บทสนทนาว่าด้วยความรู้และการแสวงหาความรู้
ISBN: 9786168209332
ผู้แต่ง : -
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : -
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 มกราคม 2564
จำนวนหน้า : 112
ผลงานชิ้นนี้ จึงไม่เพียงทำให้ผู้อ่านต้องกลับมาตั้งคำถามกับความเชื่อ และความรู้ของตน แต่ลึกถึงไปสู่การตั้งคำถามกับความจริง ในการรับรู้หรือนิยามของตนเอง รวมทั้งเกิดปัญญาเห็นธรรมชาติอันซับซ้อนของคำว่า ความจริง และท้าทายกับความรู้ที่คนทั่วๆ ไปถูกทำให้จำนนหรือเซื่องซึมต่อการตั้งคำถาม
การเผยแสดง หรือคลี่รายละเอียดทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะในมุมที่แทบไม่มีใครเคยรับรู้หรือสัมผัส ผ่านชีวิตอันยาวนานเกือบทศวรรษของผู้เขียนจึงเป็นคุณูปการอันสำคัญยิ่ง ต่อการเติบโตทางปัญญาของสังคมในการหยุดคิด ตั้งคำถาม และ พัฒนากระบวนการแสวงหา กลั่นกรองเพื่อการเข้าถึงความจริง ที่ไม่ถูกปิดบังหรือบิดเบือนด้วยสิ่งที่เรียกว่าความเชื่อ และ ความรู้
(จากคำชวนคิดโดย ลือชัย ศรีเงินยวง)
.
แต่ถ้าเราจับประเด็นตรงนี้ไม่ได้ เมื่อมีคนมาด่าแม่สุลักษณ์ แล้วเราโกรธทันทีเพราะสุลักษณ์เป็นเพียงสมมติ เมื่อมาด่าสุลักษณ์แล้วโกรธ เพราะเราไม่ยึดว่าสุลักษณ์เป็นตัวเราเอง หัวใจมันจึงอยู่ตรงนี้ สมมติสัจมีนัยยะแบบหนึ่ง และปรมัตถสัจมีนัยยะอีกแบบหนึ่ง ต้องเข้าใจเรื่องนี้ ถ้าไม่เข้าใจจะหลงเลย...
...ส่วนฮาวเหวิด ซินน์(Howard Zinn) เขียนประวัติศาสตร์ เขาเขียนว่าสิ่งที่เรียกว่า Objective นั้่นมันไม่มี ฝรั่งอ้างว่าวิชาการต่างๆ เป็น Objective นั้น แท้จริงแล้ว เวลาที่คุณเชื่ออะไรว่าเป็นความจริงคุณเลือกข้อมูลต่างๆ มานำเสนอ เพื่อสนับสนุนความเชื่อของคุณแต่ข้อมูลที่ไม่ถูกใจคุณก็ไม่เอามา คุณเสนอเฉพาะสิ่งที่คุณต้องการนำเสนอเท่านั้น นั่นคือ แม้แต่วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เหล่านี้คือสิ่งที่คุณเลือกที่คิดว่ามีประโยชน์เท่านั้นเอง นี่เรียกว่า Objective...
...ประเด็นสำคัญก็คือต้องกลับมาถามว่า เป้าหมายของการดำรงชีวิตเพื่ออะไร ผมเชื่อสถาบันการศึกษาทุกแห่งไม่เคยตั้งคำถามนี้ แม้กระทั่งสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งก็ไม่ตั้งคำถามนี้ รวมทั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งด้วย เพราะ หนึ่ง เราเดินตามฝรั่ง สอง เราตีเป้าหมายของฝรั่งไม่แตก...
(จากเนื้อหาในเล่ม โดย ส. ศิวรักษ์)
คำนำสำนักพิมพ์
คำนำ
โดย อุทัย ดุลยเกษม
ว่าด้วยความรู้และการแสวงหาความรู้
- ความเชื่อกับความรู้
- ความรู้กับความเชื่อและประโยชน์สามระดับ
- จุดเริ่มของการหาความรู้แบบฝรั่งในหมู่ชาวพุทธไทย
- ความรู้แบบภาววิสัย (Objective) มีหรือไม่
- การแสวงหาความรู้แบบตะวันตก
- ความเชื่อของฝรั่งเป็นอย่างไรจึงเกิดความรู้ชุดนี้
- วิธีการแสวงหาความรู้แบบตะวันออก
- วิธีการหาความรู้แบบตะวันตก
- ความเชื่อ ความรู้ ความจริง
- การเรียนรู้ในกระแสหลัก
- โลกเปลี่ยน สาระชีวิต ไม่เปลี่ยน: กัลยาณมิตรกับการแสวงหาความรู้
- รู้ว่าไม่รู้ และการแสวงหาความเป็นเลิศ
- หาด้านนอก หาด้านใน และใบไม้กำมือเดียว
- คุณค่าและการแสวงหากัลยาณมิตร
- ปัจฉิมกถาทางเชื่อมตะวันออก ตะวันตก
คำถามสำหรับคิดต่อ
โดย อุทัย ดุลยเกษม
คำชวนคิด
โดย ลือชัย ศรีเงินยวง