“พระสไตล์” การทรงสอนประวัติศาสตร์ รวมข้อเขียนเฉลิมพระเกียรติ “๔๑ ปี ทูลกระหม่อมอาจารย์”
ISBN: 9786165867306
ผู้แต่ง : พันเอก ดร.สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน 2564
จำนวนหน้า : 272
ช่วงเวลานี้ชีวิตคือการถูกล็อค โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์เกษียณ เพราะติดโรคง่าย จึงได้แต่อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ เขียนรูป และหาต้นไม้ดอกไม้มาปลูก จนใครๆว่าบ้านข้าพเจ้าไม่ใช่แค่สวนสมรม แต่เป็นสวมมหาสมรม ในแง่การสอนวิชาประวัติศาสตร์ในกองประวัติศาสตร์ของเรา มีทั้งวิชาบังคับและวิชาเลือก ยิ่งสอนวิชาบังคับยิ่งเครียด กลัวจะไม่น่าสนใจ ไม่มีประโยชน์ ประวัติศาสตร์ในที่นี้คือ ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของโลก ของประเทศ ท้องถิ่น และบุคคล เริ่มต้นด้วยสภาพธรรมชาติของโลก ของจักรวาล ต่อมาเป็นเรื่องของสังคมวัฒนธรรมซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมความเป็นไปของความเป็นอยู่ของคน การตัดสินใจของคนที่เป็นผู้นำ ซึ่งบางทีก็มามีอิทธิพลต่อบุคคลทั่วไป เพิ่มพูนความรู้ในวิชาการอย่างไม่น่าเชื่อ เรื่องทุกเรื่องมีประวัติ จะยกตัวอย่างที่เพิ่งประสบมาคือ ไม่กี่วันนี้กรมวิชาการเกษตรให้หนังสือมาเล่มหนึ่งชื่อกล้วยโบราณพื้นบ้านภาคใต้ เมื่อสี่ปีกว่ามานี้ข้าพเจ้าได้ไปที่สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เห็นเอกสารที่ข้าราชการปัตตานีและยะลาถวายกล้วยปักษ์ใต้ แด่พระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ข้าพเจ้าสนใจจึงขอให้เจ้าหน้าที่เกษตรหามาปลูกไว้ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง ที่จังหวัดนาราธิวาส ให้ประชาชนที่สนใจได้ศึกษา กรมวิชาการเกษตรได้ทำหนังสือกล้วยโบราณ พื้นบ้านภาคใต้
(ส่วนหนึ่งของพระราชนิพนธ์ “คำนิยม”)
ช่วงเวลานี้ชีวิตคือการถูกล็อค โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์เกษียณ เพราะติดโรคง่าย จึงได้แต่อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ เขียนรูป และหาต้นไม้ดอกไม้มาปลูก จนใครๆว่าบ้านข้าพเจ้าไม่ใช่แค่สวนสมรม แต่เป็นสวมมหาสมรม ในแง่การสอนวิชาประวัติศาสตร์ในกองประวัติศาสตร์ของเรา มีทั้งวิชาบังคับและวิชาเลือก ยิ่งสอนวิชาบังคับยิ่งเครียด กลัวจะไม่น่าสนใจ ไม่มีประโยชน์ ประวัติศาสตร์ในที่นี้คือ ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของโลก ของประเทศ ท้องถิ่น และบุคคล เริ่มต้นด้วยสภาพธรรมชาติของโลก ของจักรวาล ต่อมาเป็นเรื่องของสังคมวัฒนธรรมซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมความเป็นไปของความเป็นอยู่ของคน การตัดสินใจของคนที่เป็นผู้นำ ซึ่งบางทีก็มามีอิทธิพลต่อบุคคลทั่วไป เพิ่มพูนความรู้ในวิชาการอย่างไม่น่าเชื่อ เรื่องทุกเรื่องมีประวัติ จะยกตัวอย่างที่เพิ่งประสบมาคือ ไม่กี่วันนี้กรมวิชาการเกษตรให้หนังสือมาเล่มหนึ่งชื่อกล้วยโบราณพื้นบ้านภาคใต้ เมื่อสี่ปีกว่ามานี้ข้าพเจ้าได้ไปที่สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เห็นเอกสารที่ข้าราชการปัตตานีและยะลาถวายกล้วยปักษ์ใต้ แด่พระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ข้าพเจ้าสนใจจึงขอให้เจ้าหน้าที่เกษตรหามาปลูกไว้ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง ที่จังหวัดนาราธิวาส ให้ประชาชนที่สนใจได้ศึกษา กรมวิชาการเกษตรได้ทำหนังสือกล้วยโบราณ พื้นบ้านภาคใต้
(ส่วนหนึ่งของพระราชนิพนธ์ “คำนิยม”)
สารบัญ
พระราชนิพนธ์ “คำนิยม”
คำนิยม
คำนำผู้เขียน
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 ปรัชญาการศึกษา 41 ปี : พระราชทานการทรงสอนให้ผู้เรียนมีความสุข
บทที่ 3 41 ปี ทูลกระหม่อมอาจารย์ : ตามเสด็จฯ ทัศนศึกษาและเข้าใจโลกกว้าง
บทที่ 4 41 ปี ทูลกระหม่อมอาจารย์ : ทหารกับการพัฒนาประเทศ
บทที่ 5 41 ปี ทูลกระหม่อมอาจารย์ : การทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
บทที่ 6 41 ปี ทูลกระหม่อมอาจารย์ : พระราชภารกิจด้านการให้บริการทางวิชาการ
บทที่ 7 41 ปี ทูลกระหม่อมอาจารย์ : พระราชภารกิจด้านการวิจัยและการรวบรวมจัดเก็บหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทยจากต่างประเทศ
บทที่ 8 โครงการวิจัยและการสัมมนาวิชาการเฉลิมพระเกียรติ 40 ปี ทูลกระหม่อมอาจารย์ เรื่อง 70 ปี ไทยกับสงครามเกาหลี และ 41 ปี ทูลกระหม่อมอาจารย์ เรื่อง 54 ปี การก่อตั้ง ‘อาเซียน’ และปฎิกิริยาจากโลกมหาอำนาจและเพื่อนบ้าน: มุมมองจากเอกสารหอจดหมายเหตุต่างกระเทศและนักวิชาการอาวุโส
บทที่ 9 41 ปี ทูลกระหม่อมอาจารย์ : ปรัชญาการทรงสอนศาสตร์ความมั่นคงใน 4 ทศวรรษ
บทที่ 10 บทสรุป
ประวัติผู้เขียน