. มาเลเซียกับการทำให้เรื่องโรฮิงญากลายเป็นประเด็นระหว่างประเทศ
3. การทูตแบบผู้ประสานของอินโดนีเซียเพื่อให้ความช่วยเหลือและการพัฒนาทั่วถึง
4. ความพยายามของอองซานซูจีในการแสวงหาทางออกของเมียนมาเกี่ยวกับชาวโรฮิงญา
5. การหลีกเลี่ยงประเด็นสิทธิมนุษยชนของฟิลิปปินส์ในฐานะประธานอาเซียนปี 2017
6. มุมมองของสิงคโปร์ในฐานะประธานอาเซียนปี 2018 และบทบาทคนกลางที่ซื่อสัตย์ที่มุ่งให้เกิดการส่งกลับด้วยความสมัครใจ
7. ไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่ให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาและการตั้งถิ่นฐานใหม่ในรัฐยะไข่
8. บังกลาเทศ: ประเทศที่แบกรับภาระผู้ย้ายถิ่นชาวโรฮิงญา
9. มหาอำนาจกาบมุมมองที่ต่างกันในแก้ไขปัญหาชาวโรฮิงญา: อินเดีย จีน สหรัฐอเมริกา
ตอนที่ 2 ระบบการอภิบาลการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติระดับภูมิภาค
10. กระบวนการปรึกษาหารือระดับภูมิภาค (RCPs) นอกกรอบการทำงานของอาเซียน: กระบวนการบาหลี (Bali Process)
11. กลไกและกระบวนการเชิงสถาบันในกรอบอาเซียน
12. บทบาทของรัฐอาเซียนในการสร้างเวทีเจรจาร่วมกัน
13. บทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ
ตอนที่ 3 ไทยในอาเซียนกับอนาคตการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติของชาวโรฮิงญา
14. แนวคิดของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ: บทบาทของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาและวิกฤตการณ์ในภูมิภาค
15. ข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทยในฐานะประธานอาเซียนปี 2019
บรรณานุกรม
ประวัติผู้เขียน