Kledthai.com

ตะกร้า 0

WiTThai เล่ม 2 เรียนรู้อย่างรีแล็กซ์ผ่านบทสนทนากับนักวิจัยไทย

ISBN: 9786164171008

ผู้แต่ง : แทนไท ประเสริฐกุล,ลินินา พุทธิธาร,อาจวรงค์ จันทมาศ

ผู้แปล : -

สำนักพิมพ์ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ปีที่พิมพ์ : 2561

จำนวนหน้า : 206

พร้อมส่ง
ISBN:
9786164171008
ราคาพิเศษ ฿225.00 ราคาปรกติ ฿250.00

นักวิจัยไทยเค้าวิจัยอะไรกันบ้าง?
ประเทศเราจริงๆ แล้วมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทั้งรุ่นใหม่รุ่นใหญ่ที่อุทิศตนหาคำตอบให้กับคำถามสำคัญๆ อยู่มากมายเต็มไปหมด แต่น่าเสียดายที่คนนอกแวดวงไม่ค่อยได้มีโอกาสสัมผัสกับความรู้ ความคิด และประสบการณ์ของพวกเขาเท่าไหร่นัก หนังสือเล่มนี้จะพาคุณไปสำรวจความน่าสนใจของงานวิจัยไทยผ่านภาษาสนทนาที่เข้าใจง่าย เล่าไปหัวเราะไปแล้วคุณจะเริ่มสังเกตว่างานวิจัยที่น่าตื่นเต้นน่าติดตามนั้นมีอยู่รอบตัว

เคยสงสัยว่าตัวเองมีพยาธิมั้ย?
ปากขอ ตัวจี๊ด ตัวตืด พยาธิสตรองจิหลอยด์ ปวดหัวหอย คุณรู้จักหรือยัง?

เมือกหอยไทย ดีกว่าเมือกหอยเทศอย่างไร? (ในแง่บำรุงผิวหน้า)
การค้นหาหอยทากชนิดใหม่ๆ เหตุไฉนจึงเป็นงานที่สำคัญ?

DNA ทรงกากบาทมีด้วยหรือ?
ชีวิตนักวิจัย เมื่อจบนอกกลับมาแล้วไม่มีทุน คุณจะไปต่ออย่างไร?

รู้หรือไม่ว่า 0 ในจอทีวี OLED มาจาก Organic?
งานนักเคมีสังเคราะห์ หรือจะไม่ต่างจากพ่อมดปรุงโมเลกุล?

รู้หรือไม่ว่าโรคราลัสซีเมียมีคุณประโยชน์บางอย่างแฝงอยู่?
หากคุณเป็นหมอผู้ดูแลเด็กป่วยเป็นมะเร็ง คุณจะบอกกับพวกเขาว่าอย่างไร?

สารบัญ

คำนำ

พยาธิไทย
คุยเรื่องความน่ารักดุ๊กดิ๊กของพยาธิ กับ ศ. ดร.ผิวพรรณ มาลีวงษ์

หอยทากไทยกับต้นไม้แห่งชีวิต: นวัตกรรม ความหมาย ความงาม
การค้นพบสายพันธุ์ใหม่สำคัญไฉน? คุยเรื่องชีวิตพิสดารของหอยทากบกและงานวิจัยของ ศ. ดร.สมศักดิ์ ปัญหา

มหัศจรรย์แสงส่องสารกับสมบัติลับของ DNA
เปิดโลกวิชาไบโอ-ฟิสิกส์ คุยเรื่องเทคนิกแอบดูรูปร่างโมเลกุล และการนำไปใช้ประโยชน์อย่างแยบยลกับ ผศ. ดร.ชิตนนท์ บูรณชัย

โอ้! แอล อี ดี (OLED) เทคโนโลยีอนาคต
คุยเรื่องเทคโนโลยีจอภาพ หลอดไฟ และโซลาร์เซลล์ซึ่งทำมาจากสารออร์แกนิกกับ ศ. ดร.วินิช พรมอารักษ์

โรคาวิวัฒน์
ทำไมโรคบางอย่างไม่หายไปจากโลก? คุยเรื่องความสำคัญเชิงวิวัฒนาการของโรคอย่างธาลัสซีเมียต่อการอยู่รอดของมวลมนุษยชาติกับ ศ. ดร. นพ.อิศรางค์ นุชประยูร

เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง
คุณกำลังรีวิว:WiTThai เล่ม 2 เรียนรู้อย่างรีแล็กซ์ผ่านบทสนทนากับนักวิจัยไทย
คะแนนของคุณ