รัฐศาสตร์สาร ปีที่ 42 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน 2564)
ISBN: 9786165824644
ผู้แต่ง : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จำนวนหน้า : 130
“รัฐศาสตร์สาร” (Political Science Journal) เป็นวารสารวิชาการฉบับแรกของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีความเป็นมายาวนานและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในวงการสังคมศาสตร์ไทย วารสารฉบับนี้ก่อตั้งขึ้นปี พ.ศ. 2521 เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความรู้และทัศนะที่เป็นประโยชน์ ตลอด 4 ทศวรรษที่ผ่านมา “รัฐศาสตร์สาร” ได้นำเสนอผลงานวิจัยและงานเขียนอันทรงคุณภาพจำนวนนับไม่ถ้วนจากผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาวิชา ทั้งรัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และจิตวิทยา บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “รัฐศาสตร์สาร” มักถูกเอาไปใช้เป็นเอกสารประกอบการสอนตามมหาวิทยาลัย ตลอดจนเป็นงานอ้างอิงสำหรับการวิจัย ทางกองบรรณาธิการมีความมุ่งมั่นที่จะรักษามาตรฐานการตีพิมพ์ รวมทั้งคอยคัดเลือกผลงานที่ทันสมัยมานำเสนอผู้อ่าน
นโยบายของวารสาร
จุดมุ่งหมาย:
“รัฐศาสตร์สาร” เป็นวารสารวิชาการฉบับแรกของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เป็นสื่อกลางสำหรับแลกเปลี่ยนนานาทัศนะในหมู่นักวิชาการและเผยแพร่ความรู้ด้านสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ ทั้งในรูปบทความวิจัย บทความวิชาการ บทความแปล และบทปริทัศน์หนังสือ
ขอบเขตสาขาวิชาของผลงานที่ตีพิมพ์:
- การเมืองการปกครอง
- การระหว่างประเทศ
- การบริหารรัฐกิจ
- นิติศาสตร์
- เศรษฐศาสตร์
- ประวัติศาสตร์
- ปรัชญา
- สังคมวิทยา
- มานุษยวิทยา
- วารสารศาสตร์
กำหนดการตีพิมพ์:
“รัฐศาสตร์สาร” เป็นวารสารราย 4 เดือน มีกำหนดออกปีละ 3 ฉบับ ดังนี้
- ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน
- ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม
- ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม
ประเภทผลงานที่ตีพิมพ์:
- บทความวิจัย (Research article)
- บทความวิชาการ (Academic article)
- บทความแปล (Translated article)
- บทความปริทัศน์หนังสือ (Book review)
กระบวนการพิจารณาบทความ:
ผลงานทุกชิ้นที่ได้รับตีพิมพ์ในวารสาร “รัฐศาสตร์สาร” จะต้องผ่านการประเมินคุณภาพทางวิชาการโดยกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒินิรนามที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจำนวนอย่างน้อย 2 ท่าน (Double-blind peer review) โดยกระบวนการทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน จรรยาบรรณและความรับผิดชอบของผู้เขียน: ผลงานที่เสนอต่อวารสาร “รัฐศาสตร์สาร” จะต้องเป็นผลงานที่ไม่อยู่ในกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ของวารสารวิชาการอื่น นอกจากนี้ ผู้เขียนต้องไม่ละเมิด หรือคัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) ซึ่งถือเป็นการละเมิดจรรยาบรรณทางวิชาการอย่างร้ายแรง
สารบัญ
- บทบรรณาธิการ
- การบูรณาการระหว่างศาสตร์ภายใต้การเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม ประเภทวัดในจังหวัดนครนายก
- การบริโภคข่าวสารการเมืองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
- การอภิบาลเชิงการกำกับกฎเกณฑ์
- การศึกษาแนวทางนโยบายการเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ในประเทศไทย
บทแนะนำหนังสือ
- Michael Sandel, The Tyranny of Merit What’s Become of the Common Good?: “Hyperagency” ผู้ทำงานหนักเพื่อเลื่อนฐานะคือคำหรูๆของ Meritocracy