Kledthai.com

ตะกร้า 0

น้ำตาเหือด แล้วเลือดตก : สาธกการเมืองไทยในวรรณกรรมโลก

ISBN: 9786165620222

ผู้แต่ง : ไชยันต์ รัชชกูล

ผู้แปล : -

สำนักพิมพ์ : สมมติ

ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2564

จำนวนหน้า : 400

ซีรี่ส์:
-
พร้อมส่ง
ISBN:
9786165620222
ราคาพิเศษ ฿405.00 ราคาปรกติ ฿450.00

งานเขียนชุด น้ำตาเหือด แล้วเลือดตก เล่มนี้ของอาจารย์ไชยันต์ น่าจะเรียกได้ว่าเป็นอาการสุดขั้วของการประหวัดที่ว่า ชนิดที่ว่าใช่แต่เพียงคนเขียนเท่านั้น กระทั่งคนอ่านก็พานจะต้องตกอยู่ในภาวะเดียวกันไปเสียทั้งหมด ทั้งนี้เพราะงานเขียนชุดนี้ล้วนตีพิมพ์อยู่ในวารสาร อ่าน ในทศวรรษ 2550 ในท่ามกลางการต่อสู้ทางการเมืองที่มิใช่เป็นเพียงสงครามระหว่างสีดังที่มักเรียกกัน หากยังเป็นสมรภูมิโรมรันระหว่างฝ่าย ‘ซาบซึ้ง’ น้ำตาไหล กับฝ่ายที่น้ำตาเหือดแล้วเลือดไหล อันเป็นปัจจัยให้ต้องอาศัยการประหวัดมาช่วยทำให้ความหมายของสิ่งที่พูดได้บ้างไม่ได้บ้างในระหว่างสงครามนั้นแจ่มชัดแหลมคมขึ้น ความที่นัยประหวัดในแต่ละบทความผูกพันอยู่กับภาวะความขัดแย้งที่กำลังดำเนินไปในช่วงเวลานั้น เมื่อตัวบทความย้ายที่ทางมารวมเล่มไว้อีกแห่งในอีกหนึ่งทศวรรษให้หลัง ก็ทำให้เกิดความท้าทายในแง่ภูมิรู้เบื้องหลังสำหรับการอ่านย้อนอดีต ที่แม้จะถือว่าเป็นระยะใกล้ แต่ก็ไกลอย่างมีนัยสำคัญตรงที่มันดันข้ามผ่านมาแล้วอีกรัชสมัย การจะเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในสมัยก่อนหน้าจึงมิใช่จะอาศัยแต่การค้นคว้าเชิงข้อมูลเท่านั้น หากยังต้องจินตนาการไปถึงความรู้สึกนึกคิดหรือ  mentality  ที่ต่างไปของผู้คนในรัชกาลก่อนด้วย

บางส่วนคำนำ ไอดา อรุณวงศ์ | บรรณาธิการ

 

หนังสือ น้ำตาเหือด แล้วเลือดตก : สาธกการเมืองไทยในวรรณกรรมโลก มาพร้อมกับที่คั่นหนังสือ 1 ชิ้น

งานเขียนชุด น้ำตาเหือด แล้วเลือดตก เล่มนี้ของอาจารย์ไชยันต์ น่าจะเรียกได้ว่าเป็นอาการสุดขั้วของการประหวัดที่ว่า ชนิดที่ว่าใช่แต่เพียงคนเขียนเท่านั้น กระทั่งคนอ่านก็พานจะต้องตกอยู่ในภาวะเดียวกันไปเสียทั้งหมด ทั้งนี้เพราะงานเขียนชุดนี้ล้วนตีพิมพ์อยู่ในวารสาร อ่าน ในทศวรรษ 2550 ในท่ามกลางการต่อสู้ทางการเมืองที่มิใช่เป็นเพียงสงครามระหว่างสีดังที่มักเรียกกัน หากยังเป็นสมรภูมิโรมรันระหว่างฝ่าย ‘ซาบซึ้ง’ น้ำตาไหล กับฝ่ายที่น้ำตาเหือดแล้วเลือดไหล อันเป็นปัจจัยให้ต้องอาศัยการประหวัดมาช่วยทำให้ความหมายของสิ่งที่พูดได้บ้างไม่ได้บ้างในระหว่างสงครามนั้นแจ่มชัดแหลมคมขึ้น ความที่นัยประหวัดในแต่ละบทความผูกพันอยู่กับภาวะความขัดแย้งที่กำลังดำเนินไปในช่วงเวลานั้น เมื่อตัวบทความย้ายที่ทางมารวมเล่มไว้อีกแห่งในอีกหนึ่งทศวรรษให้หลัง ก็ทำให้เกิดความท้าทายในแง่ภูมิรู้เบื้องหลังสำหรับการอ่านย้อนอดีต ที่แม้จะถือว่าเป็นระยะใกล้ แต่ก็ไกลอย่างมีนัยสำคัญตรงที่มันดันข้ามผ่านมาแล้วอีกรัชสมัย การจะเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในสมัยก่อนหน้าจึงมิใช่จะอาศัยแต่การค้นคว้าเชิงข้อมูลเท่านั้น หากยังต้องจินตนาการไปถึงความรู้สึกนึกคิดหรือ  mentality  ที่ต่างไปของผู้คนในรัชกาลก่อนด้วย

บางส่วนคำนำ ไอดา อรุณวงศ์ | บรรณาธิการ

สารบัญ

คำนำ โดย ไอดา อรุณวงศ์ 

คำนำผู้เขียน โดย ไชยันต์ รัชชกูล

สร้อยเศร้า ถึงพระเจ้าซาร์ 

เสือเผือก : ไม่ฆ่านายไม่หายจน 

(สำเนียกให้จงดี) แผ่นดินนี้ใครครอง 

ขอตราชูตราช้างยั้งยืนยง ขอ ‘ราชประสงค์’ เป็นธงชัย มุสายศอยู่คู่ไทย เชิดไชย ชโย 

ไม้ซีก ฤาจะงัดไม้ซุง 

โกโกล : ผู้ชวนให้ขำกับความขมของชีวิต 

ไยเรียกร้องรัก จึงเหี้ยมหักหาญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเลียร์ (KING LEAR) 

ไกลจาก ความอึงอล 

คาฟคาเขียนให้ใครอ่าน และใครควรอ่านคาฟคา? 

ดรรชนี

เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง
คุณกำลังรีวิว:น้ำตาเหือด แล้วเลือดตก : สาธกการเมืองไทยในวรรณกรรมโลก
คะแนนของคุณ