บางเรื่องเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒
ISBN: 9786164860278
ผู้แต่ง : ปรีดี พนมยงค์
ผู้แปล : กษิดิศ อนันทนาธร: บรรณาธิการ
สำนักพิมพ์ : สยามปริทัศน์
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 4 สิงหาคม 2563
จำนวนหน้า : 160
75 ปี วันสันติภาพไทย
เห็นว่า หม่อมเจ้าหญิงอัปภัศราภา เทวกุล ก็ได้ประทานเล่าไว้..ซึ่งได้รับพระบรมราชานุญาตว่า "ถ้าเป็นจริงก็เล่าได้" นั้นแล้วก็ทำให้ข้าพเจ้ามีกำลังใจจัดทำหนังสือให้ชื่อว่า บางเรื่องเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยถือวิสาสะที่ท่านหญิงมีพระเมตตานั้น เชิญคำประทานเล่าบางตอนในหนังสือเล่มนั้นมาลงพิมพ์ไว้ เป็นเรื่องประเดิมเริ่มแรก
ต่อไปก็มีเรื่องของ นายป๋วย อึ๊งภากรณ์ "พระบรมวงศานุวงศ์กับขบวนการเสรีไทย"
ในส่วนข้าพเจ้าก็จะได้นำบางเรื่องที่เกี่ยวกับความเป็นไปบางประการภายในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งผู้อยู่ภายนอกอาจยังไม่ทราบ หรือทราบบ้างก็เป็นข่าวลือทอดๆ กัน
- ปรีดี พนมยงค์
๑๑ พฤษภาคม ๒๕๑๕
“บางเรื่องเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2” เป็นหนังสือรวมบทความเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์ ขบวนการเสรีไทย และเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ในประเทศไทย รวบรวมและร่วมเขียนโดย นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งในห้วงของสงคราม เป็นทั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และหัวหน้าขบวนการเสรีไทย
บทความแรกของ ม.จ.อัปภัศราภา เทวกุล เล่าถึงการถวายความปลอดภัยแด่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า โดยนายปรีดี พนมยงค์ รวมถึงเกร็ดทางประวัติศาสตร์หลายเรื่อง เช่น พระราชกระแสที่สมเด็จพระพันวัสสาฯ มีต่อนายปรีดีฯ เป็นต้น
บทความถัดมาของ นายป๋วย อึ๊งภากรณ์ เล่าเรื่องพระบรมวงศานุวงศ์กับขบวนการเสรีไทย ในประเด็นที่น่าสนใจ คือ การสมานไมตรีระหว่าง ม.จ.ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน กับนายปรีดีฯ เพราะ ม.จ.ศุภสวัสดิ์ฯ ซึ่งเป็นแกนนำเสรีไทยสายอังกฤษ มีจุดยืนทางการเมืองอย่างตรงกันข้ามกับคณะราษฎรมาก่อน แต่ในห้วงเวลาแห่งสงครามนั้น นายปรีดีฯ ยืนยันชัดเจนว่า การเมืองในประเทศจะไม่เป็นปัญหาในการทำงานร่วมกัน และบรรดานักโทษการเมืองที่อยู่ในคุก ทางฝ่ายนายปรีดีฯ จะดำเนินการนิรโทษกรรมให้อีกด้วย
บทความสุดท้ายเป็นของ นายปรีดี พนมยงค์ ที่เขียนเล่าเรื่องความเป็นไปภายในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยให้ความรู้พื้นฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการสืบราชสันตติวงศ์ย้อนไปตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์จนมาถึงรัชกาลที่ 8 และเล่าเบื้องหลังการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในยุคนั้นจนมาถึงตน และบทบาทของนายปรีดีฯ เอง ระหว่างเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าขบวนการเสรีไทยไปด้วย
สำหรับฉบับพิมพ์ครั้งที่ 4 นี้ มีการปรับปรุงใหม่จากฉบับก่อนหน้านี้หลายประการ เช่น การเพิ่มเติมภาพประกอบ และภาพบุคคลที่เกี่ยวข้อง การทำสาแหรกอธิบายความสัมพันธ์ของบุคคลที่กล่าวถึง และการนำภาคผนวกที่นายปรีดีฯ เขียนอธิบายเพิ่มเติมเรื่องไว้ในภายหลัง มาแทรกในระหว่างเนื้อหา เพื่อความสะดวกในการอ่าน
นอกจากนี้ ตอนท้ายเล่ม ยังมีการนำบันทึกการจัดงานครบรอบ 74 ปี วันสันติภาพไทย ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มารวมพิมพ์ไว้ด้วย อาทิ การเสวนาเรื่อง “รำลึกถึงเสรีไทย รำลึกถึงวิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร” โดย ดุษฎี พนมยงค์ พล.อ. บัญชร ชวาลศิลป์ และนริศ จรัสจรรยาวงศ์
สารบัญ
คำนำ
- รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ
บทบรรณาธิการ
- กษิดิศ อนันทนาธร
บางเรื่องเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒
คำนำการพิมพ์ครั้งที่ ๒
- ปรีดี พนมยงค์
คำปรารภ
- ปรีดี พนมยงค์
การถวายความปลอดภัยแด่สมเด็จพระศรีสวรินทิราพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และพระบรมวงศานุวงศ์ในระหว่างสงคราม
- ม.จ.อัปภัศราภา เทวกุล
พระบรมวงศานุวงศ์และขบวนการเสรีไทย
- ป๋วย อึ๊งภากรณ์
ความเป็นไปภายในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
- ปรีดี พนมยงค์
ภาคผนวก: อนุสนธิจากปาฐกถาของนายควง อภัยวงศ์
กิจกรรมรำลึก ๗๔ ปี วันสันติภาพไทย
คำกล่าวเปิดงาน
- พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
คำกล่าวรำลึกจากผู้แทนนักศึกษา
- องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ชุมนุมศึกษาพุทธศาสตร์และประเพณี
- ชมรมมุสลิม
- ชมรมาคริสเตียน
การเสวนาเรื่อง "รำลึกถึงเสรีไทย รำลึกถึงวิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร"
- ดุษฎี พนมยงค์ บุญทัศนกุล
- พลเอก บัญชร ชวาลศิลป์
- นริศ จรัสจรรยาวงศ์
- เคท ครั้งพิบูลย์