อัสดงคตมายา: ภาพลวงตาของโลกตะวันตกต่อธรรมชาติมนุษย์
ISBN: 9786168215135
แปลจากหนังสือ : The westen illusion of human nature
ผู้แต่ง : มาร์แชล ซาห์ลินส์ (Marshall Sahlins)
ผู้แปล : เก่งกิจ กิติเรียงลาภ และพนา กันธา
สำนักพิมพ์ : ILLUMINATIONS EDITIONS
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2562
จำนวนหน้า : 270
อัสดงคตมายา
ภาพลวงตาของโลกตะวันตกต่อธรรมชาติมนุษย์
บทสะท้อนย้อนคิดต่อประวัติศาสตร์อันยาวนานของการจัดลำดับชั้นทางสังคม ความเสมอภาคและการทำลายล้างสภาวะไร้รัฐในโลกตะวันตก และข้อคิดเห็นเชิงเปรียบเทียบต่อมโนทัศน์ที่แตกต่างไปเกี่ยวกับมนุษย์สภาวะ
The Western Illusion of Human Nature: With Refections on the Long History of Hierarchy,Equality,and the Sublination of Anarchy in the West,and Comparative Notes on Other Conceptions of the Human Condition
พร้อมรับ หนังสือ 'Object-Oriented Ontology ในหนึ่งชั่วโมง' (OOO) ฟรี!!
ข้อเสนอหลัก ๆ ของซาห์ลินส์คือชี้ให้เห็นว่า คอนเซปต์เรื่องภาวะธรรมชาติ (State of Nature) ที่เป็นหัวใจของการถกเถียงทางการเมือง ปรัชญา ฯลฯ ในปัจจุบัน เป็นเพียงความเข้าใจโลกแบบคับแคบของชาวตะวันตกซะส่วนมาก การแบ่งแยกธรรมชาติออกจากมนุษย์อย่างเสร็จสรรพ และชี้ว่า มนุษย์ในสภาพธรรมชาตินั้น โหดร้าย เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว วุ่นวาย เป็นอนาธิปัตย์ และจำเป็นต้องมีอะไรบางอย่างหรือใครบางคนที่มีอำนาจสูงสุดมาควบคุมนั้น เป็นฐานคิดที่ส่งผ่านต่อ ๆ กันมาจากสังคมกรีก จากธุซิดิดิส ไปสู่ฮอบส์ สู่สังคมอเมริกันที่อ่านฮอบส์และธุซิดิดิสอีกทีนึง
การพูดถึงภาวะธรรมชาติจึงเป็นเรื่องไร้สาระในสังคมอื่น ๆ ซาห์ลินส์เสนอว่า เรื่องง่าย ๆ ที่คนที่เชื่อในภาวะธรรมชาติในความหมายนี้ทำเป็นไม่สนใจก็คือ เอาเข้าจริง ภาวะธรรมชาติในที่อื่น ๆ สังคมอื่น ๆ ไม่ได้มีอยู่จริง หรือไม่มีมีรูปแบบเดียวกับโลกตะวันตกเลย
ถ้าเราเชื่อว่ามนุษย์ในภาวะธรรมชาติโหดร้ายและเห็นแก่ตัว แล้วเราจะอธิบายสังคมแบบเครือญาติที่ทุกคนเชื่อมโยงกันในฐานคนเผ่าพันธุ์เดียวกัน ทั้งบนฐานของสายเลือดหรือไม่ เพราะทุกคนเป็นบุตรของพระเจ้าองค์เดียวกัน และจำต้องคอยดูแลกัน และในบางกรณีผูกผันตั้งแต่เกิดจนตาย ได้อย่างไร? ทำนองเดียวกับเวลาที่เราพูดถึงมนุษย์เป็นปัจเจกชนที่แยกขาดจากคนอื่น เราอธิบายมนุษย์ที่ชีวิตเชื่อมโยงกันจนความเจ็บป่วยหรือความตายของคนหนึ่งมีผลกระทบต่อคนอื่น ๆ หรือทั้งชุมชนที่เขาอาศัยอยู่ ได้อย่างไร?
ดีงามมาก ๆ แนะนำเลย โดยเฉพาะสำหรับคนที่ไม่ได้สนใจงานแนวมานุษยวิทยาเลย
บางส่วนของบทรีวิวหนังสือเล่มนี้ของ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ ใน goodreads