อยู่กับสามจอมพล
ISBN: 9786164785250
ผู้แต่ง : ภราดร ศักดา
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : ยุคใหม่ 2562
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2562
จำนวนหน้า : 200
"...ผมเขียนด้วยความจำ ที่ยังคงจำติดตา จากรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งครองอำนาจมายาวนาน ถึง จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ต่อท่ออำนาจมาถึง จอมพล ถนอม กิตติขจร จวบจนถึง ๑๔ ตุลา. ๒๕๑๖..
ในเกือบทุกเหตุการณ์เรื่องราว ผมเคยได้ยินกับหู ได้รู้เห็นกับตาถึงหลายสิ่งอันที่ไม่ถูกเปิดเผยมาก่อน มันเป็น ประสบการณ์ล้วนๆ ที่ผมอยู่ในช่วงการใช้ชีวิตเป็นนักเขียน นักข่าว...ยุคสามจอมพล จึงอยากนำมาถ่ายทอดให้เป็นสาระเรียนรู้ของคนรุ่นต่อไป..."
-ภราดร ศักดา
ทุกอย่างในโลกนี้...มีสภาพไม่ต่างไปจากโลกหมุนรอบตนเอง คือเป็นวัฏจักร หรือ กฏแห่งไตรลักษณ์ ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แลดับไป ด้วยเหตุนี้ร่องรอยแห่งอดีตแม้จะนานบ้าง ไม่นานบ้าง ก็มิได้หนีไปไกลห่างจากปัจจุบันเลย ยังคงวนเวียน ให้เลียน ให้ลอก ให้กรอกเป็นบทเรียนในทุกทิวาราตรีกาลหากทุกครั้งเมื่อต้องการเป็นเลาทางใดๆ
สารบัญ
ปฐมบทประชาธิปไตย
เริ่มยุคแรกและ "จอมพลคนแรก" จอมพล ป.พิบูลสงคราม
๑ สงครามอินโดจีนและเพลงปลุกใจ "มณฑลบูรพา"
๒ ยึด "นครจำปาศักดิ์" ชาวเมืองไชโยโห่ร้อง และยึด "มณฑลบูรพา" คืน ชักธงไตรรงค์ขึ้น ไทยตั้งจังหวัด "พิบูลสงคราม"
๓ จากสงครามโลกครั้งที่ ๒ ถึง "รัฐนิยม"
๔ กองทัพญี่ปุ่นเข้าพม่า กองทัพไทยมีหน้าที่บุกเข้ายึด "รัฐฉานตะวันออก" มีเป้าหมายยึดเชียงตุง ไปยันกองทัพจีนที่สอบสองปันนา
๕ ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ "น้ำท่วมใหญ่"
๖ "ขบวนการเสรีไทย" เข้าตลบหลังแนวรบญี่ปุ่น สงครามโลกครั้งที่ ๒ จบลง จอมพล ป. ออกจากเวทีการเมือง (ชั่วคราว)
๗ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ จอมพล ป. เริ่มเข้ามามีอำนาจใหม่
๘ กลุ่ม "ยังเติร์ก" ทหารเรือ ไม่พอใจผลงานรัฐบาลใช้ปืนจี้ จอมพล ป. ในวันรับมอบเรือ "แมนฮัตตัน"
๙ "สงครามสื่อ" เพื่อช่วงเชิงการได้เปรียบในทุกวิถีทางของแต่ละฟากฝั่ง
๑๐ จาก ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ชน "เผด็จการ" ตัวจริงถึงสงครามเกาหลี
๑๑ ส.ว. ในยุค จอมพล ป. เรียก "ส.ส. ประเภทสอง" สื่อมวลชนเรียก "ส.ส. ฝักถั่ว"
๑๒ คณะนักหนังสือพิมพ์ของไทยเดินทางไปเยือนกัมพูชาสมเด็จนโรคมสีหนุลี้ภัยในไทย คนหนังสือพิมพ์เร่งเร้าให้เจรจา "เขาพระวิหาร"
๑๓ สร้าง "พุทธมณฑล" ฉลองกึ่งพุทธกาล เสริมบารมีแต่บารมีไม่ถึง จอมพล ป. ถูกขับออกนอกประเทศ
๑๔ โกงเลือกตั้งมโหฬารที่ "เขตดุสิต" ประชาชนไม่พอใจไฮปาร์คที่สนามหลวงถล่มรัฐบาล จนเกิดปฏิกิริยานักศึกษาธรรมศาสตร์ทนไม่ไหว บุกทำเนียบประท้วงหนัก
๑๕ ปลายทางของ "เผด็จการ" ไม่มีรายใดจบอย่าง "วีรบุรุษ"
ยุคจอมพลที่ ๒
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
๑๖ พ้นยุคเผด็จการยุคแรก เปลี่ยนผ่าน แต่เป็นยุค "เผด็จการซ่อนรูป" ที่ดูยาก
๑๗ รัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ "เลิกผิ่น ปราบคอมมิวนิสต์ กวาดผู้กว้างขวางเข้าคุก" ออกดูแลความสงบ
๑๘ ชีวิตรักของชายชาติทหารที่ชื่อ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และวาระสุดท้ายของ "จอมพลนักรักบันลือโลก"
๑๙ หลายเรื่องราวหลัง "อสัญกรรม" ทั้งเรื่องดี เรื่องร้าย
ยุคจอมพลคนที่ ๓
จอมพล ถนอม กิตติขจร
๒๐ เริ่มแรก ยังเขินอายกับความเป็นเผด็จการ
๒๑ รัฐบาลเข้าตาจน ใช้อำนาจ "เผด็จการ"
๒๒ วันที่ ๑๔ ตุลาฯ "วันมหาวิปโยค" ท้องฟ้าผ่องอำไพประชาชนเป็นใหญ่
๒๓ นักศึกษาออกมาประท้วงเต็มบ้านเต็มเมืองขับไล่ "สามทรราชย์" ผู้คนล้มตายสังเวยประชาธิปไตย