ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2562 (กำเนิดสยามจากประวัติศาสตร์ศิลป์และโบราณคดี)
ISBN: 9786167667829
ผู้แต่ง : ฟ้าเดียวกัน
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : ฟ้าเดียวกัน
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2562
จำนวนหน้า : 200
ข้อเสนอหลักของบทความคือกระบวนการสร้างองค์ความรู้ชุดดังกล่าว (ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี) ได้สถาปนาสิ่งที่ผมขอเรียกว่า “จินตกรรมรัฐสยามทางศิลปะ” ให้เกิดขึ้นในหมู่ชนชั้นนำสยาม โดยท่ามกลางกระบวนการเปลี่ยนผ่านจากรัฐแบบจารีตมาสู่รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จินตกรรมชุดนี้เป็นทั้งเครื่องมือในการสถาปนาอำนาจรวมศูนย์ให้แก่ราชสำนักที่กรุงเทพฯ ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็น “โลกจำลอง” เพื่อช่วยในการจินตนาการถึงภาพของรัฐสยาม สมัยใหม่ตามความใฝ่ฝันของชนชั้นนำสยามว่ามีรูปธรรมทางกายภาพอยู่จริง มองเห็นได้ และจับต้องได้ ซึ่ง “โลกจำลอง” ดังกล่าวสุดท้ายจะย้อนกลับมาเป็นกรอบอ้างอิงให้แก่ชนชั้นนำสยามในการสร้างความชอบธรรมที่จะธำรงรักษา “โลกจริง” ให้มีความเหมือน “โลกจำลอง” ที่ตนเองจินตกรรมขึ้น
ชาตรี ประกิตนนทการ
วารสารฟ้าเดียวกัน ปีที่ 17 ฉบับที่ 2
กำเนิดสยามจากประวัติศาสตร์ศิลป์และโบราณคดี
สารบัญ
บทบรรณาธิการ | ผู้อยู่เหนือเงื่อนไข
ทัศนะวิพากษ์ | กำเนิดรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ผ่าน "จินตกรรมรัฐสยามทางศิลปะ"
- ชาตรี ประกิจนนทการ
รัฐวิศวกรรม: มองการสร้างรัฐราชการ ผ่านปฏิบัติการเชิงเทคโน
- จักรกริช สังขมณี
ปริเทวนาการ: นาฎกรรมของภาพในภาวะเปลี่ยนผ่านรัชสมัย
- ธนาวิ โชติประดิษฐ
มึงเป็นใครใน "กูไม่กลัวมึง" ของคึกฤทธิ์ ปราโมช: ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ในฐานะปัญญาชน "ราดิคัลคอนเซอร์เวทีฟ"
- ธนาพล อิ๋วสกุล
ซอยสวนพลู
- คึกฤทธิ์ ปราโมช
สามก๊ก ฉบับ "ปติวัติภาสาไทย" : วาระแห่ง "หนังสือจอมพล (พ.ส.2485-2487)"
- นริศ จรัสจรรยาวงศ์
บทความปริทัศน์ | THAI MILITARY POWER ทำไมทหารไทยจึงอ่อนแอ
- สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี
มายาคติของสองฝั่งสี และบาดแผลจากความรุนแรงโดยรัฐ
- ภัควดี วีระภาสพงษ์