จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม (ปกแข็ง สันโค้ง)
ISBN: 9786164371521
แปลจากหนังสือ : The Kingdom of Siam Simon de La Loubere
ผู้แต่ง : มองซิเออร์ เดอะ ลาลูแบร์/
ผู้แปล : สันต์ ท. โกมลบุตร
สำนักพิมพ์ : ศรีปัญญา
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 5 ปี พ.ศ. 2565
จำนวนหน้า : 688
The Kingdom of Siam Simon de La Loubere
จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม
มองซิเออร์ เดอะ ลาลูแบร์-เขียน
สันต์ ท. โกมลบุตร-แปล
“จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม” ฉบับนี้ “ลา ลูแบร์” ได้พรรณนาถึงกรุงศรีอยุธยาไว้อย่างกว้างขวาง มีข้อความเป็นประโยชน์ชัดเจน ทั้งด้านเศรษฐกิจ การกินอยู่ การแต่งงาน ขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ตลอดจนเรื่องราวทั่วๆ ไป ไม่เฉพาะแต่เท่านี้ ลา ลูแบร์ยังวิพากษ์วิจารณ์ไปถึงการเมืองการปกครองในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ไว้มากมายหลายเรื่อง
จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม
หนังสือเล่มนี้เป็นหลักฐานชั้นต้น เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สยามสมัย กรุงศรีอยุธยา เมื่อ 324 ปีล่วงมาแล้ว เป็นหลักฐานที่สำคัญมากเพราะว่า เขียนโดย ผู้ที่เห็นเหตุการณ์และเป็นคนฉลาดช่างสังเกต ทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมสยาม โดยเฉพาะคนในกรุงศรีอยุธยาที่ละเอียดอย่างไม่เคยมีใครทำมาก่อน ในขณะที่ หลักฐานซึ่งคนไทยบันทึกมีน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่ถูกเผาไปตอนเสียกรุงศรีอยุธยา ให้พม่าในพ.ศ. 2310 อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะพงศาวดารไทยมักบันทึกเรื่องของ ราชวงศ์สงครามและการเมืองแต่เรื่องของชาวบ้านชีวิตความเป็นอยู่ไม่มีใครบันทึกเอาไว้
มองซิเออร์เดอ ลา ลูแบร์(Simon de la Loubere) เป็นเอกอัครราชทูต ฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์ที่14ออกเดินทางจากท่าเรือเมืองเบรสต์ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1687 เรือมาถึงกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่ 27 กันยายน ปีเดียวกัน รวมเวลาเดินทางขามา 211 วัน เขาพำนักอยู่ในเมืองไทย 3 เดือน 6 วัน เพื่อถวายพระราชสาสน์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ต่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แล้วออกจากกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ.1688 มาถึงท่าเรือเมืองเบรสต์ เมื่อวันที่27 กรกฎาคม ปีเดียวกัน รวมเวลาเดินทางขากลับ 206 วัน
.
หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาที่ยาวมาก แบ่งเนื้อหาเป็น 3 ตอนกับ 1 ภาคผนวก
ตอนที่ 1 ว่าด้วยประเทศสยาม มี 9 บท กล่าวคือลักษณะทางภูมิศาสตร์ ผลผลิตของประเทศ ป่าไม้เหมืองแร่ การเกษตร (การทำนา ทำสวน) และ ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของคนสยาม
ตอนที่ 2 ว่าด้วยขนบธรรมเนียมของชาวสยามโดยทั่วๆ ไป มี 15 บท ประกอบด้วย การแต่งกาย รูปร่างของชาวสยาม บ้านเรือน เครื่องเรือน ข้าวของ เครื่องใช้ยานพาหนะ การแสดงการละเล่น การแต่งงานและการหย่าร้าง การศึกษา อบรม วิชาแพทย์วิชาเคมีวิชาคำนวณ ดนตรีกรีฑา การช่าง การค้าขาย และอุปนิสัย ของชาวสยาม
ตอนที่ 3 ว่าด้วยจารีตของชาวสยามตามชั้นบุคคลในฐานะต่างๆ ขุนนาง ตุลาการและระบบการศาล เสนาบดีฝ่ายพลเรือน ฝ่ายทหาร พระคลังและการคลัง พระราชลัญจกร พระมหาอุปราช พระบรมมหาราชวัง กองทหารรักษาพระองค์ สตรีในพระบรมมหาราชวัง กรมภูษามาลา ธรรมเนียมในราชสำนัก การทูต ชาวต ่างประเทศที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในสยาม พระภิกษุ และสังฆาวาส ลัทธิศาสนาของภิกษุ การปลงศพของชาวสยามและชาวจีน ความบรมสุขและ บรมทุกข์ของชาวสยาม ข้อควรระวังในการเผยแพร่ศาสนาของชาวตะวันตก