บทสนทนาว่าด้วยความยุติธรรม
ISBN: 9786168209349
ผู้แต่ง : -
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : -
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 มกราคม 2564
จำนวนหน้า : 160
ประเด็นปัญหาว่าด้วยความยุติธรรมนับเป็นปัญหาที่สลับซับซ้อนอยู่ไม่น้อย เหล่านักปราชญ์นับแต่โลกยุคโบราณมาต่างขบคิดอภิปรายปัญหานี้กันมา โดยตลอด จวบจนปัจจุบัน..อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ได้กล่าวอย่างน่าสนใจว่า "ความยุติธรรมต้องฝึกให้คนกล้าหาญ ทางจริยธรรม ถ้าฝึกไม่ได้ถคือว่า ล้มเหลว"
...ยังได้ให้ตัวอย่างและระบบการฝึกฝนอบรมบุคคลากร(ในทางกฎหมาย) ที่น่าสนใจจากประเทศอังกฤษซึ่งท่านเป็นศิษย์เก่าไว้รวมไปถึงข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์อื่น ที่ท่านเห็นว่าเป็นตัวอย่างที่สำคัญของความกล้าหาญทางจริยธรรมที่ปรากฎขึ้นในสังคมของเราด้วย...
ประเด็นที่รองศาสตราจารย์ ดร. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ หยิบยกขึ้นอภิปรายกลับตีตรงลงที่จุดบอดที่สุดของระบบการศึกษา วิชานิติศาสตร์ ในประเทศนี้ "ผมพูดเสมอว่า คณะนิติศาสตร์ มีแต่นักกฎหมายแต่ไม่มีนักนิติศาสตร์
...ความรู้และความถูกต้องสำคัญกว่าตัวบุคคลหรือพรรคพวกถ้าคุณ เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า คุณจะเห็นว่าสังคมไทยในวันนี้ยังเป็นสังคมบุคลาธิษฐาน ยึดตัวบุคคลและยึดพรรคพวกมากว่าหลักการและเหตุผล"
(จาคำนำของ ฐาปนันท์ นิพิฏกุล)
คำนำ ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล
คำปรารภ กิตติบดี ใยพูล
ภาค ๑ ว่าด้วย ความยุติธรรมทางกฏหมาย
โดย ส. ศิวรักษ์
๑ นิติศาสตร์กับความยุติธรรม
๒ ความยุติธรรมกับความกล้าหาญทางจริยธรรม
๓ มโนธรรมสำนึกกับความยุติธรรม
๔ ยุติธรรม และกล้าหาญทางจริยธรรม ในบริบไทย
๕ ศาสนาพุทธกับความยุติธรรม
๖ กระบวนทัศน์นิติศาสตร์สำหรับอนาคต
ภาค ๒ ว่าด้วยความยุติธรรมทางสังคม
โดย ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ
๑ พวกมึงพวกกูที่ไร้สาระ
๒ ปัญหาหลักคือความเหลื่อมล้ำ ๕ ด้าน
๓ ปัจเจกหรือส่วนรวม
๔ ใครสร้างกฎหมายเพื่อใคร
๕ แก้ตรงไหนดี:สงคราม ๓ ด้าน
๖ ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
๗ รัฐแจกเงินตอบโจทย์หรือไม่
๘ ดอกเบี้ยธนาคาร และการลงทุนจากต่างประเทศ
๙ แก้ปัญหาความยากจนโดยรัฐ