Kledthai.com

ตะกร้า 0

มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault)

ISBN: 9786167801025

ผู้แต่ง : ธีรยุทธ บุญมี

ผู้แปล : -

สำนักพิมพ์ : วิภาษา

ปีที่พิมพ์ : 2557

จำนวนหน้า : 220

ซีรี่ส์:
-
พร้อมส่ง
ISBN:
9786167801025
ราคาพิเศษ ฿180.00 ราคาปรกติ ฿200.00

ความคิดของฟูโกต์มีผลต่อการปลดเปลื้องความคิดคนให้มีความมั่นใจ ในอำนาจของตัวเองมากขึ้น ทำให้มีเสรีภาพซึ่งกว้างขึ้น มากกว่านักคิด หรือนักปฏิวัติอื่นๆ ในศตวรรษที่ 20 นี้ ไม่ว่าจะเป็นเลนิน เหมาเจ๋อตุง โฮจิมินห์ เช กูวารา ฌอง ปอล ซาร์ตส์ เพราะถ้าเปรียบเทียบโดยจำนวนความคิดของซาร์ตส์ ส่งผลต่อปัญญาชนของโลก ส่วนความคิดของนักปฏิบัติมาร์กซิสต์ดังกล่าวเคยส่งผลต่อ ความคิดของผู้ใช้แรงงาน ชาวนาในรัสเซีย จีน และประเทศ "โลกที่สาม" อื่นๆ อาจจะรวมกัน ประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรในโลก แต่ความคิดของฟูโกต์ส่งผลต่อคนต่ำต้อย ด้อยสิทธิ รวมทั้งผู้ใช้แรงงาน ชาวนา ผู้หญิง พวกที่ถูกกด เช่น เด็ก คนแก่ คนไข้ นักโทษ กลุ่มเกย์ เลสเบี้ยน คนจน คนจร ชาวสลัม คนพิการ รวทั้งต่อการต่อสู้ของประชากรทั้งหมดในประเทศ อดีตอาณานิคม (post colonials) ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ ซึ่งอาจจะมากถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก

หนังสือฟูโกต์เล่มนี้เริ่มต้นด้วยความตั้งใจจะเขียนงานวิชาการเกี่ยวกับมิเชล ฟูโกต์ ในโอกาสครบรอบ 20 ปีการเสียชีวิตของเขา ซึ่งตรงกับวันที่ 25 มิถุนายน 2004 (ฟูโกต์เกิดปี 1926 และเสียชีวิตในปี 1984) เพื่อเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไปในหนังสือพิมพ์สุดสัปดาห์ แต่เมื่อเขียนเสร็จแล้วก็ยังรู้สึกว่ายากเกินไปสำหรับสาธารณชนทั่วไป จึงเก็บเอาไว้นานหลายปีแล้วจึงเอามาปรับปรุงเล็กน้อยซึ่งปรากฏเป็นบทความส่วนแรกในหนังสือเล่มนี้ คือบทความ "คุณูปการของมิเชล ฟูโกต์"

ในส่วนนี้ยังมีบทความซึ่งจบในตัวเอง คือบทความ "การวิเคราะห์วาทกรรมของฟูโกต์" ซึ่งมุ่งให้ความหมายโดยรวมหรือภาพรามของคำว่า "วาทกรรม" และ "การวิเคราะห์วาทกรรม" ซึ่งใช้กันแพร่หลายในแวดวงนักศึกษาและนักวิชาการบทความชิ้นนี้พยายามอธิบายสถานะทางปรัชญาของแนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์ของฟูโกต์ และปัญหาที่แนวคิดนี้ประสบ ซึ่งเป็นบทความที่ยากขึ้นกว่าชิ้นแรกพอสมควร

ในส่วนที่สองเขียนขึ้นสำหรับนักศึกษาทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และรัฐศาสตร์ทั่วไป โดยพยายามครอบคลุมงานโดยรวมของฟูโกต์ แต่อธิบายให้กระชับด้วยภาษาที่ง่ายๆ ไม่ซับซ้อนนัก การมองโดยภาพรวมที่น่าจะช่วยให้นักศึกษาได้เข้าใจงานของฟูโกต์ ที่สัมพันธ์ทั้งกับวิชาการสมัยใหม่และโลกยุคสมัยใหม่ด้วย ได้เข้าใจพัฒนาการความคิดของฟูโกต์ ความเชื่อมโยงของานในช่วงต่างๆ ของฟูโกต์

วัตถุประสงค์อีกอย่างคือ การอธิบายที่มาของความคิดของฟูโกต์ในเชิงปรัชญา รวมทั้งเหตุผลว่าเหตุใดฟูโกต์จึงต้องเสนอแนวคิดบางด้านออกมา อาทิแนวคิด Archeology, Governmentality, Genealogy, Discourse, Statement, Event, Will to Knowledge ฯลฯ ซึ่งเหตุผลสำคัญก็คือ ความพยายามที่จะหลีกพ้นแนวคิดกระแสหลักแบบเดิมๆ และเสนอทางออกใหม่ๆ ขึ้น อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ ความจำเป็นเชิงปรัชญาที่นักคิดทุกคนต้องประสบ เพื่ออธิบายสถานะของความคิดของตนเอง ว่าจะแก้ปัญหาความเป็นอภิปรัชญา (metaphysics) ที่ทุกคนมักพยายามหลีกเลี่ยงกันได้หรือไม่

สารบัญ

ภาค 1 คุณูปการของมิเชล ฟูโกต์
ภาค 2 ฟูโกต์กับวาทกรรม
ภาค 3 ฟูโกต์กับประวัติศาสตร์
ภาค 4 การวิพากษ์ Modernity มุมมองใหม่ต่อสังคมสมัยใหม่ของฟูโกต์
ภาค 5 ตัวตน อำนาจ การต่อต้าน และการปลดเปลื้องตัวเอง

เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง
คุณกำลังรีวิว:มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault)
คะแนนของคุณ