ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2564 (ปกอ่อน)
ISBN: 9786167667935
ผู้แต่ง : นิธิ เอียวศรีวงศื
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : ฟ้าเดียวกัน
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2564
จำนวนหน้า : 305
“80 ปี นิธิ เอียวศรีวงศ์ปัญญาชนแห่งสยามยุคเปลี่ยนผัน” คือหนังสือที่ประกอบด้วย 8 บทความที่เขียนขึ้นตามความสนใจของแต่ละบุคคล บางบทมีความเกี่ยวเนื่องกับงานของนิธิ บางบทไม่เกี่ยว การเรียงลำดับบทความในเล่มไม่เกี่ยวกับว่าเรื่องใดสำคัญมากกว่าเรื่องใด เกณฑ์มีเพียงง่าย ๆ คือหยิบเรื่องประวัติศาสตร์ขึ้นมาก่อน
บทความแรกคือ “ประวัติศาสตร์ไทยในมิติยาวไกล”โดย คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร บทที่สองโดย นิติ ภวัครพันธ์ุ เรื่อง “‘รัฐเจ้าเมือง’:ข้อเสนอเรื่อง ‘รัฐ’ของคนไตในเวียดนาม” บทที่สาม “สงครามและการกวาดต้อนผู้คนในลุ่มน้ำโขง: การฟื้นฟูและการขยายอำนาจของสยามในยุคธบบุรี-ต้นรัตนโกสินทร์”โดย พวงทอง ภวัครพันธ์ุ บทที่สี่ “ไปเมืองแก้ว” โลกทัศน์ของสามัญชนในบันทึกเดินทางไปต่างแดน: จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถึงประชาธิปไตย โดย ณัฐพล ใจจริง บทที่ห้า วิพากษ์ลัทธิมาร์กซใน โฉมหน้าของศักดินาไทยในปัจจุบัน ของจิตร ภูมิศักดิ์ โดย ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
บทที่หก แผนที่คือภาษา โดย ธงชัย วินิจจะกูล บทที่เจ็ด การกลับคืนของ ปากไก่และใบเรือ และการอ่านนสังคมที่เปลี่ยนแปลง โดย ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล บทที่แปด อุษาคเนย์ยามว่างแผ่นดิน โดย ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้าพเจ้าจำได้ว่า เมื่อได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยในปีแรก ผู้บรรยายวิชาประวัติศาสตร์โดยได้เริ่มคำบรรยายในวิชาว่า จุดมุ่งหมายของการศึกษาประวัติศาสตร์มีหลายประการ ที่เป็นประการแรกคือทำให้เกิดความรักชาติขึ้น….เป็นอันว่าประวัติศาสตร์ก็เหมือนกับสิ่งอื่น ๆ ในทัศนะของคนไทย กล่าวคือถ้าจะลงทุนลงแรงแล้วเป็นต้องแสวงหาผลประโยชน์ที่เกิดได้ในทันทีไว้ก่อน เป็นที่น่าสงสัยอย่างยิ่งว่าการศึกษาประวัติศาสตร์ในประเทศในประเทศไทยนั้นเคยมีคุณค่าในตัวเองหรือไม่-- นิธิ เอียวศรีวงศ์
“สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับอาร์โนลด์ ทอยน์บี,”สังคมศาสตร์ปริทัศน์ ปีที่ 7,ฉบับที่ 1 (มิถุนายน-สิงหาคม 2512) : 31.
บทบรรณาธิการ
ปลดแอกประวัติศาสตร์
บทบรรณาธิการประจำฉบับ
80 ปีนิธิ เอียวศรีวงศ์ : ปัญญาชนแห่งสยามยุคเปลี่ยนผัน
ทัศนะวิพากษ์
ประวัติศาสตร์ไทยในมิติยาวไกล (longue durée)
คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร
“รัฐเจ้าเมือง” : ข้อเสนอเรื่อง “รัฐ” ของคนไตในเวียดนาม
นิติ ภวัครพันธุ์
สงครามและการกวาดต้อนผู้คนในลุ่มนํ้าโขง : การฟื้นฟูและขยายอำนาจของสยามในยุคธนบุรี-ต้นรัตนโกสินทร์
พวงทอง ภวัครพันธุ์
“ไปเมืองแก้ว” โลกทัศน์ของสามัญชนในบันทึกเดินทางไปต่างแดน : จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถึงประชาธิปไตย
ณัฐพล ใจจริง
วิพากษ์ลัทธิมาร์กซ์ใน โฉมหน้าของศักดินาไทยในปัจจุบัน ของจิตร ภูมิศักดิ์
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
แผนที่คือภาษา
ธงชัย วินิจจะกูล
การกลับคืนของ ปากไก่และใบเรือ และการอ่านในสังคมที่เปลี่ยนแปลง
ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล
อุษาคเนย์ยามว่างแผ่นดิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร