Kledthai.com

ตะกร้า 0

ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561 (ระบอบประยุทธ์)

ISBN: 9786167667744

ผู้แต่ง : ฟ้าเดียวกัน

ผู้แปล : -

สำนักพิมพ์ : ฟ้าเดียวกัน

ปีที่พิมพ์ : 2561

จำนวนหน้า : 251

ซีรี่ส์:
-
พร้อมส่ง
ISBN:
9786167667744
ราคาพิเศษ ฿225.00 ราคาปรกติ ฿250.00

บทบรรณาธิการ

บททดสอบอันยิ่งใหญ่ของประชาธิปไตยไทย

26 ปีที่แล้วมีความพยายามในการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร รสช. ที่แม้จะมีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 เป็นฐานค้ำยันอำนาจ แต่ก็จบลงด้วยความล้มเหลวเพราะการลุกฮือของประชาชนในเหตุการณ์พฤษภาเลือด 2535 หลังจากนั้น ทหารที่เข้ามาแทรกแซงการเมืองด้วยการทำรัฐประหารตั้งแต่ปี 2490 ก็ต้องกลับกรมกอง เช่นเดียวกับระบอบทหารจากทั่วโลกที่ค่อยๆหมดพลังลงก่อนสิ้นศตวรรษที่ 20


หลังเหตุการณ์พฤษาเลือด 2535 คือบททดสอบอันยิ่งใหญ่ของประชาธิปไตยไทยว่าจะรอดพ้นการแทรกแซงจากทหารได้ตลอดไปหรือไม่ 5 ปีแรกคือการล้มลุกคลุกคลานมีการยุบสภา 3 ครั้งมีนายกรัฐมนตรี 4 คน (3 คนมาจากการเลือกตั้ง) แน่นอนว่าความไร้เสถียรภาพทางการเมืองเช่นนี้ทำให้หลายคนใฝ่ผันถึง “ระบอบเปรมาธิปไตย” ที่ผู้นำอยู่ในอำนาจยาวนานถึง 8 ปี 5 เดือน และซ้ำเติมด้วยวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ที่สร้างความสิ้นหวังให้กับคนจำนวนไม่น้อยท่ามกลางเสียงสาปแช่งนักการเมืองว่าทำให้เกิดวิกฤตดังกล่าว จนมีเสียงเรียกร้องให้อำนาจนอกระบอบเข้ามาแทรกแซงการเมืองอีกครั้ง ทว่าเสียงเรียกร้องนั้นไม่ได้ดังพอที่จะทำให้เกิดการตอบรับจากอำนาจนอกระบบ

ในอีกด้านหนึ่ง การเมืองในระบอบรัฐสภาที่ถึงจะล้มลุกคลุกคลานนั้นก็เปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้ ปรับตัวลองผิดลองถูก จนเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ที่ปราศจากการแทรกแซงโดยอำนาจนอกระบบ และมีหัวใจอยู่ที่แนวคิดสำคัญ 3 ประการคือ

หนึ่ง “ปิดทุจริต” สร้างองค์กรอิสระเพิ่มอำนาจศาล

สอง “เปิดประสิทธิภาพ” สร้างนายกรัฐมนตรีที่มีความเข้มแข็งและเอื้อต่อพรรคการเมืองขนาดใหญ่เพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเมือง
สาม “สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน” ด้วยกลไกรัฐธรรมนูญต่างๆพร้อมด้วยเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น


ทักษิณ ชินวัตร อดีตผู้แพ้ในการเลือกตั้งปี 2539 ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังธรรม คือผู้เห็นโอกาสจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และความบอบช้ำจากวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ได้ตั้งพรรคไทยรักไทยนำเสนอนโยบายแก้ปัญหาที่โดนใจประชาชนจนได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งปี 2544 นอกจากการพลิกฟื้นเศรษฐกิจและสร้างความนิยมในวงกว้างแล้ว สิ่งที่ทักษิณทำคือเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับทุนจาก “ระบบอุปถัมภ์แบบแข่งขัน” (competitive clientelism) มาสู่ “ระบบอุปถัมภ์กึ่งผูกขาด” (monopolistic clientelism) หรืออีกนัยหนึ่งทักษิณเปลี่ยนจากระบบกินแบ่งสู่ระบบกินรวบที่อำนาจรวมศูนย์อยู่ที่ตัวทักษิณเอง แต่สิ่งที่ทักษิณคาดไม่ถึงคือ นอกจากอำนาจทางเศรษฐกิจแล้วสังคมไทยยังมีอำนาจทางประเพณีที่ทักษิณไปก้าวล่วงด้วย ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดความตึงเครียดทางการเมืองขึ้นและนำไปสู่รัฐประหารปี 2549 ในที่สุดซึ่งอย่างที่ทราบกันดีว่าครั้งนั้นเป็นรัฐประหาร “เพื่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”


หลังรัฐประหารปี 2549 สังคมไทยได้ทดลองกลับไปสู่ระบอบทหารอีกครั้งนำโดยรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์จุลานนท์ ซึ่งปรากฏว่าเป็นการกลับไปที่ล้มเหลวทั้งยังสร้างความบาดหมางร้าวลึกให้กับสังคมไทยมากขึ้นอีก กล่าวคือ


ด้านหนึ่งทำให้กลุ่มที่สนับสนุนทักษิณเห็นว่านี่ไม่ใช่แค่ล้มทักษิณแต่เป็นการล้มประชาธิปไตยด้วย


ขณะที่อีกด้านหนึ่งทำให้กลุ่มต่อต้านทักษิณเห็นว่าคณะรัฐประหารยังทำลายล้างไม่มากพอ


ทั้งหมดจึงนำมาสู่การรัฐประหารปี 2557 ซึ่งเพิ่มความรุนแรงในระดับที่จะฝังรากลึกในสังคมไทยด้วยกลไกต่างๆ ที่คณะรัฐประหาร ภาคประชาสังคม และกลุ่มทุนได้ร่วมกันสร้างดังปรากฏในบทความ “ระบอบประยุทธ์: การสร้างรัฐทหารและทุนนิยมแบบช่วงชั้น” โดยประจักษ์ ก้องกีรติ และวีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร อย่างไรก็ตามถึงที่สุดแล้วไม่ว่าจะเป็นระบอบอะไรในศตวรรษที่ 21 ก็จะต้องมีการเลือกตั้งที่จะสร้างความชอบธรรมให้กับผู้ถือครองอำนาจ แม้ว่าการเลือกตั้งนั้นจะมีการวางกลไกเพื่อเอื้อให้ผู้ที่กำลังกุมอำนาจอยู่เพียงใดก็ตาม


ดังนั้น การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 หรือเมื่อใดก็ตาม จะเป็นการทดสอบครั้งยิ่งใหญ่ว่าระบอบรัฐประหารจะแฝงฝังอยู่ในสังคมไทยได้สำเร็จ หรือว่าคนไทยจะร่วมกับปฏิเสธมันและร่วมชูธงประชาธิปไตยได้อีกครั้ง




บทบรรณาธิการ

บททดสอบอันยิ่งใหญ่ของประชาธิปไตยไทย

ทัศนะวิพากษ์

ระบอบประยุทธ์ : การสร้างรัฐทหารและทุนนิยมแบบช่วงชั้น

ประจักษ์ ก้องกีรติ  วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร

การทำร้ายศพเมื่อ 6 ตุลา 2519 : ใคร อย่างไร ทำไม

พวงทอง ภวัครพันธุ์  ธงชัย วินิจจะกูล

ความอยุติธรรมในระยะไม่เปลี่ยนผ่าน : 8 ปีหลังเหตุการณ์สลายการชุมนุมในปี 2553

ศิวัช โสรีโภคางกุล

อ่านสี่ทศวรรษสัมพันธ์ไทย-จีน

เกษียร เตชะพีระ

อ่าน แผนที่สร้างชาติ  : หมู่บ้าน สงครามเย็น และกำเนิดความเป็นชาติ

ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล

บทตอบแบบย่นย่อต่อข้อวิจารณ์ของธนภาษว่าด้วย แผนที่สร้างชาติ

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ

วิจารณ์บทความปวงชน อุนจะนำ “กษัตริย์กระฎุมพี : มรดกทางประวัติศาสตร์จากรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี”

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

ประเมินหนังสือ การปฏิวัติที่ถูกตัดตอน : ตอบไทเรล ฮาเบอร์คอร์น

วันพัฒน์ ยังมีวิทยา

 

เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง
คุณกำลังรีวิว:ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561 (ระบอบประยุทธ์)
คะแนนของคุณ